ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
รู้จัก China City Tier ข้อมูลสำคัญก่อนบุกตลาดจีน
การจะเข้าไปเปิดขายสินค้าในประเทศจีน ศัพท์คำหนึ่งที่ได้ยินกันบ่อยคือคำว่า “City Tier” หรือการแบ่งระดับเมืองต่างๆ ของจีน ซึ่งเป็นปัจจัยแรกที่ต้องทำความเข้าใจก่อนที่จะทำตลาดจีน เพราะ สิ่งที่ผู้ที่อยากจะเข้าทำตลาดจีนมักจะผิดพลาดคือการเข้าใจว่าเมืองทุกเมืองในจีนเหมือนกันหมด แต่ความเป็นจริงแล้ว ด้วยความที่จีนเป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ ตลาดจีนในระดับเมืองต่างๆ มีความแตกต่างหลากหลายทั้งขนาด กำลังซื้อ และรสนิยมความต้องการสินค้าของผู้คน การจะไปทำตลาดจีน จึงต้องบอกได้ว่าจะไปขายให้ใคร? ที่ไหน? ซึ่งสามารถพิจารณาเบื้องต้นได้จากข้อมูล City Tier
City Tier พิจารณาจากอะไร?
การจัดแบ่ง City Tier ไม่ได้เป็นข้อมูลจากรัฐบาลจีนอย่างเป็นทางการ แต่มาจากการวิเคราะห์ของสื่อที่มีความน่าเชื่อถือเช่น Yicai Global, South China Morning Post, Mafengwo Report โดยใช้ข้อมูลมิติต่างๆ ทั้งด้านขนาดพื้นที่ จำนวนประชากร ความพร้อมด้านสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ เช่นเครือข่ายคมนาคม รถไฟใต้ดิน รถไฟความเร็วสูง สนามบิน ฯลฯ ไลฟ์สไตล์ของประชากร โอกาสทางธุรกิจ รวมทั้งข้อมูลจาก Big Data
ตัวอย่างเกณฑ์การพิจารณาของ Yicai Global ปี 2020 ดูจากเกณฑ์ 5 ข้อ ได้แก่
1) Commercial Resources Index (22%) เช่น จำนวนร้านจำหน่ายสินค้าแบรนด์ จำนวนร้านสินค้าแบรนด์ที่เพิ่มขึ้น จำนวนลูกค้าที่เข้าร้าน จำนวนร้านค้าออนไลน์ จำนวนร้านอาหาร เสื้อผ้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น
2) City as a Hub Index (20%) ดูจากเครือข่ายคมนาคมระหว่างเมือง เช่น การเข้าถึงรถไฟความเร็วสูง จำนวนสถานี ความถี่ของเที่ยวรถไฟ จำนวนสนามบิน จำนวนเที่ยวบินในประเทศ ระหว่างประเทศ สถานีขนส่งสินค้า ฯลฯ
3) Urban Residents Activity Index (18%) วัดจากกิจกรรมการบริโภคของประชากร เช่นการช้อปปิ้งออนไลน์ การใช้ Social Network ของ Tencent ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การใช้ Tiktok กิจกรรมช่วงกลางคืน เช่นไปผับบาร์ Livehouse ดูภาพยนตร์รอบดึก การขนส่งสาธารณะเวลากลางคืน
4) Lifestyle Diversity Index (18%) วัดจากความหลากหลายในเรื่องร้านอาหาร พิพิธภัณฑ์ การแข่งกีฬา คาเฟ่ ร้านหนังสือ โรงหนัง การแสดงต่างๆ รายได้การซื้อหนังสือใน jd.com การซื้อของบน Taobao ข้อมูลการท่องเที่ยวบน mafengwo.com เป็นต้น
5) Future Potential Index (22%) เช่นข้อมูลจำนวนสตาร์ทอัพ แพล็ตฟอร์ม จำนวนเงินระดมทุน จำนวนบริษัทท้องถิ่นคุณภาพสูง คุณภาพอากาศ การจ้างงาน คุณภาพนักศึกษา ตัวเลข GDP ตัวเลขประชากรที่อาศัยถาวร อัตราเติบโตของประชากรที่อยู่อาศัยถาวร จำนวนแรงงานชาวต่างชาติ ฯลฯ
แม้ข้อมูล City Tier จะไม่ได้เป็นข้อมูลทางการ แต่ก็เป็นข้อมูลที่ธุรกิจนักลงทุนต่างชาตินิยมนำไปอ้างอิงใช้ในการพิจารณาแผนกลยุทธ์ในการทำธุรกิจในประเทศจีน
City Tier แบ่งเป็นกี่ระดับ?
