ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
4 รูปแบบ ปรับโครงสร้างหนี้ เลี่ยงผิดนัดชำระ
ในสถานการณ์วิกฤตอย่างกรณีโควิด-19 หลายคนอาจมีปัญหาการเงินแบบชักหน้าไม่ถึงหลัง เพราะรายได้ลดลง บางคนอาจถึงขั้นขาดรายได้ไปเลย ทำให้ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด และประหยัดกันให้มากขึ้น สำหรับใครที่มีหนี้ต้องจ่าย ก็อย่าเพิ่งหมดหวัง เพราะสามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ การคิดว่า ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย อาจทำให้เรื่องบานปลายจนถึงขั้นถูกยึดทรัพย์สิน และเสียประวัติเครดิตไปเลยก็เป็นได้
การขอปรับโครงสร้างหนี้เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ไม่ผิดนัดชำระ และรักษาทรัพย์สินไว้ได้ โดยในเว็บไซต์ของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แนะนำการปรับโครงสร้างหนี้ไว้ 4 แบบ แต่ละแบบก็เหมาะกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป
1. จ่ายไหว แต่อยากประหยัดรายจ่ายที่เป็นดอกเบี้ยลง
สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้
2. จ่ายได้ไม่เต็มจำนวนที่ถูกเรียกเก็บ หรือจ่ายไม่ได้ตามสัญญา
สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้
3. มีเงินก้อนแต่ไม่พอปิดหนี้ทั้งหมด
สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้
4. จ่ายไม่ไหวเลย
สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการ
การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อให้ยังสามารถจ่ายหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระ จึงต้องดูความสามารถในการชำระคืนประกอบด้วย หากเงื่อนไขใหม่ที่ได้มาก็ยังเกินความสามารถในการจ่ายคืน ให้เลือกเจรจากับสถาบันการเงินอีกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจ่ายหนี้ไม่ได้อีก และการปรับโครงสร้างหนี้อีกครั้งอาจทำได้ยากขึ้น ทั้งนี้การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบที่กล่าวมาข้างต้น ก็มีผลแตกต่างกันต่อประวัติในเครดิตบูโร จึงต้องสอบถามสถาบันการเงินในประเด็นนี้ด้วย ก่อนตัดสินใจ
ที่มา: ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย