ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
5 ข้อสำหรับ (ว่าที่) คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ มีแผนสร้างครอบครัวควรต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
ผ่านช่วงเริ่มทำงานใหม่ๆ มาสักพัก อะไรๆ ก็เริ่มเข้าร่องเข้ารอย ชีวิตกำลังสนุกกับการทำงานและอิสระ เผลอแป๊บเดียวเราถึง “สามเสน” แล้ว...สถานีต่อไป “หลักสี่” คู่รักและว่าที่คุณพ่อคุณแม่ ที่กำลังวางแผนจะแต่งงาน ซื้อบ้าน สร้างครอบครัว นึกถึงค่าใช้จ่ายก้อนโตแล้วเอามือทาบอกอุทานกับตัวเองแทบไม่ทัน แบบนี้เราต้องเก็บเงินเท่าไหร่กันนะ ถึงจะเรียกว่าพอ ค่าใช้จ่ายขณะตั้งครรภ์ การคลอดลูก ก็ต้องเตรียมเงินสำรองเป็นหลายหมื่นถึงหลักแสนแล้ว แต่เทียบกันแล้วอาจเบาๆ ไปเลยสำหรับเงินสำรองที่ต้องเตรียมไว้เพื่อเป็นค่าเล่าเรียนของลูก อย่างน้อยก็เดือนละหลักหมื่น ปีหนึ่งรวมๆ กันได้หลายแสนกับค่าใช้จ่ายทุกอย่าง เรียกว่าหาเงินได้เท่าไหร่ก็ต้องเก็บให้เต็มที่เลย...แต่จริงๆ แล้วมีอะไรนอกจากนั้นอีกมั้ยที่ควรต้องนึกถึง
ไม่ต้องกังวัลไป เพราะวันนี้เราได้สรุปมาให้ (ว่าที่) คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ตรงนี้แล้ว
5 ข้อ วิธีการวางแผนการเงินให้ดี ก่อนจะมีลูก ดังนี้
1. ค่าใช้จ่ายปัจจุบันและหนี้สินต่างๆ ที่มีอยู่
สิ่งแรกที่ควรเริ่มทันที คือการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายอย่างละเอียด ลดหรือตัดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยต่างๆ รวมถึงงดสร้างหนี้ที่ไม่จำเป็น การทำบัญชีสม่ำเสมอจะทำให้เราเห็นอย่างชัดเจนว่าค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ต่อสัปดาห์ ต่อเดือน หรือต่อปี มีตรงส่วนไหนที่สามารถประหยัดได้บ้าง เพื่อให้เก็บเงินไปเสริมแผนส่วนถัดๆ ไปได้มากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในอนาคต ไม่เผลอไปซื้อของเกินความจำเป็น หรือสร้างหนี้ใหม่ๆ ที่อาจเป็นภาระก้อนโตในอนาคตอีกด้วย
2. เตรียมศึกษาข้อมูลและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีลูก
คำนวณค่าใช้จ่ายของลูกจนกระทั่งเรียนจบและวางแผนออมเงินเพื่อการศึกษาในแต่ระดับการศึกษา อย่างเช่น ลูกหนึ่งคนจะต้องมีค่าเลี้ยงดู ค่าเทอม ค่ากิจกรรมต่างๆ ของลูกอยู่ที่เดือนละ 20,000 บาทและลูกจะเรียนจบทำงานได้เมื่ออายุประมาณ 22 ปี นั่นหมายความว่าต้องใช้เงินปีละ 240,000 บาท รวมทั้งหมด 5,300,000 บาท (โดยประมาณและยังไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อ) เห็นตัวเลขแบบนี้แล้วว่าที่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรเก็บเงินร่วมกันให้ได้ที่เดือนละ 20,000-30,000 บาท เพราะอาจต้องเผื่อค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่นอกเหนือสิ่งที่ประเมินไว้อีกด้วย
3. เก็บเงินระยะสั้น ด้วยบัญชีสำหรับ “ลูก” ไม่ให้ปะปนกับอย่างอื่น
เตรียมเปิดบัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง ประเภทเน้นฝากโดยไม่ถอน หรือแยกบัญชีที่มีอยู่แล้วสำหรับเก็บเงินเพื่อ “ลูก” ในบัญชีที่ถูกแยกออกมาอย่างชัดเจน จะได้ไม่ปะปนและสับสนกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกิดขึ้น และยังช่วยป้องกันไม่ให้ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ไป “ยืมเงิน” จากบัญชีนี้มาโดยไม่รู้ตัว โดยอาจแบ่งแผนการออมเงินในส่วนนี้ให้เป็นการเก็บออมระยะสั้น ส่วนแบ่งที่กำหนดไว้ชัดเจนที่มาจากรายได้ จะเป็นเงินเดือนหรือรายได้ประจำแล้วแต่เหมาะสม เน้นความสม่ำเสมอเท่าๆ กันทุกเดือน หรือตั้งโอนเป็นอัตโนมัติไปเลยจะได้ไม่ลืม
