ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
“English Fun Fun” ลูกฉันเรียนรู้อะไรจากโควิด-19 บ้าง
ประเทศไทยผจญกับสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 มาตั้งแต่ต้นปี 2020 สิ่งนี้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่การใช้ชีวิตของชาวไทยและชาวโลกอย่างพลิกฝ่ามือ แน่นอนว่าทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับเจ้าโรคนี้จนกว่าจะมีหนทางรักษา คำว่า New Normal หรือ ‘ชีวิตวิถีใหม่’ กลายเป็นคำที่ทุกคนรู้จักและเป็นหลักที่ต้องปฏิบัติตาม นอกจากนี้ ยังมีศัพท์เกี่ยวกับโควิด-19 อีกมากมาย ที่พวกเราได้ยินผ่านหูตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา แต่ทว่า เราเข้าใจศัพท์เหล่านั้นกันแค่ไหน
และถ้าจะหาโอกาสในวิกฤต ก็ถือเป็นจังหวะเหมาะที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้การใช้ชีวิตวิถีใหม่กับคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ได้ยินแทบทุกวัน วันนี้เราจะมาทบทวนศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับโควิด-19 โดยไล่เรียงตั้งแต่ช่วงเวลาที่เราเริ่มรู้จักมัน จนถึงปัจจุบัน ลองดูสิว่า เด็กๆ ที่บ้านรู้จักคำศัพท์เหล่านี้แล้วหรือยัง
ช่วงที่เกิดโควิด-19 ขึ้นใหม่ๆ เด็กๆ ถึงกับถามว่า คำว่าโรคระบาด ภาษาอังกฤษคือคำไหนกันแน่ Outbreak, Epidemic, หรือ Pandemic เพราะในพจนานุกรม แปลว่าโรคระบาดเหมือนกัน ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ Outbreak ใช้กับการระบาดที่เพิ่มขึ้นมากอย่างผิดปกติ อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยไม่ได้คาดการณ์ว่าจะระบาดหนักขนาดนี้ และเมื่อโรคระบาดกระจายไปสู่พื้นที่อื่นในวงกว้าง ก็จะถูกเรียกว่า Epidemic ส่วน Pandemic เป็นการระบาดที่กระจายไปทั่วโลก ซึ่ง WHO ได้ประกาศยกระดับว่าโควิด-19 เป็น “Pandemic” เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2020 (และ WHO ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เขาคือ World Health Organization นั่นเอง)
เราจะได้ยินว่า การระบาดอย่างรวดเร็วในช่วงแรกมาจากบุคคลที่ถูกเรียกว่า Super Spreader หมายถึง ผู้ที่สามารถแพร่เชื้อออกไปได้ในวงกว้าง คำนี้จึงกลายเป็น Super ในทางลบไปเสียแล้ว และนั่น ก็ทำให้ผู้คนตระหนักถึงการป้องกันตัวเองมากขึ้น มีมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมเกิดขึ้น หรือ Social Distancing ผนึกกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันตัวที่แทบทุกคนขาดไม่ได้อย่างหน้ากากอนามัย Medical Mask และแอลกอฮอล์เจลหรือสเปรย์ ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกว่า Hand Sanitizer ส่วนคุณหมอและผู้มีอาชีพเสี่ยงต่อการติดโรคก็ต้องสวมชุด PPE (ว่าแต่เด็กๆ รู้หรือยังว่า PPE ย่อมาจาก Personal Protective Equipment หรือชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลนั่นเอง)
