ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
Redemption song : เสรีภาพทางจิตใจในจังหวะยกและคร่อม
เรื่อง: เผ่าจ้าว กำลังใจดี
Hi-Lights:
รูปภาพของ บ๊อบ มาร์เลย์ (Bob Marley) ปรากฏให้เห็นบ่อยๆ ตามบาร์เบียร์แถวถนนข้าวสาร พัทยา เชียงใหม่ หรือไกลออกไปอย่าง ภูเก็ต และอีกหลายที่ที่ทะเล และแสงจันทร์ โอบล้อมผู้คนที่กำลังเมามาย เต้นรำ
ทรงผมของเขาถูกเรียกกันว่า ‘เดร็ดล็อค’ มันเกาะเกี่ยวยึดกันเป็นแผ่น ยาวเหยียดออกมาอย่างไร้รูปทรง เมื่อก่อน ผู้คนบอกว่า ทรงผมแบบนี้คือความไม่สะอาด ปัจจุบันไม่มีใครถือสาเรื่องแบบนั้นอีกแล้ว คุณเองก็สามารถมีผมทรงนี้ได้เหมือนกัน คุณเดินทางไปถนนข้าวสาร นั่งให้ช่างรุมโทรมศีรษะ ไม่กี่ชั่วโมงให้หลังคุณก็จะมีผมทรงเดร็ดล็อคเหมือนกันกับ บ๊อบ มาร์เลย์
เช่นเดียวกับเพลงของ บ๊อบ มาร์เลย์ มันถูกเรียกว่าเร็กเก้กับสกา และยังคงได้รับการพูดถึงอยู่เสมอ จนกระทั่งทุกวันนี้
มีคนเอ่ยชื่อเขา ทำผมเหมือนเขา แต่งตัวแบบเขา และร้องเพลงของเขาอยู่มากมาย บ๊อบ มาร์เลย์ กลายเป็นหนึ่งในไอคอนของวัฒนธรรมพ็อพ ได้รับยกย่องให้เป็นราชาแห่งวงการเพลงเร็กเก้
แต่ไม่ค่อยมีใครจดจำหรือระลึกได้ว่าแท้จริงแล้ว เขาขับขานเพลงเหล่านั้นเพื่ออะไร บ๊อบ มาร์เลย์ เขียนบทเพลงต่างๆ ขึ้นมาต่อสู้กับอะไร
คำตอบของคำถามข้างต้นอาจอยู่ในแทร็คคลาสสิกอย่าง ‘Redemption Song’ เพลงปาฏิหาริย์ที่ขยับโลกใบนี้ให้เป็นจังหวะ เพลงที่แม้แต่อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอย่าง บารัค โอบามา ยังนำไปใช้เป็นเพลงสนับสนุนแคมเปญหาเสียงในการสมัครเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาครั้งแรก
คงไม่ผิดหากจะกล่าวว่า ‘Redemption Song’ หรือ บ๊อบ มาร์เล่ย์ คือนกสันติภาพตัวสุดท้ายแห่งวงการเพลงโลก เขาคือศิลปินผู้เรียกร้องสิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคให้กับคนผิวสีด้วยเพลงเร็กเก้ อันสร้างขึ้นด้วยท่วงทำนองแห่งการยกและคร่อมจังหวะ
โรเบิร์ต บ๊อบ เนสตา มาร์เลย์ เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 ในชุมชนคนผิวดำ ที่เมืองเชนต์เเอนน์ ประเทศจาเมกา เขาเติบโตท่ามกลางชุมชนทาสในครอบครัวที่เเตกเเยก ต่อมาแม่พาเขาย้ายไปอยู่ในเขตสลัมในคิงสตัน เมืองหลวงของจาเมกา แวดล้อมไปด้วยผู้คนผิวสีผู้ยากจนและถูกกดขี่จากคนผิวขาว บ๊อบ ได้รับการอบรมสั่งสอนตามความเชื่อดั้งเดิมของคนผิวสีว่า พวกตนเป็นลูกหลานของกษัตริย์โซโลมอน (King Solomon) เเละเป็นชาวยิวพลัดถิ่นที่รอวันกลับคืนสู่เเผ่นดินเกิด อันเป็นเเหล่งกำเนิดวัฒนธรรมและลัทธิรัสตาฟาเรียนิสม์ (Rastafarianism)
เมื่อโตเป็นหนุ่มน้อย บ๊อบ เข้าสู่โลกของเสียงเพลงเมื่อเขาได้พบกับ โจ ฮิกก์ส (Joe Higgs) นักดนตรีข้างถนนผู้สอนทุกอย่างที่เขาควรรู้ให้ บ๊อบ ในปี 1962 บ๊อบ มาร์เลย์ ก็เริ่มก่อตั้งวงดนตรีกับ บันนี เวลเลอร์ (Bunny Wailer) เเละ ปีเตอร์ ทอช (Peter Tosh) เพื่อเล่นดนตรีหาเงินเลี้ยงชีพในระหว่างฝึกฝนทักษะดนตรี เเละเริ่มมีเเผ่นเสียงของตนเองออกจำหน่ายในภายหลัง ปีต่อมาเขาก่อตั้งวงดนตรีชื่อ The Wailing Rudeboys (ภายหลังเปลี่ยนเป็น The Wailing Wailers) กับเพื่อนอีก 6 คน
ช่วงเวลาดังกล่าวนี้เองที่ บ๊อบ มาร์เลย์ ค่อยๆ พัฒนาเพลงสกาอันมีรากฐานมาจากดนตรีริธึ่มแอนด์บลูส์ ด้วยการทำจังหวะให้ช้าลงและมีการใช้กลองและเบสที่แตกต่างไปจากเพลงร็อค ดนตรีของพวกเขา ฟังเผินๆ อาจดูเหมือนต่างคนต่างเล่นเหมือนไม่ได้ซ้อมร่วมกัน เพราะทุกอย่าง ถ้าไม่ถูกยกจังหวะขึ้น ก็ถูกทำให้ช้าลง และยังคร่อมจังหวะไปเสียหมด แต่เมื่อฟังรวมกันทุกชิ้นมันกลับได้สำเนียงประหลาด มีรสชาติเฉพาะตัวที่พวกเขาเรียกมันว่า ‘เร็กเก้’
แต่ลำพังการยกและคร่อมของเรกเก้นั้นไม่ได้เป็นสาระสำคัญที่ทำให้ บ๊อบ มาร์เลย์ ขับเคลื่อนผู้คนกว่าค่อนโลก (โดยเฉพาะคนผิวสี) หากแต่เป็นเนื้อหาในบทเพลงที่เขาเขียนขึ้นมาต่างหากที่ทำหน้าที่นั้น เพลงของ บ๊อบ มาร์เลย์ สะท้อนมุมมองชีวิตของรัสตาฟาเรียน เเละวิพากษ์วิจารณ์สังคมที่ปราศจากความเสมอภาคกันระหว่างคนขาวและคนผิวสีอันเป็นปัญหาสำคัญในจาเมกาและอีกหลายๆ แห่งทั่วโลก
แน่นอนว่า ‘Redemption Song’ แทร็คสุดท้ายจากอัลบั้ม ‘Uprising’ ของเขาและวงเดอะ เวลเลอร์ส ก็เป็นหนึ่งในเพลงที่เรียกร้องสิทธิ เสรีภาพที่ทรงพลังเท่าๆ กับเพลงคลาสสิกอื่นๆ ของเขาไม่ว่าจะเป็น ‘I Shot The Sheriff’ หรือ ‘One Love’
บ๊อบแต่งเพลงนี้ในปี 1979 โดยได้แรงบันดาลใจจากสุนทรพจน์ของ มาร์คัส การ์วี่ย์ (Marcus Garvey) นักต่อสู้เพื่อคนผิวสีผู้กลายเป็นรัฐบุรุษของชาวจาเมกาที่บอกว่า
“We are going to emancipate ourselves from mental slavery because whilst others might free the body, none but ourselves can free the mind. Mind is your only ruler, sovereign. The man who is not able to develop and use his mind is bound to be the slave of the other man who uses his mind”
