ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
สัญญาณเตือนภัย! โรคอัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์ หนึ่งในโรคที่เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานโครงสร้างเนื้อเยื่อในสมอง ความเสื่อมของเซลล์ประสาทในสมอง เซลล์ในสมองตายหรือไม่ทำงาน ทำให้สมองส่วนที่เหลือทำงานได้ไม่เต็มที่ มักพบในผู้สูงอายุร้อยละ 60-80 ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทั้งหมด ที่น่ากลัวคือโรคนี้ไม่สามารถป้องกันหรือรักษาให้หายได้และถ้าหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาจะเกิดภาวะสมองเสื่อมรุนแรงจนในที่สุดผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ ไม่สามารถแยกแยะถูกผิดและในระยะสุดท้ายจะสูญเสียความทรงจำทั้งหมด แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ามีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์ลองมาทำความรู้จักกับโรคและสัญญาณเตือนความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์กัน
อะไรคือปัจจัยเสี่ยง
ระยะของโรคอัลไซเมอร์
อาการของโรคอัลไซเมอร์จะกินเวลานานหลายปี และแสดงอาการตามระยะเสื่อมของสมอง 3 ระยะ ดังนี้
ระยะแรก
มีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ เริ่มขี้หลงขี้ลืม ลืมเรื่องที่เพิ่งพูดไปหรือลืมเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้น ชอบถามเรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ พูดซ้ำๆ ย้ำคิดย้ำทำ เครียดง่าย อารมณ์เสียง่ายและซึมเศร้า สับสนทิศทาง ตื่นตกใจง่าย ไม่สามารถตัดสินใจเรื่องง่ายๆ ได้ มีความวิตกกังวลมาก แต่ยังสามารถสื่อสารและดูแลตัวเองในการทำกิจวัตรประจำวันได้ ระยะนี้คนรอบข้างอาจจะไม่ทันสังเกตเห็น แต่เมื่อเกิดพฤติกรรมที่ผิดปกติของผู้ป่วยบ่อยๆ เข้าก็จะทำให้รู้ได้ว่ามีความผิดปกติ ซึ่งระยะแรกคนในครอบครัวยังสามารถดูแลผู้ป่วยได้
ระยะกลาง
ในระยะนี้สามารถสังเกตอาการของผู้ป่วยได้ชัดเจนมากขึ้น ผู้ป่วยจะมีความจำแย่ลงไปอีก มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิมจากที่เป็นคนใจดีกับฉุนเฉียวโมโหง่าย ปกติพูดจาเพราะกลับพูดจากหยาบคาย แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวออกมา หรืออยู่ดีๆก็เดินออกจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย และเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันทั้งที่แต่ก่อนเคยทำได้ เช่น ใช้โทรศัพท์มือถือหรือรีโมททีวีไม่เป็น ใส่เสื้อกางเกงเข็มขัดไม่ได้ คิดอะไรที่ไม่ถูกทำนองครองธรรมหรือผิดศีลธรรม ไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง เช่น คิดว่าภรรยามีชู้ คิดว่ามีขโมยเข้ามาในบ้าน คิดว่ามีการยักยอกเงินของคนในครอบครัว คิดว่าของมีค่าในบ้านหายหรือมีคนจะมาฆ่า รวมถึงอาจมีอาการสับสน ลืมวันเวลา นอนไม่หลับ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอาการที่ยากต่อการดูแลและการเข้าสังคม ผู้ดูแลผู้ป่วยจะต้องฝึกทำใจและยอมรับกับความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นและควรเก็บสิ่งของมีคม อาวุธ หรือสิ่งอื่นใดที่ผู้ป่วยสามารถนำมาใช้ในการทำร้ายผู้อื่นได้ และไม่ควรปล่อยผู้ป่วยให้อยู่บ้านตามลำพัง หากมีความจำเป็นควรล็อคประตูหน้าบ้านไว้ไม่ให้ออกจากบ้านไปได้
ระยะสุดท้าย
