ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใส่ความผู้อื่นอันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีความหมายถึง สิทธิที่จะแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นของเรา ไม่ว่าจะด้วยการพูด การเขียน การวาดภาพ การร้องเพลง หรือการแสดงท่าทาง ทั้งบนโลกแห่งความเป็นจริงและโลกออนไลน์ อย่างไรก็ตาม การแสดงความคิดเห็นก็ย่อมจะต้องมีขอบเขตตามกฎหมาย กล่าวคือ จะต้องไม่ก้าวล่วงสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ต้องไม่ขัดกับศีลธรรมอันดีของประชาชน และต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เรามีแนวโน้มจะใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเกินขอบเขตกันอยู่บ่อยครั้งบนสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งนี้เพราะในสื่อสังคมออนไลน์ เราสามารถใช้ชื่ออื่นที่ไม่ใช่ชื่อตัวเองได้ หรือใช้ภาพอื่นที่ไม่ใช่ภาพของตนเองได้ และเราไม่ได้พบหน้าและสบตากันจริง ๆ เราไม่รู้จักกันจริง ๆ ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์ขาดความยับยั้งชั่งใจและความเกรงใจ จนหลายครั้งเลยเถิดไปจนถึงขนาดเป็นข้อความที่สร้างความเกลียดชัง หรือ Hate Speech กันเลยทีเดียว บุคคลสาธารณะ ไม่ว่านักการเมือง นักร้อง นักแสดง หรือเน็ตไอดอล ก็มักจะต้องรับมือกับกรณี “ทัวร์ลง” กันอยู่บ่อยครั้ง
คราวนี้ลองมาดูกันว่า หากเราใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นจนเกินขอบเขต จะเกิดอะไรกับเราได้บ้าง ประการแรกเลย เราอาจมีความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาท ตามมาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” เช่น นายดำเล่าให้นายแดงฟังว่า นายขาวยักยอกทรัพย์สินของทางราชการไปเมื่อสองเดือนก่อน เช่นนี้ นายดำกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท หรือนายหนึ่งเล่าให้นายสองฟังว่า นางสาวสามมีชู้ นายหนึ่งย่อมมีความผิดฐานหมิ่นประมาทเช่นกัน หากการหมิ่นประมาทนั้นกระทำบนสื่อสังคมออนไลน์ ผู้กระทำอาจมีความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตามมาตรา 328 ประมวลกฎหมายอาญา เพราะถือเป็นการเผยแพร่ข้อความไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป ซึ่งมีโทษหนักกว่าความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยทั่วไป
อย่างไรก็ตาม มีการกล่าวข้อความที่เป็นการหมิ่นประมาทบางประการที่กฎหมายยอมรับว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ซึ่งแม้จะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง แต่ก็ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท ได้แก่ การแสดงความคิดเห็นเพื่อป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม การแสดงความคิดเห็นในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ การแสดงความคิดเห็นติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ การแสดงความคิดเห็นที่เป็นการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม และการแสดงความคิดเห็นในกระบวนพิจารณาคดีในศาล
ประโยคด้านล่างน่าจะพูดต่อจากกรณีมีความผิด ไม่ควรเอามาพูดต่อจากกรณียกเว้น นอกจากอาจจะต้องติดคุกเพราะกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว ยังอาจต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนด้วยหากว่าการกระทำของเราเข้าข่ายการกระทำละเมิด คือ การแสดงความคิดเห็นของเราทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียงนั่นเอง การกำหนดค่าสินไหมทดแทนจากมูลละเมิดนั้น ศาลจะกำหนดตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเพื่อมุ่งให้ผู้เสียหายกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนไม่มีการละเมิดเกิดขึ้น เช่น หากมีใครมาทำละเมิดต่อร่างกายหรือสุขภาพ ศาลก็จะกำหนดค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าพาหนะเดินทางไปกลับโรงพยาบาล ค่าจ้างคนมาเลี้ยงบุตร เป็นต้น และศาลยังสามารถกำหนดค่าสินไหมทดแทนจากการเสียความสามารถในการประกอบการงานได้ด้วย เช่น เดิมประกอบอาชีพเล่นดนตรี แต่เพราะมีการกระทำละเมิดจนนิ้วชี้ขาด จึงไม่สามารถเล่นดนตรีได้อีกต่อไป ในกรณีที่เราไปพูดจาหมิ่นประมาทคนอื่น ศาลจะกำหนดค่าสินไหมทดแทนโดยดูจากความเสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของเขา และจากความเสียหายที่เกิดกับรายได้และการเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน เช่น การหมิ่นประมาททำให้เขามีรายได้ลดลงเพราะคนไม่เชื่อถือ หากเขาเป็นคนมีชื่อเสียงมาก เช่น เป็นดาราหรือนักการเมือง ศาลก็อาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้มากกว่าคนที่เป็นพนักงานบริษัท ข้าราชการ หรือบุคคลทั่วไป ศาลฎีกาเคยกำหนดค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดแก่ชื่อเสียงเกียรติยศให้แก่นักการเมืองคนหนึ่งที่ถูกใส่ความเป็นจำนวนถึง 5 ล้านบาท (คำพิพากษาฎีกาที่ 1479/2542)
เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว คราวหน้าจะวิพากษ์วิจารณ์ใครก็ควรจะต้องระวังให้เหมาะสมและไม่เกินขอบเขตของกฎหมายด้วย มิเช่นนั้น อาจจะต้องติดคุกติดตารางและเดือดร้อนเงินในกระเป๋าของเราด้วย
 
บทความโดย : กรรภิรมย์ โกมลารชุน