ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ขายบ้านล่วงหน้า นวัตกรรมการเงินเพื่อผู้สูงอายุ
ในปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านจากสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ไปสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) หรือมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศในปี 2564 โดยในขณะนี้ไทยมีประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากถึงร้อยละ 15 หรือมากกว่า 10 ล้านคนแล้ว นอกจากนี้เรามีแนวโน้มที่จะมีอายุที่ยืนยาวมากขึ้น ทำให้เงินที่เตรียมไว้เพื่อการเกษียณอายุอาจไม่เพียงพอจนวันสุดท้ายของชีวิต
ดังนั้น ภาครัฐจึงเริ่มมีนโยบายใหม่ๆ เพื่อมาช่วยเหลือผู้สูงอายุมากขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือ Reverse Mortgage (สินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์การเงินทางเลือกใหม่สำหรับผู้สูงอายุ โดย Reverse Mortgage หรือ การจำนองแบบย้อนกลับ ที่เรียกแบบนี้เนื่องจาก ตามปกติเมื่อเรามีความต้องการซื้อบ้านและขอกู้เงินจากธนาคาร เมื่อได้รับการอนุมัติสินเชื่อ ธนาคารจะจ่ายเป็นเงินก้อนให้เราไปจ่ายค่าซื้อบ้าน และเราก็มีหน้าที่ต้องผ่อนเงินกู้นั้นเป็นรายเดือนตามแต่ระยะเวลาที่ตกลงกัน นี่คือการจำนองแบบปกติ ส่วนการจำนองแบบย้อนกลับคือ เราขายบ้านล่วงหน้าให้กับธนาคาร แต่แทนที่เราจะได้เป็นเงินก้อน เราจะได้เป็นเงินรายงวด โดยธนาคารต้องจ่ายเงินค่างวดทุกๆ เดือนให้กับเจ้าของบ้านจนกว่าเจ้าของบ้านเสียชีวิต และธนาคารก็ได้บ้านนั้นไป อาจเอาไปขายต่อให้กับทายาทหรือขายทอดตลาดก็ได้ ทั้งนี้ เจ้าของบ้านก็สามารถอยู่อาศัยในบ้านได้ เสมือนเป็นบ้านของเราเลยจนกว่าจะเสียชีวิต
Reverse Mortgage เริ่มต้นในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2531 หลังจากรัฐบาลเล็งเห็นว่ามีผู้สูงอายุจำนวนมากเป็นผู้ครอบครองที่อยู่อาศัย และเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้ให้มีเงินใช้จ่ายเลี้ยงชีพ จนกว่าจะจากโลกนี้ไป โดยนำสินทรัพย์ที่เป็นที่อยู่อาศัยไปเป็นหลักประกันเงินกู้จากสถาบันการเงิน เมื่อผู้กู้เสียชีวิตลง สถาบันการเงินจะให้สิทธิทายาทเป็นผู้ไถ่ถอนก่อนเป็นลำดับแรกหรือนำบ้านของผู้กู้ออกขายทอดตลาด หากมูลค่าบ้านที่ขายได้สูงกว่าวงเงินสินเชื่อ เงินส่วนต่างที่เหลือก็จะตกเป็นมรดกแก่ทายาทของผู้กู้ต่อไป แต่หากมูลค่าบ้านที่ขายได้ต่ำกว่าวงเงินสินเชื่อ สถาบันการเงินจะไม่ต้องแบกรับภาระมาก เนื่องจากจะมีการทำประกันส่วนต่างระหว่างมูลหนี้กับมูลค่าที่อยู่อาศัยไว้แล้ว
การทำ Reverse Mortgage นี้เหมาะกับผู้ที่ไม่มีครอบครัวใหญ่ ต้องการกระแสเงินสดในการเลี้ยงดูตนเอง และอาจไม่ได้ต้องการมอบทรัพย์สิน เช่น บ้านที่ตนอาศัยอยู่นั้นเป็นมรดกตกทอดแก่ลูกหลาน โดยเงื่อนไขของการทำ Reverse Mortgage มีดังนี้
กล่าวโดยสรุป Reverse Mortgage นับว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถช่วยเหลือผู้สูงอายุในสังคมไทย ทั้งยังสามารถตอบสนองนโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นการแปลงอสังหาริมทรัพย์ที่ตนเองสร้างมาตลอดชีวิตให้กลายเป็นเงินทุนสำหรับใช้ในยามเกษียณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยไม่ต้องขายอสังหาริมทรัพย์นั้นออกไป และเป็นการแบ่งเบาภาระของลูกหลานได้ระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทั้งกับสถาบันการเงินที่มีการให้สินเชื่อและตัวผู้กู้ เช่น
สุดท้ายเพื่อให้เกิดประโยชน์ตรงตามความต้องการอย่างแท้จริง ผู้กู้ต้องศึกษาและทำความเข้าใจผลิตภัณฑ์ให้ดีก่อนตัดสินใจทำสัญญา Reverse Mortgage และแม้ว่าจะได้รับเงินจากสินเชื่อดังกล่าวแล้ว ก็ควรต้องมีการวางแผนการเงินให้ดี ใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและพอประมาณ ไม่ก่อหนี้เพิ่มเติม เพื่อให้ปราศจากความกังวลและใช้ชีวิตบั้นปลายได้อย่างมีความสุข
บทความโดย: นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร