4 หมวดใช้วางแผนลดหย่อนภาษีได้ รู้ไว้มีเงินเพิ่มแน่นอน

‘สองสิ่งที่หนีไม่พ้น คือ ความตายกับภาษี’ เป็นประโยคที่กูรูด้านภาษีมักจะนำมาขึ้นต้นการบรรยาย เพื่อชี้ให้เห็นว่าการเสียภาษีเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับผู้มีเงินได้ทุกคน เมื่อเริ่มเข้าสู่ต้นปีจนถึงต้นเดือนเมษายน ผู้มีเงินได้ต่างก็ง่วนกับการรวบรวมเอกสารเพื่อวางแผนยื่นภาษี และที่สำคัญที่สุดคือการแจ้งรายการลดหย่อนต่างๆ ซึ่งเป็นสิทธิพึงได้ของผู้มีรายได้ทุกคน และจะดีกว่าไหมถ้าเราจะเริ่มทำความเข้าใจและวางแผนการลดหย่อนภาษีกันตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ที่รัฐบาลมอบให้ผู้เสียภาษีอย่างเราได้เต็มที่ ถ้าเข้าใจการวางแผนภาษีดีก็จะสามารถประหยัดภาษีและนำเงินก้อนนั้นไปลงทุนให้เงินงอกเงย เงินที่เราเหนื่อยทำงานมาทั้งปี อย่าให้กลายเป็นว่าพอยื่นภาษีแล้วหายวับไปเพียงเพราะขาดความรู้และการวางแผนภาษีเลย


เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนภาษีสองท่านมาให้ความกระจ่างในการวางแผนเพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ท่านแรกคุณนวลศิริ วรเมธาวิวัฒน์ CMO – ACCREVO และท่านที่สอง ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ CEO ITAX และผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ทั้งสองท่านจะอธิบายสิทธิการลดหย่อนภาษีแต่ละรายการอย่างละเอียด โดยเฉพาะในประเด็นที่หลายๆ คนยังไม่รู้หรืออาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพื่อให้ปีนี้และปีต่อๆ ไป เราจะมีเงินเหลืออยู่กับเราเพื่อนำไปต่อยอดสร้างความมั่นคั่งได้มากขึ้น

หมวดที่  1  เรื่องส่วนตัวและครอบครัว

รายการลดหย่อน

จำนวน/บาท

อธิบายเพิ่มเติม

ส่วนตัว

60,000

รัฐให้เพราะผู้เสียภาษีแต่ละคนต้องมีภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องดูแลตัวเอง (สองปีก่อน 30,000 บาท ซึ่งใช้เรทนี้มาประมาณ 25 ปี)

คู่สมรสที่ไม่มีรายได้

60,000

บุตร

30,000

บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปวางแผนลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000 บาท (มาตราการที่รัฐกระตุ้นให้คนมีลูก) ซึ่งตรงนี้สามี ภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายสามารถ    เคลมสิทธิได้ทั้งคู่ (ซ้อนกันได้)

ค่าคลอดบุตร

60,000 /ท้อง

ซึ่งใช้ได้ตั้งแต่ฝากครรภ์จนคลอดบุตร ไม่ใช่เป็นการให้เหมาแต่เป็นการให้ตามความจริง จ่ายไปเท่าไหร่ก็เคลมได้เท่านั้นแต่ไม่เกิน 60,000 บาท

ดูแลผู้พิการ/ทุพพลภาพ

60,000

บิดา/มารดา

คนละ 30,000

บุตรคนใดคนหนึ่งเคลมได้คนเดียวเคลมซ้ำซ้อนไม่ได้ โดยพี่น้องต้องตกลงกันให้เรียบร้อยก่อนว่าใครจะใช้สิทธิ โดยมีเกณฑ์ในการางแผนลดหย่อนภาษีด้วย คือบิดา มารดาต้องอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท


หมวดที่  2  มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

รายการลดหย่อน

จำนวน/บาท

อธิบายเพิ่มเติม

ท่องเที่ยวเมืองหลัก

15,000

โดยรวมกันต้องไม่เกิน 20,000 บาท

ท่องเที่ยวเมืองรอง

20,000

ซ่อมรถที่ประสบภัยพิบัติ

30,000

สำหรับคนที่อยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติ

อุปกรณ์การศึกษาและกีฬา

15,000

หนังสือ

15,000

สินค้า OTOP

15,000

ลงทุน Startup

100,000

ซึ่งต้องได้รับการรับรองจาก สวทช.ว่าเป็น Startup และต้องมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้าน และยอดขายที่เกิดขึ้นไม่เกิน 30 ล้าน โดยปีภาษี 2562 เป็นปีสุดท้ายที่จะใช้ได้

ช้อปช่วยชาติ

15,000

บ้านหลังแรก

200,000

ดอกเบี้ยบ้าน

100,000

ค่าธรรมเนียมชำระด้วยบัตรเครดิต

เพิ่ม 1 เท่าตามที่ร้านค้าขอคิดค่าใช้จ่ายเพิ่มในการใช้บัตรเครดิตตามที่จ่ายจริง ซึ่งรัฐต้องการกระตุ้นการใช้ e-payment

หมวดที่ 3 ประกันและการลงทุน

รายการลดหย่อน

จำนวน/บาท

อธิบายเพิ่มเติม

ประกันชีวิตทั่วไปหรือเงินฝากที่มีประกันชีวิต (ประกันตลอดชีพ, ประกันแบบออมทรัพย์ และแบบชั่วระยะเวลา)

ไม่เกิน 100,000

ตามที่จ่ายจริง แต่มีเงื่อนไขว่ากรมธรรม์ต้องมีอายุการคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

รวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000

ประกันสุขภาพตัวเอง

25,000

เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป

ประกันสุขภาพพ่อแม่

15,000

โดยทั้งพ่อและแม่รวมกัน 15,000 ไม่ใช่แยกคนละหมื่นห้า และให้สิทธิกับบุตรเพียงคนเดียวไม่สามารถซื้อซ้ำซ้อนได้

ประกันสังคม

9,000

SSF พิเศษ

ไม่เกิน 200,000

เริ่มลงทุนช่วง 1 เมษายน - 30 มิถุนายน 2563 เท่านั้น และต้องถือครองอย่างน้อย 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ

SSF ปกติ

30% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000

เริ่มลงทุนภายในปี 2563-2567 และต้องถือครองอย่างน้อย 10 ปีนับจากวันที่ซื้อ

รวมแล้วต้องไม่เกิน 500,000

RMF

30% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000

ไม่มีขั้นต่ำในการลงทุน ต้องลงทุนต่อเนื่อง (เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี ติดต่อกัน) จนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข./สงเคราะห์ครู

15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 500,000

ประกันชีวิตแบบบำนาญ

15% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000

โดยต้องมีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และมีการจ่ายบำนาญตามสัญญา ในกรณีที่ไม่มีการซื้อประกันชีวิต สามารถใช้ประกันบำนาญไปเทให้เต็มเงินประกันชีวิต  100,000 แรก และซื้ออีก 2 แสน หลังมาอยู่ในส่วนประกันบำนาญ แปลว่าเราซื้อประกันบำนาญได้รวม 3 แสนบาท

กองทุนการออมแห่งชาติ

13,200

* การซื้อ SSF ปกติ, RMF, PVD, กบข.,ประกันชีวิตแบบบำนาญ, กอช. เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในแต่ละปีภาษี

เรื่องใหม่ที่หลายคนให้ความสนใจคือหลังปี 2562 ไม่มี LTF อีกแล้ว โดยจะมี Super Saving Fund เข้ามาแทน ซึ่งมี 2 รูปแบบ  SSF ปกติ และ SSF พิเศษ ซึ่งมีข้อแตกต่างกันดังนี้

หมวดที่  4  เงินบริจาค

รายการลดหย่อน

จำนวน/บาท

อธิบายเพิ่มเติม

เงินบริจาคทั่วไป

สามารถวางแผนลดหย่อนภาษีได้ตามจริง

แต่ต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน

บริจาคเพื่อการศึกษา/ โรงพยาบาลภาครัฐ / การกีฬา / การพัฒนาสังคม

สามารถวางแผลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาคจริง

แต่ต้องไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน

เงินบริจาคพรรคการเมือง

สามารถวางแผนลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่ต้องไม่เกิน 10,000

เราต้องวางแผนภาษีแต่เนิ่นๆ เพื่อให้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เต็มที่ ถ้าเป็นไปได้สามารถแจ้งนายจ้างตั้งแต่ต้นปีว่าเรามีรายการลดหย่อนภาษีอะไรบ้าง จะได้ถูกหักภาษีในแต่ละเดือนน้อยลง ทำให้เรามีกระแสเงินสดอยู่ในมือมากขึ้นที่จะนำไปทำให้ออกดอกออกผล

การลงทุนซื้อกองทุน RMF แบบซื้อจำนวนเท่ากันทุกเดือนหรือ DCA ก็เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยในการวางแผนภาษีและสามารถแจ้งนายจ้างในการลดหย่อนภาษีล่วงหน้าได้ เราก็จะถูกหักภาษีน้อยลง ซึ่ง SCB  มีกองทุน RMF หลายหลากนโยบายให้เลือกกระจายการลงทุนและเพื่อวางแผนลดหย่อนภาษี

โดยสามารถสั่งซื้อแบบ DCA เพื่อสร้างวินัยในการลงทุนและใช้วางแผนแจ้งลดหย่อนภาษีกับนายจ้างได้ล่วงหน้าเพราะเรารู้แน่นอนว่าเราจะลงทุนในปีนั้นเป็นเงินเท่าไหร่ ท่องไว้ว่าถูกหักภาษีน้อยแล้วต้องมาจ่ายภาษีเพิ่มเติมที่หลังนั้นดีกว่าถูกหักภาษีถูกดึงเงินออกจากมือจำนวนมากตั้งแต่แรกไปทุกเดือนกว่าจะได้คืนก็อีกปีหนึ่ง แถมการขอคืนยังใช้เวลาและถูกตรวจสอบมากกว่าการจ่ายภาษีเพิ่มอีกด้วย  ใช้สิทธิของเราให้เต็มที่ ลงทุนให้ถูกวิธีเงินภาษีจะเปลี่ยนเป็นเงินที่งอกเงย