ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
รู้จักธุรกรรมการเงินไต้หวัน ใช้จ่ายสนุกสนานอย่างคนท้องถิ่น
“ไต้หวัน” ประเทศที่มีเสน่ห์ของวัฒนธรรมตะวันออกผสมผสานความทันสมัย ชวนให้ใครหลายคนเดินทางไปหา แต่นอกจากตระเตรียมเสื้อผ้า แผนที่ ข้อมูลท่องเที่ยวเต็มกระเป๋าแล้ว อย่าลืมสิ่งสำคัญอย่างเรื่องเงินๆ ทองๆ ที่ควรต้องรู้ หากต้องการเที่ยวแบบยังมีงบประมาณไว้ใช้จ่าย ไม่มีสะดุด แม้ว่าไทยจะเข้าสู่สังคมไร้เงินสดแล้ว จะซื้อหาอะไร แค่สแกนผ่านคิวอาร์โค้ดครั้งเดียวเป็นอันรู้เรื่อง ใช้ได้ตั้งแต่ห้างสรรพสินค้ายันตลาดสด
แต่ช้าก่อน! ถ้ามาไต้หวันแล้ว จงเก็บมือถือแล้วกุมบัตรเครดิตไว้ให้มั่น เพราะที่นี่การใช้เงินสด บัตรเครดิต และบัตร IC Cards (บัตรเติมเงินที่ใช้กับบริการขนส่งและซื้อสินค้า เช่น EasyCard, iPass และ iCash) ยังเป็นพี่ใหญ่เสมอ ดังนั้นจะวางแผนกันอย่างไร SCB Thailand มีคำแนะนำ
ว่าด้วยเรื่องของที่มันต้องมีอย่าง “เงินสด” ก่อน หากเตรียมแลกจากไทยก่อนเดินทางย่อมได้เปรียบกว่า เพราะอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารไต้หวันมักอยู่ในอัตราเสียเปรียบเมื่อเทียบกับธนาคารบ้านเรา พอจะมองหาจุดรับแลกเงินยิ่งยากนัก เพราะแม้ว่าจะมีธนาคารทั่วประเทศกว่า 37 ธนาคาร แต่ “ไม่เปิดให้บริการเสาร์-อาทิตย์” แล้วก็ไม่มีสาขาในห้างให้บริการสะดวกสบายเหมือนที่เมืองไทย หากมีปัญหาขัดข้องต้องแลกเงินด่วนหรือเกิดมีปัญหาทางเทคนิคระหว่างการเดินทางวันหยุด อาจต้องรอให้ถึงเวลาทำการก็นานอีกหลายวัน
หากถึงคราวต้องกดเงินสดมาใช้ เตรียมใจให้พร้อมสักนิด เพราะภาคการเงินที่นี่เมื่อเทียบกับไทยแล้วยังห่างไกลเรื่องความสะดวกสบายที่มอบให้กับลูกค้า นอกจากค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 100 บาทที่ต้องมีแน่นอนแล้ว หากต้องเผชิญหน้ากับตู้เอทีเอ็มของไต้หวัน เรามีข้อควรรู้ให้เตรียมพร้อม เริ่มตั้งแต่พิกัดที่ตั้งซึ่งน้อยมากที่จะเห็นเรียงรายให้เลือกแบบไทย แต่ไม่ต้องห่วง เดินเข้าร้านสะดวกซื้อในซอกมุมด้านหลัง มักจะมีให้บริการอยู่เสมอ
ระบบการกดเอทีเอ็มไต้หวันจะต่างกับบ้านเรา ตรงที่เน้นการยืนยันทุกขั้นตอนด้วยตัวเองด้วยการกด Enter เองทั้งหมด ขั้นตอนสำคัญช่วงท้ายคือ เมื่อทำรายการเลือกจำนวนเงินและบัญชีเสร็จแล้ว ตู้จะถามว่าเราจะทำรายการอื่นต่อหรือไม่ ถ้าหมดธุระกันแล้ว สิ่งที่จะคืนมาลำดับแรกคือบัตรเอทีเอ็ม จากนั้นจึงตามด้วยเงินสด ซึ่งจะต่างจากไทยที่เงินไหลออกมาก่อน ดังนั้นถ้ายืนรอแล้วเห็นบัตรแต่ไม่เห็นเงินก็ไม่ต้องตกใจไป
ถ้าจะเช็คยอดคงเหลือในใบบันทึกรายการจะไม่มียอดแสดงไว้ อยากรู้ว่าโดนคิดค่าธรรมเนียมและอัตราแลกเปลี่ยนกันไปเท่าไร คงต้องกลับมาซบอกแอปพลิเคชันธนาคารของเราเอาเองที่ครบเครื่องเรื่องข้อมูลมากกว่า นอกจากนั้น อัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละธนาคารยังมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละค่ายอีกด้วย
หากใครไม่อยากพกเงินสดเยอะไปไต้หวัน อีกหนึ่งทางเลือกคือ “บัตรเครดิต” ที่ปัจจุบันโรงแรมกับร้านค้าจำนวนมากรองรับการจ่ายด้วยบัตรกันอย่างแพร่หลาย และหากเทียบอัตราแลกเปลี่ยนและค่าความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนในอัตรา 2-2.5% ที่ถูกจัดเก็บภายหลัง เมื่อเทียบกับเงินสดในยุคนี้ถือว่าไม่ห่างกันมาก นับเป็นตัวเลือกที่ขาดไม่ได้ในการถือมาคู่กับเงินสด โดยเฉพาะบางครั้งธนาคารเจ้าของบัตรมีโปรโมชันกระตุ้นนักเดินทางเมื่อไร ยิ่งคุ้มค่าขึ้นไปอีก เช่นลูกค้าที่ถือบัตร “SCB JCB Platinum” มีโปรโมชันรับเครดิตเงินคืน 3%* ตั้งแต่บาทแรกเมื่อใช้จ่ายบัตรเครดิตที่ไต้หวัน รวมถึงญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ฮ่องกง และสิงคโปร์ เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศของประเทศดังกล่าว แล้วยังฟรีค่าธรรมเนียมรายปีตลอดชีพ และยอดค่าใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ทุก 25 บาท/เซลล์สลิป รับคะแนนสะสม 1 คะแนน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ -คลิก-
เรียกว่าอุ่นใจ…เงินไม่ขาดมือ และยังมีเงินคืนจากการช้อปปิงที่คุ้มค่าอีกด้วย!