ในระยะสุดท้ายอาการของผู้ป่วยจะแย่ลง ผู้ป่วยจะเกิดภาพหลอนบอกว่าเห็นสิ่งต่างๆ เช่น มีน้ำท่วมบ้าน มีคนเข้ามาในบ้าน มีการเรียกร้องความสนใจ หรือก้าวร้าวขึ้น มักมีอาการทางกาย เช่น เคี้ยวอาหารและกลืนอาหารได้ลำบาก เคลื่อนไหวช้าลง หรือไม่สามารถเดินเองได้ ปัสสาวะหรืออุจจาระเล็ดเนื่องจากกลั้นไม่อยู่และสูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน ต้องพึ่งพาผู้อื่นในเรื่องง่ายๆ เช่น ป้อนข้าว อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้า เป็นต้น รวมทั้งมีการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง ทานอาหารได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สมองเสื่อมเป็นวงกว้าง ไม่พูดจา ภูมิคุ้มกันอ่อนแอจนนำไปสู่การติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด โดยระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่ระยะแรกจนเสียชีวิตเฉลี่ยประมาณ 8-10 ปี ระยะสุดท้ายนี้ผู้ดูแลต้องอาศัยความอดทนและดูแลทุกฝีก้าวอย่างใกล้ชิดไม่สามารถปล่อยผู้ป่วยให้อยู่ตามลำพังได้ ทำให้ต้องมีการจ้างพยาบาลหรือส่งไปยังสถานรับดูแลผู้ป่วย
สัญญาณเตือนว่าคุณอาจเป็นอัลไซเมอร์
สัญญาณเตือนเริ่มแรกของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ คือ การสูญเสียความจำในระยะสั้น ซึ่งใกล้เคียงกับอาการความจำเสื่อมของผู้สูงอายุตามธรรมชาติ แต่ผู้ป่วยร้อยละ 80-90 เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งจะมีอาการทางจิตเวชหรือทางพฤติกรรมร่วมด้วย โดยมีสัญญาณเตือนว่าคุณอาจเป็นโรคอัลไซเมอร์ ดังนี้
หากพบสัญญาณเตือนข้อใดข้อหนึ่ง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่แรกเริ่ม และรับการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด รวมถึงสามารถวางแผนอนาคตให้ตัวเองได้
วิธีชะลอการเกิดอัลไซเมอร์
วิธีการวินิจฉัยโรค
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถตรวจสมองด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) สามารถมองเห็นสภาพทางสมองหรือภาวะสมองเสื่อมเพื่อตรวจหาความผิดปกติในเนื้อสมอง ในเซลล์สมอง การสะสมของโปรตีนในผนังหลอดเลือดในสมอง การสูญเสียของการเชื่อมต่อกันของเซลล์ประสาท สิ่งเหล่านี้ทำให้สารสื่อประสาทลดลงในส่วนต่างๆ ของสมองซึ่งทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อมได้
วิธีการรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ มีเพียงการรักษาให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยใช้ยายับยั้งสารอะเซตีลโคลีนเอสเทอเรส (Acetylcholinesterase) เพื่อลดการทำลายสารความจำในสมอง
สำหรับคนในครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ต้องช่วยกันทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าวให้ดี เมื่อผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนเดิมจะได้ตั้งรับได้ทันและไม่ควรใช้อารมณ์กับผู้ป่วยต้องใจเย็นอดทนในการอธิบายเรื่องราวต่างๆ หรือไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่มั่นใจหงุดหงิด ในบางรายที่มีอาการหลอนอาจต้องใช้เทคนิคในการหลอกล่อเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในบางรายที่มีอาการก้าวร้าวเอะอะโวยวาย ควรเก็บของมีคมอาวุธไม่ให้หยิบฉวยได้ง่าย ควรระวังเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ปิดวาล์วเตาแก๊สไว้เสมอ และควรจัดห้องหรือบ้านให้น่าอยู่ดูสดใสและสะดวกต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย สำหรับรายที่เริ่มดูแลยากหรือชอบหนีออกจากบ้าน ควรพาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทเพื่อขอรับยาเพื่อบรรเทาอาการ เหนือสิ่งอื่นใดการให้ความรักดูแลเอาใจใส่เห็นอกเห็นใจและใช้ความอดทนเมตตาต่อผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยประคับประคองผู้ป่วยอัลไซเมอร์ให้มีความสุขไปตามสถานะภาพจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต หากคุณมีความกังวลว่าจะเจ็บป่วยโรคร้ายแบบไม่คาดฝัน สนใจทำ
ประกันเคลมคุ้มกลุ่มโรคร้าย (SCB Multi Care Multi Claims)
ช่วยปกป้องความเสี่ยงให้กับตัวเอง ดูรายละเอียดได้ที่นี่
https://www.scb.co.th/th/personal-banking/insurance/cancer-insurance/mcci.html
ข้อมูลจาก
https://www.samitivejchinatown.com/th/health-article/Alzheimer-Signs
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/september-2018/alzheimer-disease