ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เช็กอาการกันหน่อย เราเป็น FOMO หรือเปล่า?
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ตื่นเช้ามาต้องคว้ามือถือส่องโลกโซเชียลก่อนจะลุกจากเตียง แถมกว่าจะท่องโลกครบทุกแพลตฟอร์ม พระอาทิตย์ก็เคลื่อนเปลี่ยนองศาไปถึงไหนแล้ว โปรดระวังว่าพฤติกรรมเหล่านี้อาจนำไปสู่อาการ FOMO (Fear of missing out) โดยไม่รู้ตัว หรืออธิบายง่ายๆ คือ ความกลัวตัวเองตกกระแสสังคม ว่าแล้วลองมาเช็กตัวเองกันหน่อย ถ้าเริ่มเข้าข่าย จะได้หาวิธีจัดการทันท่วงที
1. เช็กสัญญาณอาการ FOMO
ติดโซเชียลมีเดียแบบขาดไม่ได้ ต้องโลดแล่นอยู่ในเน็ตพิภพไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง/วัน เล่นไปด้วยความรู้สึกว่าฉันต้องรู้กระแสและข่าวล่าสุดก่อนใคร หรือมัวแต่ห่วงผลตอบรับจากยอดกดไลค์หรือแชร์ หากออกมาน้อยจะรู้สึกด้อยกว่าคนอื่น เริ่มมีอาการหลงตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองเก่งกาจและคิดว่ามีคนชอบเราเยอะ แต่ก็กังวลร้อนรนเมื่อโดนคนในโลกออนไลน์ต่อว่า แล้วเราจึงเริ่มรับฟังคนอื่นน้อยลง แถมเกิดอารมณ์แปรปรวนเมื่อไม่ได้ใช้โลกออนไลน์
2. สัญญาณน่าห่วงที่มาเยือน
ส่วนใหญ่คนเป็นโรคนี้แล้วมักไม่รู้ตัว จนเริ่มมีผลต่อบุคลิกภาพและการใช้ชีวิตในประจำวัน ที่น่ากังวลคือเป็นภาวะที่เป็นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่ว่าส่วนใหญ่จะเกิดกับวัยรุ่นอย่างเดียว เพราะผู้ใหญ่เองอาจมีโอกาสติดหน้าจอไม่แพ้เด็ก สัญญาณอันตรายคือบางครั้งสะดุ้งตื่นกลางดึกขึ้นมา สิ่งแรกที่ทำให้คือการเช็กมือถือก่อน
3. FOMO มากเกินไป ระวังความสัมพันธ์สั่นคลอน
เป็นอาการที่ทำให้เสียทั้งพลังงานและเสียเวลาไปกับสิ่งที่อยากมีเหมือนคนอื่น แทนที่จะทุ่มเทไปกับเป้าหมายที่ทำให้ตัวเองมีความสุขจริงๆ บางคนอาจเสียบุคลิกภาพมาก เพราะเมื่อเวลาอยู่กับคนอื่นจะหยิบมือถือขึ้นมาตลอดเวลา จนไม่ได้ให้ความสำคัญกับคนที่อยู่ตรงหน้า อาจมีผลกระทบลามไปถึงปฏิสัมพันธ์หรือการเข้าสังคมกับผู้อื่น
4.วิธีแก้ไขห่างไกล FOMO
ตั้งกฎกับตัวเองว่าจะละสายตาจากหน้าจอทุก 2 ชั่วโมง เลิกตั้งค่าเสียงเรียกเตือนทุกรายการ พยายามปฏิเสธตัวเองจากการเป็นเหยื่อช่องทางการตลาด ที่ปกติพฤติกรรมของ FOMO จะจับสัญญาณไวเสมอว่า ถ้าอยากมีแบบนี้เหมือนคนอื่นต้องทำอย่างไร หรือลองให้พื้นที่ห้องนอนเป็นโซนปลอดโลกโซเชียลไปเลย เพื่อให้เวลากับกิจกรรมสร้างสรรคือย่างอื่น เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง
5.เปลี่ยน FOMO ให้เป็น FOCUS
เพราะ FOMO คือการเสพโลกโซเชียลมากเกินไป ดังนั้นควรเบี่ยงเบนความสนใจมาให้กับสิ่งที่จะช่วยจดจ่อ (FOCUS) ทำสิ่งที่อยากทำมากขึ้น เช่น การทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบและมีความสุข ในห้วงเวลาที่มีสมาธิอยู่กับสิ่งนั้น ควรเอามือถือตั้งไว้ห่างๆ ตัว เพื่อจะได้ไม่ว่อกแว่กและมีเวลาทำกิจกรรมนั้นอย่างเต็มที่
6. ให้คนรอบข้างช่วยดึงเราสู่โลกแห่งความจริง
หันมาทำกิจกรรมกับสมาชิกในครอบครัว หรือพูดคุยกับเพื่อนมากขึ้น ซึ่งเป็นโลกที่เราสร้างความสัมพันธ์กับมนุษย์ด้วยกัน แบบมีบรรยากาศจริงที่ได้เห็นรอยยิ้ม ได้ยินเสียงหัวเราะ ได้ระบายความคับข้องใจออกทางคำพูด ด้วยสีหน้าท่าทาง สิ่งเหล่านี้จะทำให้อารมณ์ความรู้สึกเรากลับมาเป็นปกติ เพราะสุดท้ายบนโลกใบนี้ ชีวิตมนุษย์จะมีสีสันก็ต่อเมื่อเราได้เข้าสังคมนั่นเอง
ชีวิตไม่ใช่เรื่องง่ายอยู่แล้ว แต่อาจจะยิ่งซับซ้อนขึ้น หากเราปล่อยให้สังคมออนไลน์อยู่เหนือชีวิตเรามากเกินไป ลองทบทวนพฤติกรรมเหล่านี้ และแหวกตัวหนีจากภาวะจมดิ่งในสังคมเสมือน ออกมาอยู่ในโลกจริงอย่างสมดุลมากขึ้นดีกว่า เรื่องลงทุนก็เช่นกัน ปัจจุบันมี AI เข้ามาช่วยแนะนำการลงทุนให้ ไม่ต้องก้มหน้าก้มตาอยู่กับหน้าจอนานๆ เพื่อหาข้อมูลเอง โดยเฉพาะใครที่สนใจซื้อกองทุนรวม อ่านแล้วคิดว่ากองไหนเหมาะกับเรา ก็สามารถคลิกลงทุนได้ทันทีแบบไม่เสียเวลาผ่านฟีเจอร์
WEALTH4U
บนแอป SCB EASY
ที่มา
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/gallery/fomo-fear-of-missing-out-ก็ฉันกลัวตกกระแส
https://www.it24hrs.com/2021/what-is-fomo
http://infographic.in.th/infographic/fomo-ภัยร้ายโรคกลัวตกกระแส
https://www.careervisathailand.com/รู้เท่าทันอาการ-fomo-ไม่อยากตกกระแส-และ-fobo-ไม่อยากตัดสินใจ
https://thematter.co/social/fomo/136174
https://www.marketingoops.com/reports/behaviors/fomo-and-jomo-consumer/