เมื่อการระบาดแพร่กระจายหนัก เราต่างได้ยินคำว่า Quarantine หรือการกักตัวเพื่อเฝ้าสังเกตอาการ คำนี้ได้ยินบ่อยจนไม่ใช่คำยากสำหรับเด็กอีกต่อไป แต่ที่ยังไม่เข้าใจชัดเจนก็เพราะ Quarantine ก็มีหลายประเภทเหลือเกิน วันนี้เรามาทำความเข้าใจกัน คำว่า Home Quarantine หมายถึงการกักตัวที่บ้าน เช่น เราทราบภายหลังว่าเราไปอยู่ในบริเวรเดียวกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 เราก็ควรกักตัวที่บ้านเพื่อดูว่ามีอาการของโรคเกิดขึ้นกับเราหรือไม่ คำว่า State Quarantine หมายถึง การกักกันโรคที่ศูนย์ควบคุมโรค หรือในที่ที่รัฐกำหนด ตัวอย่างเช่น ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เมื่อมาถึงเมืองไทยต้องเข้า State Quarantine เป็นเวลา 14 วัน เมื่อครบกำหนดและตรวจแล้วว่าไม่เป็นโรค ก็สามารถออกไปใช้ชีวิตในที่ต่างๆ ได้ ส่วนคำว่า Local Quarantine หมายถึงการกักกันโรคในท้องถิ่น ซึ่งมีผู้นำแต่ละที่กำหนดนโยบาย เช่น แต่ละจังหวัดตั้งศูนย์กักกันโรคขึ้นเพื่อรับกลุ่มเสี่ยงไว้สังเกตอาการ ส่วนคำศัพท์เกี่ยวกับการตรวจหาเชื้อที่เราได้ยินบ่อยๆ คือ Swab หรือการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งโดยใช้ไม้ด้ามยาวพันสำลีสอดเข้าไปในโพรงจมูก แล้วนำสารคัดหลั่งไปตรวจหาเชื้อ นอกจากนี้ยังมีการตรวจด้วยชุดเครื่องมือที่เรียกว่า Rapid Test (Rapid เร็ว + Test ตรวจ) เป็นการตรวจที่จะทราบผลภายใน 10-30 นาที แต่ผลตรวจที่ได้จะยังไม่แน่นอนร้อยเปอร์เซ็น ต้องตรวจซ้ำด้วยวิธีที่แม่นยำกว่าต่อไป แต่ Rapid Test มีข้อดีตรงที่เป็นเครื่องมือสำหรับตรวจคัดกรองเบื้องต้น ใช้ประเมินความหนาแน่นของการติดเชื้อในชุมชน ซึ่งเมื่อผู้ถูกตรวจทราบผลเบื้องต้น จะได้วางแผนการรักษาหรือการดูแลตัวเองต่อไป
เด็กๆ อาจเข้าใจผิดกับการเรียกผลตรวจ กล่าวคือ ‘ผลบวก’ จากการตรวจหาเชื้อ ไม่ได้หมายถึงผลดี แต่ผล Positive ในที่นี้ หมายถึง ‘ติดเชื้อ’ ส่วน ‘ผลลบ’ ไม่ได้แปลว่าแง่ร้าย ผล Negative ในที่นี้หมายถึง ‘ไม่ติดเชื้อ’ ถ้าเด็กๆ เข้าใจก็จะไม่สับสนเมื่อรับข่าวสารจากช่องทางต่างๆ
มาถึงศัพท์กลุ่มสุดท้ายของวันนี้ คำว่า Vaccine วัคซีนคือ เชื้อที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งเกิดจากเชื้อนั้นๆ พวกเราต้องให้ความรู้แก่เด็กๆ ด้วยว่า Covid-19 Vaccination หรือการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ไม่ได้ช่วยให้ไม่ติดโรค แต่จะช่วยป้องกันการเสียชีวิตได้มากกว่าการไม่ฉีด และประโยคภาษาอังกฤษที่จะบอกว่า ‘ฉันฉีดวัคซีนแล้ว’ ก็คือ I got vaccinated.
ภายใต้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับโควิด-19 ที่เด็กๆ คุ้นหู แฝงไปด้วยข้อเท็จจริงและความรู้สำคัญๆ ในการใช้ชีวิตวิถีใหม่ เพียงแค่พวกเราหยิบยกมาพูดคุย พวกเขาก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจ และเท่าทันกับการดำรงอยู่ของโรคนี้
คำที่แปลว่าการระบาด/โรคระบาด
Outbreak > การระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
Epidemic > การระบาดในวงกว้าง ข้ามเขตข้ามภูมิภาค
Pandemic > การระบาดไปทั่วโลก
Quarantine แบบต่างๆ
Home Quarantine > กักตัวที่บ้าน
State Quarantine > กักกันโรคในศูนย์ควบคุมโรคหรือที่ที่รัฐกำหนด
Local Quarantine > การกักกันโรคในท้องถิ่น
อุปกรณ์การป้องกันโรค
Medical Mask > หน้ากากอนามัย
Hand Sanitizer > เจลหรือสเปรย์ทำความสะอาดมือ
PPE (Personal Protective Equipment) > ชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
ผลการตรวจ
+ Positive = ติดเชื้อ
- Negative = ไม่ติดเชื้อ