ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
คู่ค้าที่ดีในธุรกิจส่งออกเปรียบเสมือนครอบครัวที่จะโตไปด้วยกัน
เรื่องจริงที่คนทำธุรกิจระหว่างประเทศต้องเจอ
ถึงแม้เทรดแฟร์หรือเทรดโชว์ต่างๆ จะยังมีมนต์ขลังอยู่ ผู้ส่งออกส่วนใหญ่ยังใช้เทรดแฟร์เป็นช่องทางในการเปิดตลาดใหม่ หาคู่ค้าใหม่ แต่ข้อจำกัดหรือเพนพอยท์ของการไปออกงานเทรด์แฟร์ก็มีไม่น้อย คุณธีติพันธ์ เทพผดุงพร บริษัทเทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด มาเล่าให้เราฟังถึงข้อจำกัดของเทรดแฟร์ ทั้งเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ต้องเสียเวลาเดินทางและระยะเวลาที่ต้องใช้ในการเตรียมตัวค่อนข้างมาก ในขณะที่สุดท้ายอาจไม่ได้อะไรติดมือกลับมาเลย...แล้วยังคุ้มค่าหรือไม่ที่จะไปเทรดแฟร์ เมื่อวันนี้มีช่องทางใหม่ที่ไม่ต้องมีค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องเสียเวลาเตรียมตัวนานๆ แต่ติดต่อเจรจาธุรกิจกันได้ทุกที่ ทุกเวลา กับคู่ค้าที่คัดกรองมาแล้วว่าเชื่อถือได้จากทั่วทุกมุมโลก ที่พร้อมจะเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในครอบครัวธุรกิจของคุณ
การขยายตลาดแบบเดิมๆ อาจไม่ใช่คำตอบ
“ปกติถ้าเป็นประเทศใหม่ๆ เราก็จะหาตลาดใหม่ๆ โดยการออกเทรดโชว์ตามงานประเทศต่างๆ ซึ่งในแต่ละครั้งก็ต้องใช้เวลาเตรียมการพอสมควรและลูกค้าที่ผ่านมาก็จะได้บ้างไม่ได้บ้าง บางทีไปแต่ละครั้งก็จะปิดได้ 1-2 รายอะไรประมาณนั้น” คุณธีติพันธ์ เทพผดุงพร ผู้จัดการฝ่ายการต่างตลาดต่างประเทศ บริษัทเทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด ผู้ผลิต “กะทิชาวเกาะ” ที่คนไทยคุ้นเคยและอยู่คู่ครัวไทยมานานรุ่นต่อรุ่น เล่าถึงการออกงานเทรดแฟร์เพื่อหาตลาดใหม่ หาคู่ค้าใหม่ๆ ซึ่งการไปแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายสูงและต้องใช้เวลาในการเตรียมการนานเป็นเดือนและบางครั้งก็อาจไม่ได้คู่ค้าใหม่กลับมาเลย “การออกเทรดแฟร์แต่ละครั้งเราจะเจอปัญหาหลายเรื่อง บางทีมีลูกค้าเดินเข้ามาติดต่อเยอะแต่ไม่ใช่ลูกค้าที่อยากได้โปรดักส์เราจริง ๆ บางคนอาจจะอยากเข้ามาเพื่อเปรียบเทียบราคาหรือเข้ามาเพื่อสอบถามข้อมูลอย่างเดียว” คุณธีกล่าว เขาเล่าต่อถึงการไป เทรดแฟร์ครั้งล่าสุดที่แคนาดาซึ่งเป็นตลาดที่บริษัทไม่ได้ไปมาหลายปี และยังไม่มีข้อมูลมากนักว่าใช้การเตรียมการค่อนข้างนาน การไปเองลำบากทั้งเรื่องการเดินทางและการเตรียมสินค้าด้วย และผลที่ได้กลับมาก็ไม่ถึงเป้าหมายที่คาดไว้
ปิดดีลไม่ได้เพราะไม่มั่นใจในเครดิตของคู่ค้า
คุณธีเล่าว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปิดดีลกับคู่ค้ายากก็มาจากการที่บริษัทค่อนข้างคัดคู่ค้าที่มีศักยภาพจริงๆ สามารถเข้าใจในธุรกิจของบริษัทพอสมควร “ส่วนใหญ่ก็เหมือนเรารู้จักคนๆ หนึ่ง เราเพิ่งรู้จักเขาเราไม่รู้ว่า แบคกราวเขาเป็นอย่างไร ฐานะทางการเงินเขาเป็นอย่างไร ความน่าเชื่อถือเป็นอย่างไร เราก็ไม่สามารถตัดสินใจได้ทันทีก็ต้องใช้เวลาในการศึกษาเขาไปเรื่อยๆ” และเนื่องจากบริษัทเน้นการทำธุรกิจร่วมกันกับคู่ค้าในระยะยาวจึงต้องดูด้วยว่าธุรกิจหลักของคู่ค้าคืออะไร มีความคุ้นเคยกับสินค้าของบริษัทหรือสินค้าจากเอเชียบ้างหรือไม่ ประสบการณ์ ขนาดของบริษัทและฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร สามารถที่จะดำเนินธุรกิจอยู่ได้ในระยะยาวรึเปล่า และเรื่องความเสี่ยงในการทำธุรกิจร่วมกันด้วย ซึ่งเขามองว่าการเริ่มต้นธุรกิจนั้นไม่ได้ยากมากแต่การที่จะทำธุรกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่องในระยะยาวนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายต้องศึกษากันดีๆ
