ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
วางแผนการศึกษาดี ลูกมีแต้มต่อ
ทุกลมหายใจของคนเป็นพ่อเป็นแม่ คือ ลูก แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่ย่อมอยากให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุด แต่การเลี้ยงลูกยุคนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย และใช้เงินไม่น้อย ฉะนั้นต้อง
วางแผนการเงิน
ให้รัดกุม เพื่อให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีอย่างที่ตั้งใจไว้
หนึ่งในของขวัญชิ้นสำคัญที่พ่อแม่จะมอบให้กับลูกได้ คือการศึกษา ซึ่งของขวัญชิ้นนี้ก็เป็นของขวัญชิ้นใหญ่มากเสียด้วย เพราะตลอดช่วงวัยเรียนของลูก เริ่มจากระดับอนุบาลในวัย 3 ขวบ ไปจนจบปริญญาตรี และบางคนอาจจะต่อเนื่องไปถึงจบปริญญาโทเลยทีเดียว ซึ่งถ้าได้เห็นตัวเลขตั้งแต่ระดับอนุบาล ถึงปริญญาโท พ่อแม่หลายคนอาจจะตกใจ และอาจจะอุทานว่า ‘มีลูก 1 คนจนไป 10 ปีจริงๆ’ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ต้องรีบตกใจไป เพราะเรามีตัวช่วยที่ดีมาแนะนำ นั่นคือการวางแผนการเงินที่ดี สามารถช่วยได้อย่างแน่นอน
กระบวนการวางแผนการศึกษาเพื่อลูกน้อย เริ่มต้นจาก
1. การกำหนดเป้าหมาย โดยกำหนดเป้าหมายว่าอยากให้ลูกได้เรียนหนังสือในสถานศึกษาแบบไหน โรงเรียนรัฐบาล หรือ เอกชน หรือโรงเรียนนานาชาติ และจะส่งลูกเรียนไปจนถึงระดับปริญญาตรี หรือปริญญาโทเป็นต้น
2. รวบรวมค่าใช้จ่าย เมื่อรู้แล้วว่าอยากให้ลูกได้เรียนในสถานศึกษาแบบใด สถานศึกษาแบบนั้นๆ ก็จะเป็นตัวกำหนดค่าใช้จ่าย
3. คำนึงถึงเงินเฟ้อการศึกษาด้วย เพราะอย่าลืมว่า เงินเฟ้อน่ากลัวกว่าที่คิด โดยเงินเฟ้อการศึกษาเฉลี่ยอยู่ที่ 6% ต่อปี สามารถคำนวณผลของเงินเฟ้อที่ 6% ต่อปีแบบคร่าวๆ ได้โดย ทุกๆ 12 ปี ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ยกตัวอย่างเช่น หากวันนี้มีลูก 1 คน อายุ 6 ปี ต้องการวางแผนการศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเอกชน ค่าใช้จ่ายเพื่อเรียนปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเอกชน ณ วันนี้ อยู่ที่ 192,000 – 288,000 บาท เมื่อเวลาผ่านไป 12 ปีค่าใช้จ่ายในการเรียนปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเอกชนจะกลายเป็น 384,000 – 576,000 บาท เป็นต้น
4. วางแผนการออมและการลงทุน ยิ่งรู้ไว เตรียมเงินออมและเงินลงทุนได้ไว จะยิ่งได้เปรียบ เพราะเมื่อมีระยะเวลาลงทุนที่นาน เราสามารถใช้เงินต้นที่ไม่มากในการเตรียมกองทุนเพื่อการศึกษาบุตรได้ โดยที่ไม่เป็นภาระของคุณพ่อคุณแม่เลย เช่น หากต้องการทุนการศึกษาเพื่อเรียนปริญญาตรีที่ 1 ล้านบาท และสามารถหาอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนได้ที่ 6% ต่อปี
รายละเอียด / อายุของลูกเมื่อเริ่มลงทุน | แรกเกิด | อายุ 6 ปี | อายุ 12 ปี |
ทุนการศึกษาที่ต้องการเพื่อเรียนปริญญาตรี (บาท) | 1,000,000 | 1,000,000 | 1,000,000 |
จำนวนปีที่ลงทุน | 18 | 12 | 6 |
อัตราผลตอบแทนคาดหวัง (% ต่อปี) | 6 | 6 | 6 |
ต้องเตรียมเงินลงทุนต่อปี (บาท) | 32,357 | 59,277 | 143,363 |
หรือคิดเป็นเงินลงทุนต่อเดือน (บาท) | 2,696 | 4,940 | 11,947 |
รวมเป็นเงินต้นทั้งหมดตลอดระยะเวลาการเตรียมเงิน (บาท) | 582,426 | 711,324 | 860,178 |
ดอกผลจากการลงทุน | 417,574 | 288,676 | 139,822 |
5. ปกป้องความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตผ่านการวางแผนประกันชีวิต เนื่องจากคุณพ่อคุณแม่เป็นบุคคลที่สำคัญมากที่มีส่วนทำให้ลูกมีการศึกษาที่ดีได้ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ทำให้คุณพ่อหรือคุณแม่จากไปก่อนวัยอันควร ก็อาจส่งผลให้มีเงินไม่เพียงพอที่จะส่งให้ลูกเรียนจบดังที่ตั้งใจไว้ คำแนะนำคือ ควรสร้างความคุ้มครองผ่านกรมธรรม์ประกันชีวิต ด้วยความคุ้มครองชีวิตที่มีทุนประกันเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาลูกทั้งหมด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในยามที่คุณไม่สามารถอยู่ดูแลเขาได้อีกต่อไป
กล่าวโดยสรุป ในการเตรียมกองทุนเพื่อการศึกษาบุตร การออมก่อน ลงทุนก่อน ได้เปรียบกว่า และควรลงทุนระยะยาวเพื่อให้เงินได้มีโอกาสทำงาน และลดความผันผวนจากการลงทุนได้ ที่สำคัญการลงทุนเพื่อให้ได้อัตราผลตอบแทนคาดหวัง 6% ต่อปี จำเป็นต้องลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น กองทุนรวมหุ้น เป็นต้น ดังนั้นผู้ลงทุนต้องศึกษาหาความรู้ใน การลงทุน ให้ถ่องแท้ก่อนตัดสินใจลงทุน นอกจากนี้การวางแผนประกันชีวิตที่เหมาะสมก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การเตรียมการศึกษาบุตรเป็นไปตามเป้าหมายที่เราตั้งใจไว้
บทความโดย นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