ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
กฎหมายการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (GDPR) กับข้อกำหนดเรื่องการเก็บ cookie บนเว็บไซต์
พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า PDPA ซึ่งย่อมาจาก Personal Data Protection Act นั้น PDPA เป็นกฎหมายที่ได้ต้นแบบมาจากกฎหมายเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปที่เรียกกันย่อๆ ว่า GDPR ซึ่งย่อมาจาก The General Data Protection Regulation และกฎหมายตัวนี้มีผลกระทบอย่างมากต่อเว็บไซต์ต่างๆ ที่ใช้งานในสหภาพยุโรป ซึ่งแทบทุกเว็บไซต์ใช้ cookie เพื่อเก็บข้อมูลและพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ เนื่องจากตอนนี้ PDPA ของไทยเองยังไม่ได้ระบุเรื่องของ cookie โดยเฉพาะเจาะจง ในขณะที่ทุกวันนี้บ้านเราเองก็ใช้เว็บไซต์หรือระบบออนไลน์ต่างๆ เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน และเช่นเดียวกับเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลกที่ใช้ cookie ในการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานเช่นกัน วันนี้เราจะมาเจาะเรื่อง GDPR ที่เกี่ยวกับการใช้ cookie บนเว็บไซต์และการขอความยินยอมกับผู้ใช้งาน เพื่อเป็นตัวอย่างกับการปรับใช้กับกฎหมาย PDPA ของไทย ซึ่งมีความคล้ายคลึงกัน
ใครที่ท่องอินเทอร์เน็ตเป็นประจำคงคุ้นหูกับคำว่าคุกกี้ (Cookies) กันมาบ้าง ประโยชน์ของมันมีหลายอย่าง เช่น ช่วยให้เราไม่ต้องล็อกอินเข้าเว็บไซต์ที่เคยเข้าไปดูแล้ว หรือต้องกรอกแบบฟอร์มที่เคยกรอกไปแล้ว และที่ชัดเจนมากคือความสามารถที่ทำให้เว็บไซต์ต่างๆ แสดงข้อมูลในแบบที่เราชอบ หรือสนใจ ซึ่งอาจถือว่าเป็นข้อดี แต่อันตรายของมันก็มีไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการสปายแอบเก็บข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ของเรา เพื่อส่งโฆษณามาในเครื่องหรือบางครั้งอาจถูกสวมรอยเจาะเข้าบัญชีเงินฝากได้อีก
Cookie คืออะไร?
Cookies ในภาษาคอมพิวเตอร์ คือ HTTP Header รูปแบบหนึ่งที่ประกอบไปด้วยข้อความ Text ตามแต่ละเว็บไซต์และจะถูกบันทึกลงบนบราวเซอร์ของเราเมื่อเราแวะเข้าไปชมเว็บไซต์นั้นๆ โดยจุดประสงค์หลักก็คือการทำให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถจัดเก็บข้อมูลบางอย่างไว้ที่เว็บบราวเซอร์ของผู้ใช้งาน เช่น ข้อมูลแบบฟอร์มที่เคยกรอก ข้อมูลที่บันทึกว่าเคยมีการเข้ามาที่เว็บไซต์แห่งนี้ ข้อมูลการตั้งค่าต่างๆ ของเว็บไซต์ โดยเว็บบราวเซอร์ตัวแรกที่มีการนำ Cookies มาใช้งานคือ Netscape Navigator 1.0
Cookies มี 2 ประเภท คือ
1. Cookies ของเว็บไซต์ที่เราเข้าชมเป็นผู้สร้างขึ้นเอง
2. Cookies ของ Third-Party หรือเว็บไซต์บุคคลที่สาม ซึ่งเว็บไซต์อื่นๆ ที่เป็นเจ้าของเนื้อหาบางอย่าง เช่น โฆษณา เป็นผู้สร้างขึ้น
ดังที่เล่าไปแล้วในตอนต้นว่า Cookies มีประโยชน์แต่ก็มีโทษไม่น้อย เพราะข้อมูลส่วนตัวของคุณอาจถูกลักลอบส่งกลับไปยังเว็บไซต์ไม่พึงประสงค์ จนนำไปสู่การถูกแฮกข้อมูลบัญชีใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมออนไลน์ ใครช้อบปิ้งออนไลน์บ่อยๆ ควรต้องระมัดระวังไว้ให้มากขึ้น
กฎหมาย GDPR ของยุโรปมีข้อกำหนดเรื่องการขอความยินยอมในการเก็บ cookie ของผู้ใช้งานเว็บไซต์อย่างไร
GDPR cookie consent หรือข้อบังคับของ GDPR เกี่ยวกับการต้องได้รับการอนุญาตหรือยินยอมให้ใช้ cookie จากผู้ใช้งานก่อน กล่าวคือให้ผู้ใช้งานเว็บไซต์สามารถระบุได้ว่าจะอนุญาตให้เว็บไซต์ใช้ cookie ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของเขาหรือไม่และยอมให้ใช้ cookie ตัวใดบ้าง ก่อนที่ cookie จะสามารถทำงานในการเก็บข้อมูลและนำข้อมูลนั้นไปประมวลผลและใช้งานได้ ซึ่งกฎนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 25 พฤษภาคม 2018
GDPR ระบุให้ในคำขอความยินยอมให้เก็บ cookie (cookie consent) ต้องแจ้งข้อมูลเหล่านี้ให้ผู้ใช้งานทราบ
The Court of Justice of the European Union (CJEU) ออกกฎว่า แบนเนอร์ที่ขอความยินยอมในการเก็บ cookie ไม่อนุญาตให้มีเครื่องหมายถูกไว้ก่อนในช่องยินยอม ทำให้แบนเนอร์ขอความยินยอมของหลายๆ เว็บไซต์ที่ทำขึ้นก่อนกฎหมายใหม่ออกมาถือว่าใช้ไม่ได้ ตัวอย่างเช่น Pop up แบนเนอร์ที่ใช้คำว่า ‘By using this site, you accept cookies’ นั้นใช้ไม่ได้กับกฎหมายใหม่ หรือการใช้เพียงปุ่ม OK เพื่อยอมรับการเก็บ cookie ก็ใช้ไม่ได้กับกฎหมายนี้เช่นกัน
ตัวอย่างแบนเนอร์ขอความยินยอมที่ไม่ถูกต้องตามกฎของ EU
ส่วนภาพนี้คือตัวอย่างแบนเนอร์ขอความยินยอมที่ถูกต้องตามกฎของ EU
แบนเนอร์นี้ถูกต้องเพราะ
โดยองค์กรที่ไม่ทำตามกฎหมายอาจจะโดนโทษปรับสูงสุดถึง €20 ล้านยูโร หรือ 4% ของงบประมาณที่ใช้ของบริษัทในรอบปีที่ผ่านมาขึ้นอยู่กับว่ายอดใดมีมูลค่าสูงกว่ากัน
จะเห็นว่ากฎหมายของยุโรปมีความเข้มงวดมากและมาตรการในการลงโทษเป็นจำนวนเงินที่ค่อนข้างสูงมาก สำหรับประเทศไทยก็คงต้องดูกันต่อไปเมื่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ตั้งขึ้นเรียบร้อยและทำการออกกฎเกณฑ์ต่างๆ ในรายละเอียด ในเรื่องการเก็บ cookie ของเว็บไซต์ไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป
อ้างอิง