(เรากำลังจะปลดปล่อยพวกเราเองออกจากการตกเป็นทาสในระดับจิตใจ เพราะว่าในขณะที่บางคนสามารถมีร่างกายที่เป็นอิสระก็จริง แต่ไม่มีใครเลยสักคนที่สามารถปลดปล่อยจิตใจตัวเองให้เป็นอิสระ จิตใจเท่านั้นที่เป็นผู้กำหนดเราสูงสุด คนที่ไม่สามารถพัฒนาจิตใจและยังยึดติดว่าเราเป็นทาส ก็จะเป็นทาสตลอดไป)
ริต้า มาร์ลี่ย์ ภรรยาของบ๊อบ บอกว่าเขาแต่งเพลงนี้ในช่วงเวลาที่พบว่าตัวเองป่วยเป็นมะเร็ง เขาเริ่มคิดถึงความตาย นั่นทำให้เพลงนี้มีแววของความเศร้าหมองและเรียบง่ายแตกต่างไปจากเพลงอื่นๆ ที่เน้นความสนุกสนาน แต่ยิ่งหม่นหมองและเรียบง่ายมากเท่าไหร่ มันก็ยิ่งทรงพลังและสร้างความฮึกเหิมให้กับผู้ฟังมากเท่านั้น
‘Redemption Song’ จึงกลายเป็นเพลงที่พุ่งตรงไปยังหูของคนผิวสีทั่วโลกให้ลุกขึ้นมาปลดปล่อยพันธนาการทางจิตใจของตัวเองจากความรู้สึกถูกกดขี่จากคนผิวขาวให้ได้เสียก่อน เมื่อใจพร้อมพวกเขาก็จะรวมพลังปลดปล่อยตัวเองหรือแม้กระทั่งปลดปล่อยผู้คนที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามตัวเอง
ก็คงเหมือนกับที่ เนลสัน แมนเดลล่า มหาบุรุษที่ร้อยรัดแอฟริกาทั้งทวีปเอาไว้ว่า เขาไม่ได้ต่อสู้เพียงหวังแค่ปลดปล่อยคนผิวสีแอฟริกันจากการกดขี่ข่มเหงของคนผิวขาวเท่านั้น ในอีกทางหนึ่งเขาก็มุ่งที่จะปลดปล่อยคนผิวขาวออกจากความหวาดหวั่น ความเกรงกลัวภยันอันตรายจากคนผิวสีที่คิดจะแก้แค้น
เนลสัน แมนเดลล่า ก็คงคิดไม่ต่างจากบ๊อบ มาร์เลย์ โลกใบนี้สั้นเกินกว่าที่เราจะมัดตัวเองไว้กับความเกลียดชัง
ปลดปล่อยตัวเองจากความเกลียดชังทั้งปวง และนำอิสรภาพทางจิตใจกลับคืนมา
นี่ต่างหากเสรีภาพที่แท้จริง ไม่ใช่เสรีที่มีแต่ภาพ
เนื้อเพลง Redemption Song
Old pirates, yes, they rob I; Sold I to the merchant ships,
Minutes after they took I from the bottomless pit.
But my hand was made strong by the hand of the Almighty.
We forward in this generation Triumphantly.
Won't you help to sing
This songs of freedom
'Cause all I ever have: Redemption songs; Redemption songs.
Emancipate yourselves from mental slavery;
None but ourselves can free our minds.
Have no fear for atomic energy,
'Cause none of them can stop the time.
How long shall they kill our prophets,
While we stand aside and look? Ooh!
Some say it's just a part of it: We've got to fullfil the book.
Won't you help to sing
This songs of freedom
'Cause all I ever have: Redemption songs;
Redemption songs, Redemption songs.
ฟังเพลง Redemption Songs
https://www.youtube.com/watch?v=kOFu6b3w6c0