การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
7 วิธี ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกขโมยเงินในธนาคาร
ไม่อยากตกเป็นเหยื่อเสียเงินให้โจรต้องอ่าน! ยิ่งยุคนี้เศรษฐกิจฝืดเคืองเงินทองหายาก กว่าจะได้มาแต่ละบาทต้องเหนื่อยกายใช้น้ำพักน้ำแรงทำมาหากิน แต่จู่ๆ มิจฉาชีพที่ไหนก็ไม่รู้มาฉกเงินในกระเป๋าเราไปเสียดื้อๆ เจ็บใจยังไม่พอ ยังสร้างความเดือดร้อนเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องกินต้องใช้ทุกวัน ระยะหลังๆ มานี้ มิจฉาชีพมาแบบแยบยลกว่าเดิม หลอกขโมยเงินเราโดยใช้ช่องทางออนไลน์ปลอมเป็นธนาคารต่างๆ บ้าง หน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือบ้าง มีผู้ตกเป็นเหยื่อไม่น้อย และอย่าคิดว่าผู้ตกเป็นเหยื่อจะเป็นแค่กลุ่มผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีมากพอ หรือเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงนั้น คนที่มีความรู้เรื่องไอทีอย่างดี คนหนุ่มคนสาว ที่มีหน้าที่การงานดีๆ ก็ตกเป็นเหยื่อกันมาแล้วเพียงเพราะความประมาท ขาดสติ มาเสริมเกราะความรู้เพื่อเท่าทันกลโกงของโจรออนไลน์ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อเสียทั้งเงิน เจ็บทั้งใจ เรามี 7 วิธีสร้างเกราะป้องกันภัยจากมิจฉาชีพออนไลน์มาฝากกัน
1. ตั้งสติ
ระวัง ช่างสังเกต อย่าให้ข้อมูลกับใครง่ายๆ ไม่ว่าข้อความนั้นจะส่งมาจากใคร ผ่านช่องทางใดก็ตาม เพราะเดี๋ยวนี้มิจฉาชีพมาแบบแนบเนียนมากสามารถส่ง SMS มาในชื่อของแบงก์ องค์กรที่น่าเชื่อถือหรือเบอร์โทรที่เราคุ้นเคยได้ อย่ารีบร้อนและไม่ทำธุรกรรมทางการเงินพร้อมๆ กับทำกิจกรรมอื่นๆ เพราะอาจทำให้เผลอและขาดความระมัดระวังได้
2. อย่าให้หรือกรอกข้อมูลส่วนตัวในทันที
เนื่องจากธนาคารไม่มีนโยบายส่งข้อความ ขอข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า เช่น เลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เลขที่บัตรเครดิต/เดบิต วันเดือนปีเกิด Login Name รหัสผ่านต่างๆ หรือ OTP ใดๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล, SMS, LINE, Facebook Messenger เป็นต้น หากไม่แน่ใจโทรถาม call center ของธนาคารที่หมายเลข 02-777-7777
3.
สังเกตลิงก์ที่แนบมา
กับข้อความเสมอ
ว่าลิงก์นั้นเป็นเว็บไซต์ของธนาคารจริงหรือไม่ โดยเว็บไซต์ของธนาคารจะขึ้นต้นด้วย https:// เท่านั้น และมีสัญลักษณ์รูปกุญแจอยู่ด้านหน้าชื่อ รวมทั้งต้องตรวจสอบชื่อ URL ว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น URL Official Website ของ SCB คือ https://www.scb.co.th
4.
ไม่ใช้ Wi-Fi สาธารณะ
ในการทำธุรกรรมการเงินทางออนไลน์ เพราะมีช่องโหว่ให้มิจฉาชีพเจาะเอาข้อมูลสำคัญเช่น Username, Password ในการเข้าไปขโมยเงินในบัญชีของเราได้
5.
จำกัดวงเงินเบิกถอนต่อวัน
เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเงินจำนวนมาก โดยลูกค้าสามารถเปลี่ยนวงเงินเบิกถอนต่อวันได้เองผ่าน SCB Easy App
6.
หากเผลอให้ข้อมูลไปแล้ว รีบเปลี่ยนรหัส
ในการทำธุรกรรมต่างๆ ทันที แล้วรีบติดต่อธนาคารเพื่ออายัดบัญชีและแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
7
แชร์ความรู้ต่อ
ให้คนในครอบครัว เพื่อนและคนรอบตัว ให้รู้เท่าทันกลโกงจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพอีกต่อไป
ตั้งสติ ระวัง ช่างสังเกต ไม่ทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์พร้อมๆ กับทำกิจกรรมอย่างอื่นจะได้ไม่เผลอยื่นกุญแจให้โจร พบสิ่งผิดสังเกตหรือไม่แน่ใจโทรสอบถาม Call Center ของธนาคาร
#มีสติไม่เสียสตางค์ #อย่ายื่นกุญแจให้โจร