จะดีกว่าไหมถ้ามีเครื่องมือช่วยในการ Verify แบคกราวของคู่ค้า
คุณธีเล่าว่าถ้าจะให้ทางบริษัทเช็คข้อมูลคู่ค้าเองนั้นค่อนข้างยากยาก ดังนั้นปกติทางบริษัทจึงมักไม่ค่อยปล่อยเครดิตให้คู่ค้าใหม่ ต้องให้เขาโอนเงินเลยในระยะแรกเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้เงินแน่นอน แต่ถ้ามีตัวช่วยอย่าง SCB Trade Club เข้ามาช่วยให้ข้อมูลของคู่ค้าและมีธนาคารช่วยคัดกรองว่าเป็นผู้ประกอบการที่เชื่อถือได้ มีเครดิตที่ดี คุณธีมองว่าเป็นประโยชน์มากในการทำธุรกิจ “ผมว่าดีเลยละเพราะว่า Trade club ช่วยเราในการให้เราเห็นข้อมูลของคู่ค้า เราเห็นข้อมูลบริษัทของเขาว่าเขามีความเชี่ยวชาญในด้านไหน ฐานะการเงินของเขาเป็นอย่างไร มันก็ช่วยลดเวลาในขั้นตอนนั้นของเราได้ เหมือนปกติบางทีเราไม่มี Trade club เราลองทำธุรกิจกันเองก็อาจใช้เวลาเป็นปีหรือสองปีกว่าจะเห็นว่าศักยภาพของเขาว่าเป็นอย่างไรบ้าง ฐานะการเงินของเขา เราขายสินค้าไปเขาจะมีเงินมาจ่ายเรามั้ย แต่ว่าเมื่อมี Trade club มีธนาคารอื่นช่วยเลือกสรรเราก็อุ่นใจในเรื่องนี้ได้”
เพราะที่ผ่านมาเทพผดุงพรเองก็เคยเจอเคสที่ถูกเบี้ยว เช่น สั่งของมาแล้วพอของไปถึงท่าเรือกลับไม่ไปรับของก็มีทำให้บริษัทได้รับความเสียหาย และต้องยุ่งยากเสียเวลาในการไปหาคู่ค้ารายอื่นที่จะมารับสินค้านี้แทน ซึ่งถึงแม้เหตุการณ์เหล่านี้อาจเป็นเรื่องธรรมดาที่ธุรกิจส่งออกต้องเจอบ้าง แต่การมีวิธีการที่จะคัดเลือกคู่ค้าที่ดีให้ได้มากขึ้นในเบื้องต้นเพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้ปกป้องตัวเองจากความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและที่สำคัญไม่เสียโอกาสในการทำธุรกิจจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ยิ่งรู้ข้อมูลเร็วยิ่งได้เปรียบคู่แข่ง
“เวลาเราทำธุรกิจแต่ละประเทศก็จะมี requirement ที่ไม่เหมือนกัน การใช้เอกสารที่ไม่เหมือนกันว่าแต่ละประเทศเราต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างในการจดทะเบียนนำเข้าสินค้า ซึ่งก็ค่อนข้างลำบากเหมือนกันที่เราจะต้องคอยอัพเดทกฎหมายของเขาตลอดเวลาว่าแต่ละประเทศใช้อย่างไรบ้าง เพราะตอนนี้ยิ่งนานขึ้นเราก็ขายไปในหลายประเทศมากขึ้น มันก็เลยทำให้เราตามแต่ละประเทศไม่ค่อยทัน” คุณธีเล่าให้ฟังถึงปัญหาในเรื่องของข้อมูลกฎเกณฑ์การนำเข้าของแต่ละประเทศที่ไม่เหมือนกันและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด ยิ่งถ้าเป็นประเทศแปลกๆ ที่เคยเจอ เช่น อียิปต์หรือแอฟริกาที่ต้องใช้เอกสารค่อนข้างเยอะก็ยิ่งใช้เวลานาน หรือบางครั้งติดต่อคู่ค้าที่นั่นเพื่อขอความช่วยเหลือยาก ก็ทำให้ต้องศึกษาและทำความเข้าใจกฎหมาย ระเบียบต่างๆ เองทั้งหมดซึ่งก็จะใช้เวลาค่อนข้างนาน