4. เก็บเงินระยะยาว ด้วยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
เก็บเงินออมระยะยาวให้ได้ประโยชน์ และมีความเสี่ยงให้น้อยที่สุด อาจไม่ใช่การเก็บแบบลงทุนในกองทุน แต่เป็นการซื้อประกันชีวิตประเภทสะสมทรัพย์อย่าง Easy E-Save 10/5 เพื่อเป็นทุนการศึกษาหรือค่าใช้จ่ายเมื่อลูกโต โดยสามารถวางแผนการชำระเบี้ยฯ เป็นรายปี หรือ รายเดือนอย่างสม่ำเสมอตามความเหมาะสมของว่าที่คุณพ่อคุณแม่ โดยประกันชีวิตประเภทนี้มีประโยชน์มากกว่าแค่ช่วยให้ว่าที่คุณพ่อหรือว่าที่คุณแม่ออมเงินระยะยาวได้อย่างมีวินัยแบบไม่ลืม ทั้งยังมาพร้อมกับความคุ้มครองชีวิตและมีเงินคืนทุกปี รวมถึงเงินก้อนเมื่อครบกำหนดสัญญา 350% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย แถมยังชำระเบี้ยฯ สั้น 5 ปี คุ้มครองนานถึง 10 ปี และสามารถนำเบี้ยฯ ที่ชำระในแต่ละปีไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย (เป็นไปตามประกาศของกรมสรรพากร) โดยสามารถดูรายละเอียดประกันสะสมทรัพย์ อีซี่ อี-เซฟ 10/5 (EASY E-Save 10/5) ได้ด้วยตัวเองเพิ่มเติมเลย คลิก!
5. วางแผนเก็บเงินสำหรับการเกษียณอายุไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ
ก่อนที่จะมีลูก ค่าใช้จ่ายจำเป็นอาจจะยังไม่เยอะมาก ทำให้เราสามารถลงทุนในอนาคต (เงินเก็บหรือเงินใช้หลังเกษียณอายุ) ได้เยอะกว่าตอนที่มีลูกแล้ว จึงขอแนะนำให้ว่าที่คุณพ่อและคุณแม่วางแผนเก็บเงินสำหรับชีวิตส่วนนี้ด้วย แน่นอนว่าพอมีลูกแล้ว ค่าใช้จ่ายสำคัญในทุกๆ วัน เพื่อเป็นการเลี้ยงดูลูกได้อย่างดีคงต้องมาก่อน แต่การเริ่มเก็บเงินสำหรับบั้นปลายชีวิตตั้งแต่เนิ่นๆ จะสามารถทำให้เราสะสมเงินก้อนเพื่อไปทำงานให้เรา ออมทรัพย์แล้วได้ผลตอบแทนอย่างต่อเนื่อง หรือเป็นการลงทุนในสิ่งที่กำลังเติบโต สามารถเพิ่มมูลค่าทวีคูณได้ในอนาคต ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มศึกษาหาแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมในทั้งด้านผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เหมาะสมสำหรับตนเองอย่างละเอียด
ทั้งหมดนี้ คงช่วยให้ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ได้คิดถึงแนวทางการวางแผนการเงินอย่างละเอียดมากขึ้น สุดท้ายขอฝากอีกข้อให้ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ได้คิดถึง ในสถานการณ์แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ที่เกิดสิ่งไม่คาดคิดได้ตลอด เช่น โควิดที่ใครจะทันคิดว่าโควิดจะเข้ามาเปลี่ยนโลกนี้ให้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เห็นได้ชัดว่า เรื่องของการมีเงินสำรองเอาไว้เป็นสิ่งสำคัญมากและในอนาคตที่ยังมาไม่ถึงนี้ การเตรียมพร้อมรับมือด้วยแผนการเก็บเงิน เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม และถ้ายิ่งเป็นการเก็บเงินที่มาพร้อมความคุ้มครองชีวิตก็จะยิ่งช่วยสร้างความอุ่นใจในชีวิตได้มากขึ้นไปอีก
*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง