ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เตรียมใจล่วงหน้า เที่ยวต่างแดนครั้งใหม่ต้องพบอะไรบ้าง?
ในภาวะที่ทั่วโลกกำลังเผชิญโรคระบาด แม้ว่าการเดินทางถูกจำกัดขอบเขตแค่ในประเทศ แต่หัวใจของใครหลายคนคงโบยบินล่วงหน้าไปเกาะตามยอดซากุระ หรือบนภูเขาหิมะต่างแดนกันแล้ว
รู้หรือไม่ว่า ถึงจะมีวัคซีนป้องกันโรค แต่เมื่อทุกประเทศเปิดประตูรับการเดินทางครั้งใหม่ ยังมีความเปลี่ยนแปลงมหาศาลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ก่อนเก็บกระเป๋า อย่าลืมสำรวจข้อมูลและเตรียมใจพบสิ่งเหล่านี้เอาไว้
มนุษย์วัคซีนได้ไปต่อ
เมื่อพรมแดนแต่ละประเทศเปิดกว้างขึ้นอีกครั้ง ข้อกำหนดหนึ่งที่ทุกคนต้องพบเจอแน่นอนคือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยแต่ละประเทศมีรายละเอียดข้อกำหนดแตกต่างกันไป หากเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ กรณีคล้ายกับการเดินทางไปยังแอฟริกาและอเมริกาใต้ที่มีข้อบังคับให้ฉีดวัคซีนไข้เหลือง พร้อมแสดงหนังสือปกเหลืองที่อยู่ภายใต้มาตรฐานนขององค์การอนามัยโลก อีกอย่างที่ยังต้องใช้เป็นหลักฐานคู่กันคือ ผลตรวจสุขภาพว่าปลอดจากโควิด-19 ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง เป็นข้อบังคับที่เกือบทุกประเทศยังต้องการจากนักท่องเที่ยว
วัคซีนพาสปอร์ต
หนังสือรับรองท่องโลก
เมื่อฉีดวัคซีนแล้ว นักท่องเที่ยวอาจมั่นใจว่าตนเองมีภูมิคุ้มกัน แต่สิ่งสำคัญมากกว่าคือการมีหลักฐานเป็นเครื่องยืนยันให้ฝ่าด่านเข้าเมืองไปได้ โดยแต่ละประเทศในแต่ละภูมิภาคเริ่มมองกฎเกณฑ์การเดินทางร่วมกันไว้แล้ว โดยยังคงยึดมาตรฐานเรื่องความปลอดภัยด้านสุขภาพไว้ หนึ่งในแนวคิดสำคัญคือ “วัคซีนพาสปอร์ต” ที่เราจะต้องแสดงหลักฐานคู่หลักฐานการเข้าเมืองอื่นๆ เรียกว่าจะต้องมีผลรับรองการฉีดวัคซีนตามที่ประเทศปลายทางกำหนดไว้ด้วย
ย่อทุกความจำเป็นลงหน้าจอมือถือ
เมื่อแนวคิดวัคซีนพาสปอร์ตเกิดขึ้นมาแล้ว เรื่องที่มาคู่กันคือ
“ดิจิทัล เฮลธ์ พาสปอร์ต”
หรือมาในรูปแบบของแอปพลิเคชัน มีหน่วยงานที่ทดลองใช้ระบบแล้ว อาทิ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ที่พัฒนา "ไออาต้า ทราเวล พาส” ขึ้นมาทำหน้าที่เป็นดิจิทัล พาสปอร์ต รวบรวมกฎเกณฑ์ข้อบังคับในการเดินทางของประเทศต่างๆ ให้คุณมีเช็คลิสต์ว่าทำตามครบถ้วนแล้วหรือไม่ อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกบอกเป้าหมายสถานที่ตรวจวัคซีนที่ได้รับการรับรอง และยิงตรงผลการตรวจมาเก็บไว้ในแอปพลิเคชัน ทำให้การเดินทางยุคใหม่สะดวกราบรื่นไร้รอยต่อ
ประกันสุขภาพ มีไว้อุ่นใจสองเท่า
แม้ว่าจะฉีดวัคซีนไว้เรียบร้อย แต่เพื่อความอุ่นใจสองเท่า การทำประกันสุขภาพและการประกันการเดินทาง ยังเป็นเรื่องจำเป็น เนื่องจากเป็นโรคที่คนทั้งโลกเพิ่งรู้จักได้ไม่นาน และยังมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้น การลงทุนด้วยเงินจำนวนไม่มากเพื่อซื้อกรมธรรม์สุขภาพไว้ จะทำให้เดินทางอย่างหมดกังวลมากขึ้น อีกทั้งบางประเทศ ยังมีข้อกำหนดให้ต้องแสดงหลักฐานประกันสุขภาพด้วย หากเกิดเหตุไม่คาดฝัน นักท่องเที่ยวจะมีสิทธิประโยชน์จากบริษัทประกันคอยคุ้มครอง ดูรายละเอียดประกันการเดินทาง
คลิกที่นี่
เลื่อนได้ เปลี่ยนได้ มีชัยไปกว่าครึ่ง
การเดินทางในยุคใหม่ ต้องทำใจกับความไม่แน่นอนในแผนการไว้ด้วย เพราะอยู่ดีๆ พื้นที่เป้าหมายของเราอาจจำกัดการเดินทางเพื่อควบคุมโรค ทำให้เราต้องสะดุ้งขึ้นมา ดังนั้นก่อนจะคลิกจองโรงแรมหรือสายการบิน ดูให้แน่ใจว่ามีเงื่อนไขให้เลื่อนหรือยกเลิกการเดินทางหรือไม่ ปัจจุบันผู้ให้บริการส่วนใหญ่เข้าใจในความจำเป็นเฉพาะหน้า และเปิดโอกาสให้ปรับแผนการเดินทางแบบยืดหยุ่นได้แล้ว แต่อย่าลืมตรวจสอบในรายละเอียดให้ดีอีกครั้ง รวมถึงถามข้อมูลล่วงหน้ากับโรงแรมปลายทาง เช่น บรรยากาศการรับนักท่องเที่ยว เวลาเปิด-ปิด หรือข้อกำหนดในการเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่งคนในพื้นที่จะรู้จริงมากกว่า
รู้ลึกข้อมูลสุขภาพของจุดหมายปลายทาง
สิ่งสุดท้ายที่ขาดไม่ได้อีกต่อไปในการเดินทาง นอกจากจัดทำแผนเที่ยว ปักหมุดแหล่งท่องเที่ยว แหล่งชอปปิง ร้านอาหารในฝันอย่างเพลิดเพลินแล้ว อย่าลืมตรวจสอบข้อมูลพื้นฐานไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน เช่น โรงพยาบาล ศูนย์ที่รับตรวจโควิด-19 สำหรับต่างชาติที่ใกล้กับที่พักของคุณมากที่สุด รวมถึงสถานที่ตั้ง ช่องทางติดต่อสถานฑูตหรือสถานกงสุลของไทย เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่า การระบาดจะเกิดขึ้นอีก ณ ที่ไหน ในระดับใดบ้าง
ที่มา
https://www.iata.org/en/pressroom/pr/2021-02-03-03/
https://www.thaitravelclinic.com/blog/th/travel-medicine-issue/thai-yellow-fever-vaccine-faq.html
https://www.thaitravelclinic.com/blog/th/uncategorized/thai-covid-and-travel.html