การจัดอันดับส่วนใหญ่จะแบ่ง City Tier เป็น 4 ระดับ ได้แก่
1) First – tier cities ได้แก่ Beijing Shanghai Guangzhou และ Shenzhen เป็น 4 เมืองที่พัฒนามากที่สุดทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสาธารณูปโภคสิ่งอำนวยความสะดวก ประชากรมีกำลังซื้อสูงมาก แล้วยังเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีอิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมของประเทศ
2) New first tier cities จำนวน 15 เมือง ได้แก่ Chengdu, Hangzhou, Chongqing, Wuhan, Xi’an, Suzhou, Tianjin, Nanjing, Changsha, Zhengzhou, Dongguan, Qingdao, Shenyang, Hefei และ Foshan เป็นเมืองใหญ่ของประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสาธารณูปโภครองจาก 4 First-tier cities ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูง
3) Tier 2 cities จำนวน 30 เมือง ส่วนใหญ่เป็นเมืองเอกระดับมณฑลหรือเมืองชายฝั่งตะวันออกที่ยังไม่เจริญเท่าระดับ New First tier cities เช่น Xiamen, Fuzhou, Wuxi, Kunming, Harbin, Jinan, Changhchun, Wenzhou, Shijiazhuang, Nanning เป็นต้น
4) Tier 3 cities จำนวน 63-71 เมือง (แล้วแต่ผู้จัดลำดับ) มีความเจริญเทียบเท่ากับระดับอำเภอที่เศรษฐกิจพัฒนาแล้ว
เลือกเมือง เลือกตลาดที่ใช่ ขายของผ่านช่องทาง Cross-Border e-Commerce
คุณพิมพ์ขวัญ อดิเทพสถิตย์, AVP China Business Development SCB ผู้เชี่ยวชาญธุรกิจจีน แนะนำว่า Cross-Border e-Commerce (CBEC) เป็นการส่งสินค้าจากไทยไปขายบนแพล็ตฟอร์ม e-Commerce จีน ที่ง่ายและสะดวกเหมาะกับธุรกิจ SME ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคจีนโดยตรง ซึ่งผู้บริโภคที่อยู่ในแต่ละ City Tier ก็มีความแตกต่างกันทั้งเรื่องความต้องการสินค้า รูปแบบการจับจ่าย รวมถึงแพล็ตฟอร์มออนไลน์ที่ใช้ซื้อของ เช่น First – tier cities นิยมสินค้า Super Luxury แบรนด์ระดับโลก จะช้อปปิ้งผ่าน TMall, KAOLA, JD, RED ขณะที่ผู้บริโภคใน New first tier cities จะนิยมสินค้า Premium Quality แบรนด์นอก ชอบซื้อของบน Social E-Commerce อย่าง WeChat, TikTok มาที่กลุ่ม Tier 2 cities มองหาสินค้า Local Premium Brand โดยซื้อของทาง Social E-Commerce, Mini-Program, Pinduoduo (PDD) สำหรับผู้บริโภค Tier 3 cities จะมีความอ่อนไหวเรื่องราคา นิยมใช้ของ Local Brand และซื้อสินค้าทาง Social e-Commerce อย่าง PDD และ Weishang
ด้วยความที่ตลาดในประเทศจีนมีความแตกต่าง หลากหลายอย่างมาก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องศึกษาทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคจีน ซึ่งปัจจัยเรื่อง City-Tier System ก็เป็นหนึ่งในนั้น เพื่อจะได้ทำ Market Segmentation หาลูกค้าที่ใช่สำหรับสินค้าของเรา และจะได้เลือกเปิดร้านแพลตฟอร์ม CBEC ที่เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย และวางกลยุทธ์การตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้ประกอบการที่สนใจการเปิดธุรกิจในประเทศจีนและต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการขายสินค้าบน SCB Oversea Flagship Store สามารถติดต่อหน่วยงาน China Business Development ได้ที่อีเมล china_cbec@scb.co.th โทร. 02-5444960 WeChat SCB_Thailand ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.scb.co.th/cn , SCB Flagship Store บน JD International และ TMall Global
ข้อมูลจาก
การบรรยายหัวข้อ Expanding your Brands to China Market through Cross-border eCommerce วันที่ 29 ตุลาคม 2563
https://www.yicaiglobal.com/news/hefei-foshan-enter-china-list-of-emerging-first-tier-cities
https://thaibizchina.com/wp-content/uploads/2018/11/hanchejen-part02.pdf
https://thebiggestcitiesinchina.com/tier-1-cities-in-china-definition-and-rankings/
https://en.wikipedia.org/wiki/Chinese_city_tier_system
https://www.china-briefing.com/news/chinas-city-tier-classification-defined/