ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
24-04-2568
ในวันที่เราได้เสียชีวิตไปแล้ว สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดกับทายาทที่เราห่วงใยหรือเกิดกับทรัพย์สินที่เราเก็บสะสมมาทั้งชีวิตล้วนเป็นสิ่งที่เราจัดการหรือแก้ไขอะไรไม่ได้อีกแล้ว หากวันนั้นมาถึงบุคคลที่สำคัญและจะมีบทบาทที่เราจะฝากความหวังไว้ให้ช่วยจัดการให้เป็นไปอย่างที่เราตั้งใจไว้ได้ก็คือ “ผู้จัดการมรดก” บางท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าหน้าที่ของบุคคลที่สำคัญนี้ทำอะไรได้บ้าง และทำไมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องไตร่ตรองให้ดีในการตั้งผู้จัดการมรดก เรามาติดตามกันในบทความนี้นะครับ
ใครคือผู้จัดการมรดก ?
ผู้จัดการมรดกจะถูกตั้งโดยคำสั่งศาล ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่มีพินัยกรรมหรือไม่ก็ตาม
หน้าที่หลักของผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย
เมื่อการตั้งผู้จัดการมรดกมีบทบาทสำคัญทั้งที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินเจ้ามรดกและทายาทของเจ้ามรดก ผมขอแนะนำทุกท่านคิดพิจารณาดังนี้
คำแนะนำในการตั้งผู้จัดการมรดก
ระบุชื่อผู้จัดการมรดกในพินัยกรรม
หากเจ้ามรดกมีบุคคลที่ตัวเองไว้ใจและต้องการให้เป็นผู้จัดการมรดกก็ควรพิจารณาระบุชื่อบุคคลนั้นในพินัยกรรมเพื่อลดความกังวลใจว่าทายาทจะต้องมาพิจารณาเลือกผู้จัดการมรดกกันเอง ซึ่งก็อาจก่อให้เกิดความความขัดแย้งกันระหว่างทายาท จนนำไปสู่ความไม่ราบรื่นหรืออาจเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้มีความบาดหมางใจกันจนส่งผลต่อการจัดการมรดก
พิจารณาตั้งผู้จัดการมรดกหลายคน
เจ้ามรดกอาจจะพิจารณากำหนดจำนวนผู้จัดการมรดกที่มากกว่า 1 คน โดยกำหนดให้ทำร่วมกันโดยมีข้อกำหนดที่ไม่สามารถให้แยกกันทำได้ อีกทั้งยังกำหนดไว้มากกว่าหนึ่งกลุ่มรายชื่อเผื่อในกรณีที่รายชื่อกลุ่มแรกคนใดคนหนึ่งเสียชีวิต หรือปฏิเสธไม่ประสงค์รับทำหน้าที่ หรือร่างกายไม่พร้อมทำหน้าที่ได้ เจ้ามรดกก็อาจพิจารณากำหนดรายชื่อกลุ่มที่สองไว้ในพินัยกรรมเพื่อให้ดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งถ้าเป็นไปได้ผมแนะนำให้ระบุรายชื่อไว้สามกลุ่มเพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝันต่างๆ ในอนาคต
ระบุหน้าที่ของผู้จัดการมรดกให้ชัดเจน
ในกรณีที่ระบุผู้จัดการมรดกไว้หลายคนท่านก็จะต้องเขียนให้ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้จัดการมรดกเหล่านั้นทำหน้าที่จัดการมรดกอย่างไร ในกรณีที่ไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรม หน้าที่ของผู้จัดการมรดกก็จะต้องถือเอาเสียงข้างมากแทน และหากมีจำนวนเสียงที่เท่ากันก็จะต้องให้ผู้มีส่วนได้เสียไปร้องขอต่อศาลให้เป็นผู้ชี้ขาด
คุณสมบัติของผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย
ข้อมูลข้างต้นนี้เป็นข้อคิดพิจารณาเพียงบางส่วนเท่านั้น ยังมีอีกหลากหลายประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณาให้ถี่ถ้วนในขณะทำพินัยกรรมก่อนที่เราจะจากไป นอกจากเรื่องทรัพย์มรดกแล้วยังมีเรื่องการดูแลรักษาตัวเองในกรณีที่เจ็บป่วยหรืออยู่ในวาระสุดท้ายของชีวิตก่อนที่เจ้ามรดกจะจากไป ซึ่งก็มีกลไกที่ทุกท่านสามารถวางแผนจัดเตรียมไว้ล่วงหน้าได้เรียกว่า “พินัยกรรมชีวิต Living Will” ในครั้งหน้าเรามาติดตามกันนะครับว่าพินัยกรรมชีวิตมีประโยชน์อย่างไรและเกี่ยวข้องกับการส่งต่อความมั่งคั่งได้อย่างไร
บทความโดย : ดร.นิติ เนื่องจำนงค์ ผู้อำนวยการอาวุโส Wealth Planning and Family Office
ลูกค้า SCB PRIVATE BANKING ที่สนใจในเรื่องบริหารสินทรัพย์ครอบครัวเพื่อส่งต่อความมั่งคั่งจากรุ่นสู่รุ่น สามารถติดต่อ Wealth Planning and Family Office Division ของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ได้ที่อีเมล familyofficeteam@scb.co.th หรือที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุน (RM) ของท่าน