คุณธียกตัวอย่างการเปลี่ยนกฎเกณฑ์การนำเข้าที่ทำให้กระทบต่อธุรกิจ เช่น เคสของประเทศพม่าที่เดิมยอมรับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นภาษาไทยได้ แต่ต่อมาเปลี่ยนกฎใหม่ให้บรรจุภัณฑ์ที่จะส่งเข้าพม่าต้องมีภาษาพม่าอยู่ด้วยแล้วก็ไม่สามารถติดสติกเกอร์ทับได้ ซึ่งเป็นกรณีที่สร้างความลำบากและเสียเวลาเพราะต้องทำบรรจุภัณฑ์เฉพาะให้พม่าใหม่ ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ตลาดใหญ่ที่มียอดขายมากมาย ทุกวินาทีที่เสียไปมีผลต่อธุรกิจเพราะเวลาเป็นสิ่งที่มีค่ามากสำหรับผู้ประกอบการ “ยิ่งรู้เร็วยิ่งช่วยให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น ในเรื่องของระยะเวลาด้วยในเรื่องของค่าใช้จ่ายก็ประหยัดด้วยเพราะเราสามารถวางแผนว่าเราจะเริ่มใช้ของใหม่ตอนไหน เรายังมีสต็อกของเก่าอยู่มั้ย ถ้ามีเราก็สามารถบริหารจัดการให้มันหมดก่อนแล้วเราค่อยใช้ของใหม่ได้ ก็ถือว่าได้เรื่องของเวลาด้วยแล้วก็ประหยัดสำหรับเราด้วย” คุณธีกล่าวถึงประโยชน์ของการรู้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ยิ่งรู้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้ได้เปรียบเท่านั้น คุณธีมองว่าเวลาเป็นโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ ยิ่งเราเสียเวลามากเท่าไหร่คู่แข่งของเราก็สามารถขยับตัวได้มากเท่านั้น ยิ่งรู้เร็วก็ยิ่งดี เพราะถ้าเราหยุดเดินคู่แข่งก็พร้อมที่จะเดินแซงเราตลอดเวลา ดังนั้นถ้ามีแพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวบรวมข้อมูลและอัพเดท กฎหมาย หลักเกณฑ์ของประเทศต่างๆ ไว้ละเอียดครบถ้วนอย่าง Trade Portal ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
SCB Trade Club
ก็จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและแรงงานในการศึกษาข้อมูลเองของผู้ประกอบการ ซึ่งทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เพราะคู่ค้าที่ดีเปรียบเสมือนครอบครัว เหมือนเรามีตัวแทนไปตั้งบริษัทในแต่ละประเทศ การมีคู่ค้าหรือมีพาร์ตเนอร์ที่ดีที่สามารถนำเสนอสินค้าของเราได้อย่างถูกต้อง สามารถช่วยสร้างยอดขายให้เราได้ ก็เหมือนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวที่พร้อมจะเติบโตไปด้วยกัน
SCB Trade Club
พร้อมช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถมั่นใจได้ว่าคู่ค้าที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวทางธุรกิจมีแบคกราวที่ดีและมีความน่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก หรือเสียเวลาศึกษากันนานเป็นปีๆ แล้วมาพบภายหลังว่าเลือกพาร์ตเนอร์ผิดตั้งแต่แรก ซึ่งเป็นการเสียโอกาสทางธุรกิจอย่างมาก เพราะทุกนาทีมีความหมายสำหรับการเติบโตของคุณ
ลูกค้าธุรกิจที่สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเครือข่ายธุรกิจระดับโลก
SCB Trade Club
สามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่ผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ หรือ SCB Business Call Center 0 2722 2222
THE GLOBAL TRADE PLATFORM DESIGNED TO HELP YOUR BUSINESS EXPAND INTERNATIONALLY