ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
3 ปัจจัยเร่งโอกาสนักลงทุนไทยกับธุรกิจส่งออก “จักรยาน” สดใสในกัมพูชา
จากการรายงานของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (Department of International Trade Promotion : DITP) ในเดือนมกราคม 2564 ระบุยอดส่งออกสินค้าจักรยานของกัมพูชาในปี 2563 ที่ผ่านมา มีมูลค่า 527 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 27% เมื่อเทียบกับปี 2562 และส่งผลให้กัมพูชากลายเป็นประเทศที่ส่งออกจักรยานมากเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และมากเป็นอันดับ 5 ของโลก ตลาดส่งออกจักรยานที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สวีเดน เบลเยี่ยม แคนาดา สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก ออสเตรเลีย ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก อิตาลี โคลัมเบีย เกาหลี และสเปน ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าจักรยานของกัมพูชามีมูลค่ารวม 8.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากปีก่อน 19.33% ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจาก ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน เวียดนาม ไทย และสหรัฐอเมริกา และปัจจุบันมีบริษัทที่เข้ามาลงทุนในกัมพูชาแล้วรวม 5 บริษัท ได้แก่ A and J (Cambodia), Speedtech Industrial, Smart Tech (Cambodia), Xds Bicycle (Cambodia) และ Evergrand Bicycle (Cambodia)
ซึ่งในความเป็นจริงเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ กัมพูชามีความโดดเด่นในอุตสาหกรรมจักรยาน โดยหนังสือพิมพ์ Khmer Times ได้ระบุไว้ในเดือนกันยายน 2562 กัมพูชากำลังจะกลายเป็นฐานการผลิตรถจักรยานที่สำคัญ ซึ่ง ณ ขณะนั้น กัมพูชาได้เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายจักรยานที่ใหญ่ที่สุดในตลาดสหภาพยุโรป ตั้งแต่ปี 2560 และได้นำหน้าไต้หวันไปแล้ว และในปัจจุบันกัมพูชาได้ครองตำแหน่งผู้ส่งออกจักรยานเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 5 ของโลก
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กัมพูชาเป็นจุดมุ่งหมายของนักลงทุนต่างชาติ เช่น จีน อเมริกา และกลุ่มประเทศทางยุโรป ได้แก่ สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากสหภาพยุโรป (Everything But Arms : EBA) แม้ว่ากัมพูชาจะถูกเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการส่งออกสินค้าบางประเภทไปยังสหภาพยุโรป แต่สินค้าจักรยานยังคงได้รับการยกเว้นภาษีเช่นเดิม และกลุ่มผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และสุขภาพ จากการรายงานของ Salika ระบุว่าในช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา สินค้าจักรยานในสหรัฐอเมริกาขาดตลาด ความต้องการของผู้บริโภคสูงมาก อันเป็นผลเนื่องมาจากมีความจำเป็นต้องเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 จึงเลี่ยงการโดยสารรถประจำทาง และสถานที่ออกกำลังกายก็ไม่สามารถให้บริการได้ คนอเมริกันส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับการใช้จักรยานมากขึ้น ประเภทจักรยานที่ได้รับความนิยม ได้แก่ Electric Bike, Mountain Bike, BMX Bike, Kid Bike และ Stationary Bike จักรยานส่วนใหญ่นำเข้าจากไต้หวัน และจีน ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ก็หันมาลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตจักรยานที่ประเทศกัมพูชา ส่งผลให้ยอดการส่งออกจักรยานของกัมพูชาเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อนึ่ง แม้ว่ากัมพูชาจะถูกยกเลิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากสหภาพยุโรป (Everything But Arms : EBA) เมื่อกลางปี 2563 แต่สหราชอาณาจักรยังคงให้สิทธิพิเศษทางการค้า (Generalized System of Preference : GSP) แก่กัมพูชา โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของกัมพูชาเป็นอันดับสองของสหภาพยุโรปรองจากเยอรมนี อีกทั้งเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563 กัมพูชาได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ร่วมกับจีน นับว่าเป็นโอกาสที่ดีของกัมพูชาในการเพิ่มศักยภาพในอุตสาหกรรมต่างๆ ของแรงงานกัมพูชา
สำหรับโอกาสของผู้ประกอบการไทยนั้น ในอดีตสินค้าที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปของกัมพูชาคือเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม แต่ปัจจุบันสินค้าเหล่านี้อยู่ในบัญชีที่ยกเลิกภาษีนำเข้าของสหภาพยุโรป ตามการยกเลิกสิทธิประโยชน์ทางภาษี EBA และจักรยานเป็นสินค้าอันดับรองลงมาที่กัมพูชาส่งออกไปยังสหภาพยุโรป และอเมริกา ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น และยังเป็นสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี EBA กัมพูชาจึงต้องเพิ่มปริมาณส่งออกจักรยานมากขึ้นตามความต้องการของตลาดโลก แต่ยังขาดความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จึงนับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปสนับสนุนอุตสาหกรรมจักรยานในกัมพูชา ทั้งทางด้านแรงงาน เทคโนโลยี เครื่องจักร และความรู้ความเชี่ยวชาญที่ไทยมีอยู่แล้ว
และอีกมุมหนึ่งในอนาคตระยะยาวคาดว่ากัมพูชาสามารถผลิตและส่งออกสินค้าได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยใช้เทคโนโลยี และความรู้จากประเทศที่เข้าไปลงทุนโดยใช้กัมพูชาเป็นฐานการผลิต ซึ่งสิ่งที่ประเทศไทยควรทำคือปรับตัว และพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพสูง รวมถึงสร้างความโดดเด่นและหลากหลายให้กับสินค้า เพื่อยังคงรักษาตลาดต่างประเทศเอาไว้
ลูกค้าที่สนใจประกอบธุรกิจใน CLMV หรือประเทศเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Great Mekong Subregion: GMS) ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ธนาคารไทยพาณิชย์มีสาขาต่างประเทศที่พร้อมจะดูแลและให้บริการ สนใจติดต่อ https://www.scb.co.th/en/corporate-banking/international-network.html
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก:
ธนาคารกัมพูชาพาณิชย์ กัมพูชาพาณิชย์ (Cambodia Commercial Bank – CCB)
ข้อมูลอ้างอิง
1.DITP. “Fact Sheet - กัมพูชา ม.ค.64”. https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/722054/722054.pdf&title=722054&cate=947&d=0 (ค้นหาเมื่อ 2/3/64)
2. DITP. “กัมพูชาส่งออกจักรยานมากติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก”. https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/721683/721683.pdf&title=721683&cate=413&d=0 (ค้นหาเมื่อ 2/3/64)
3. Salika. “อานิสงส์โควิด-19 ยอดขายจักรยาน สหรัฐฯ พุ่งกระฉูด ขาดตลาด”. https://www.salika.co/2020/06/05/covid19-make-bicycle-order-in-usa/ (ค้นหาเมื่อ 5/3/64)
4.DITP . “สหราชอาณาจักรอนุมัติการให้สิทธิพิเศษทางการค้า GSP แก่กัมพูชา มีผลบังคับใช้ในปี 2564”. https://www.ditp.go.th/contents_attach/676648/676648.pdf (ค้นหาเมื่อ 5/3/64)
5. Khmer Times. “Kingdom to become a key manufacturing base for US bike firm” . https://www.khmertimeskh.com/639577/kingdom-to-become-a-key-manufacturing-base-for-us-bike-firm/ (Accessed 3/3/21)
6.Xinhuanet. “China, Cambodia sign bilateral free trade agreement”. http://www.xinhuanet.com/english/2020-10/12/c_139434727.htm (Accessed 5/3/21)