ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
How to เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดปฏิบัติตัวยังไง
การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปี 2564 ประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและขยายพื้นที่ไปยังหลายจังหวัดทั่วประเทศ แต่ในบางครั้งคนในพื้นที่ที่มีการระบาดก็มีความจำเป็นจะต้องเดินทางข้ามพื้นที่หรือข้ามจังหวัดไปยังพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากหน้าที่การงานหรือมีธุระจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทางออกจากพื้นที่ที่มีการระบาด นอกเหนือมาตรการที่ทางศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้ออก พรก.ในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อบังคับใช้ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดแล้ว ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข จึงได้มีคำแนะนำในการปฎิบัติตัวสำหรับผู้ที่เดินทางออกมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ดังนี้
กรณีเดินทางเข้า - ออกพื้นที่จังหวัดต่างๆ
ควรงดหรือชะลอการเดินทางโดยไม่จำเป็น ทั้งนี้ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดได้แก่ จังหวัดจันทบุรี,ชลบุรี, ตราด, ระยองและสมุทรสาคร พื้นที่ควบคุมสูงสุดสัญลักษณ์สีแดง พื้นที่ควบคุมสัญลักษณ์สีส้ม และพื้นที่เฝ้าระวังสูงสัญลักษณ์สีเหลือง
1. กรณีมาจากพื้นที่ที่ควบคุมสูงสุด
2. กรณีที่มาจากพื้นที่ควบคุมหรือพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด
o อยู่ห่างบุคคลอื่นไว้ 1-2 เมตร
o ใส่แมสกันตลอดเวลา
o หมั่นล้างมือบ่อย ๆ
o ควรติดตั้งแอปไทยชนะ
o หากมีอาการป่วยให้ใส่แมส แล้วเดินทางโดยรถส่วนตัว ให้หลีกเลี่ยงรถโดยสารสาธารณะและรีบไปทำการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้านโดยเร็ว
ใครบ้างควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดเมื่อมีอาการป่วย
นอกจากนี้ยังมีคน 5 กลุ่มได้แก่ 1.ผู้สูงอายุ 2.เด็ก 3.หญิงตั้งครรภ์ 4.ผู้มีประวัติป่วยด้วยโรคปอด และ 5. ผู้ป่วยเบาหวาน ที่ถือเป็นกลุ่มคนที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หากมีอาการป่วยในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 โดยกรมควบคุมโรคให้เฝ้าสังเกตอาการและถ้าหากมีอาการทางเดินหายใจผิดปกติ ได้แก่ 1.ไอ 2.เจ็บคอ 3.หายใจเหนื่อย 4.มีน้ำมูก 5.จมูกไม่ได้กลิ่น 6.ลิ้นไม่รับรส ให้ปฏิบัติตัวดังนี้
และให้รีบไปรับการตรวจรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้านโดยเร็ว หากมาช้าเกิน 48 ชั่วโมงมีโอกาสเสียชีวิตได้
ยึดหลัก D-M-H-T-T รับมือโควิด-19
ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข ได้ให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการปฏิบัติตัวเพื่อรับมือกับโควิด-19 ดังนี้
และควรมีแอป “หมอชนะ” ที่สามารถประเมินความเสี่ยงของบุคคลและเมื่อพบผู้ติดโควิด-19 เจ้าหน้าที่จะนำแอปมาตรวจสอบเพื่อติดตามไทม์ไลน์ว่าผู้ติดเชื้อได้เดินทางไปยังจุดไหน ด้วยวิธีการอย่างไร สัมผัสใกล้ชิดกับใครทำให้เจ้าหน้าที่สามารถขีดวงตรวจสอบสถานที่ได้โดยไม่จำเป็นจะต้องปิดสถานที่ในวงกว้าง ทั้งนี้ผู้ที่อยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดเข้มงวดต้องดาวน์โหลดทั้งแอป “ไทยชนะ” และ “หมอชนะ” ติดมือถือไว้ ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานและควบคุมโรคได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ ส่วนพื้นที่อื่นๆ ควรดาวน์โหลดแอปทั้ง 2 ตัวนี้เช่นกัน
นอกจากต้องยึดหลัก D-M-H-T-T เพื่อรับมือโควิด-19
แล้ว ควรทานอาหารที่ถูกสุขอนามัย กินอาหารร้อนที่ปรุงสุกใหม่ ไม่กินอาหารดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ ไม่ใช้ช้อนร่วมกัน หลีกเลี่ยงไม่นำมือมาสัมผัสหรือขยี้ตา แคะขี้มูก ปาก และใบหน้า หลีกเลี่ยงไม่ไปสถานที่ที่มีคนเป็นจำนวนมาก หากเป็นไปได้ควรงดการเดินทางไปยังสถานที่ที่มีการระบาดของโรค ก็จะทำให้สามารถป้องกันและรับมือกับโควิด-19 ได้ และอย่าลืมสังเกตตัวเอง หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ หายใจไม่สะดวก ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
และเพื่อปิดความเสี่ยงควรมีประกันโควิด-19 ติดตัวไว้สร้างความอุ่นใจให้มากขึ้น
ข้อมูล : เว็บไซต์ และ Facebook กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณะสุข