4 โรคร้ายทำลายสุขภาพคนไทย

โรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ ไม่มีใครรู้ได้ว่าเมื่อเวลาผ่านไปสุขภาพของเราจะยังสมบูรณ์ แข็งแรงเหมือนเดิมหรือไม่ หลายคนคงเคยได้ยินคนใกล้ชิดพูดบ่อย ๆ ถึงอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว บางครั้งโรคต่าง ๆ ได้แฝงตัวอยู่ในร่างกายของเราโดยไม่แสดงอาการใด ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไปโรคที่ซ่อนอยู่กลับเผยตัวออกมาด้วยอาการที่รุนแรง และยากต่อการรักษา เป็นสาเหตุให้เสียชีวิต หรือต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และเสียค่ารักษาพยาบาลไปมากมาย ดังนั้น ลองมาดูกันว่าในปี 2564 ที่ผ่านมา นอกจากโรค Covid-19 แล้ว คนไทยต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยด้วยโรคอะไรกันบ้าง


โรคมะเร็ง


ครองอันดับ 1 ปัญหาสุขภาพคนไทยมาหลายปีติดต่อกัน และมีแนวโน้มสร้างสถิติผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นทุกปี สาเหตุของโรคมะเร็งนั้นเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหาร ความเครียด ฯ เป็นต้น โดย 5 อันดับมะเร็งที่พบมากที่สุดในไทย คือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี, มะเร็งเต้านม, มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ โรคมะเร็งยังทำให้คนไทยเสียชีวิตสูงถึง 230 คน/วัน รวม 84,073 คน/ปี และยังสร้างภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากมาย* เช่น ค่ารังสีรักษา 110,000-197,000 บาท ค่าเคมีบำบัด 50,000-100,000 บาท ค่ารักษาแบบพุ่งเป้า ตั้งแต่ 50,000-300,000 บาท/เดือน หรือประมาณ 1 ล้านบาท ภายใน 3 เดือน * โดยอัตราค่าใช้จ่ายนี้เป็นค่ารักษาพยาบาลที่อ้างอิงจากโรงพยาบาลรัฐ หากเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนอัตราค่ารักษาพยาบาลอาจพุ่งสูงขึ้นอีก 30-40% เลยทีเดียว


โรคหลอดเลือดหัวใจ


ภัยใกล้ตัวที่คร่าชีวิตคนไทยติดอันดับ 1 ใน 3 ของประเทศ เกิดจากภาวะเส้นเลือดแดงที่นำเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจตีบหรืออุดตันจากไขมัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด ส่งผลให้หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว โดยสาเหตุของโรคเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง/คืนเป็นประจำ อีกหนึ่งสาเหตุที่เป็นตัวเร่งให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคอ้วน สำหรับในปีที่ผ่านมาคนไทยป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจสูงถึง 430,000 คน/ปี และเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจเฉลี่ย 7 คน/ชม. รวม 58,681 คน/ปี และสามารถพบโรคนี้ได้ทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะผู้ชายที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลนั้น มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงในการรักษา ไม่ว่าจะเป็น การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวด** ซึ่งมีราคาประมาณ 43,000–275,000 บาท การทำบอลลูนหัวใจราคาตั้งแต่ 76,000–139,000 บาท การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจราคา 124,000-503,000 บาท การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจราคา 18,000–436,000 บาท เป็นต้น

thai-people-4-serious-diseases-01

โรคหลอดเลือดสมอง


อีกหนึ่งโรคร้ายแรงที่แสดงสัญญาณเตือนชัดเจน คือ ใบหน้าชา ปากเบี้ยว มุมปากตก ตามัวเห็นภาพซ้อน แขนหรือขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด หากเกิดอาการดังกล่าว ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันทีภายใน 4 ชั่วโมง เพราะร่างกายกำลังฟ้องว่าอาจเกิดภาวะหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ทำให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย ส่งผลให้การทำงานของสมองชะงัก สำหรับประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ประมาณ 60,000 คน/ปี และมีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้น 1 ราย ทุก 2 นาที หรือประมาณ 300,000 คน/ปี และ 30% ของผู้ป่วยโรคนี้มักมีผลการรักษาที่ไม่ดีหรือถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด สำหรับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของโรคนี้นั้นอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง เริ่มต้นที่ 350,000 บาท


โรคเบาหวาน


สำหรับโรคนี้ถือเป็นโรคเรื้อรัง ที่เกิดจากผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ร่างกายไม่สามารถน้ำตาลไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้อวัยวะในร่างกายเสื่อมลง และเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ มากมาย โดยผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป มีคนในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ จัดว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงอาจป่วยด้วยโรคนี้ได้ ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาคนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวานถึง 5 ล้านคน และมีอัตราเพิ่มขึ้นประมาณ 100,000 คน/ปี นอกจากนี้ คนไทยยังเสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 200 คน/วัน และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2583 ผู้ป่วยเบาหวานจะเพิ่มสูงถึง 5.3 ล้านคน สำหรับค่าใช้จ่ายในการักษาพยาบาล โดยประมาณจะอยู่ที่ 28,200 บาท/คน/ปี


การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องใส่ใจและให้ความสำคัญ นอกจากการดูแลเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย และการพักผ่อนให้เพียงพอแล้ว การวางแผนทำประกันสุขภาพ เพื่อเตรียมรับมือกับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย ก็จะช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลไปได้ไม่มากก็น้อย สำหรับใครที่มองหาประกันสุขภาพที่ช่วยคุ้มครองทั้งครอบครัว ดูแลสุขภาพครอบคลุมทั้ง OPD IPD การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง แถมยังดูแลเรื่องการทำฟัน ตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีน สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

ข้อมูลอ้างอิง

*ข้อมูลจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
*ข่าวประชาสัมพันธ์สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
**ข้อมูลจากสถาบันโรคทรวงอก
https://www.chulacancer.net/services-list-page.php?id=514
https://www.thaipost.net/main/detail/118253
https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/162267
https://www.bangkokbiznews.com/social/976618
https://www.brh.go.th/index.php/2019-02-27-04-12-21/58-10
https://ifwd.fwd.co.th/blog/cancer-cost/
https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc
https://www.nhso.go.th/news/3364
https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG210920144251097