ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
กินเป็นแบบ Love eaten
เชื่อมั้ยว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารของคนเราสามารถเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ได้? แม้จะฟังดูเหลือเชื่อ แต่นี่สิ่งที่คุณตุ๊ก-ณภัทร ธานีวรรณ และคุณโหย่ย-อรรถพล บุญไพโรจน์ เชื่อมั่นและนำมาสู่การลงมือทำ “Love eaten” ธุรกิจ catering ที่ยึดมั่นในจุดยืนการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวลดล้อม สำหรับ Love eaten แล้ว ไม่ว่าจะเป็นกาแฟ น้ำตาล นมสด ข้าว หมู ไก่ อาหารทะเล ผัก ล้วนแต่มาจากเกษตรกรรายย่อยที่มีระบบการผลิตที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม แม้แต่ภาชนะ Love eaten ก็เลือกภาชนะที่ลดขยะพลาสติก ซึ่งหลายปีก่อนที่ Love eaten จะถือกำเนิด คุณตุ๊กและคุณโหย่ยทำงานที่สถาบันต้นกล้า คุณตุ๊กทำแคมเปญ We change รณรงค์เรื่องการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิถีชีวิตตัวเองเป็นพื้นที่สาธิตให้คนได้รู้ว่า เราอยากเปลี่ยนแปลงโลกและสามารถทำได้
“เราทำงานสิ่งแวดล้อม แต่เขาเอาโฟมมาใส่อาหารให้เรากิน แต่มันไม่ใช่ปัญหาของ catering นั้นๆ มันเป็นปัญหาของระบบของโครงสร้างสังคม ถ้าเขาไม่ใช่โฟมหรือพลาสติกเขาจะใช้อะไร เพราะมันถูกมาก และมันสะดวกในการใช้ เรารู้ว่ามันไม่ใช่ความผิดของ catering หรอก แต่เป็นความผิดของทั้งหมดแหละที่มองไม่เห็นภาพรวมว่าประเทศไทยควรเลิกใช้ได้แล้ว ไม่ได้ไปโทษ catering เขาหรอก เวลาเราลงพื้นที่เราได้กินของดีของอร่อย เรารู้ว่าของดีคืออะไร แต่ catering เขาก็ทำตามในแบบของเขาภายใต้ต้นทุนแบบนี้ มันไม่ผิดหรอก แต่เรารู้ว่ามีสิ่งที่ดีกว่า”
การทำงานพัฒนาสังคมทำให้ตุ๊กได้ไปพบกับเกษตรกร ได้ศึกษาระบบการผลิต และนี่ก็คือต้นทุนสำคัญของ Love eaten
“เราอยากหาวัตถุดิบที่รักษาสิ่งแวดล้อม มีระบบการผลิตที่ยั่งยืน เราอยากได้ข้าวอินทรีย์ข้าวออแกนิก เรามีชาวบ้านที่ขายให้เราในราคาไม่แพงนัก ไก่ หมู ปลา อาหารทะเล ผัก เราโชคดีที่เราทำงานแล้วมีซัพพลายเออร์ แต่ถามว่าทั้งหมดเราสามารถทำได้ 100 เปอร์เซ็นต์มั้ย ก็ไม่ขนาดนั้น เพราะมันมีบางอย่างที่ชาวบ้านผลิตให้ไม่ได้ในบางฤดูกาล”
บางงานลูกค้าสั่งเมนูกะหล่ำผัดน้ำปลา คุณตุ๊กกับคุณโหย่ยก็หนักใจ
“ฤดูของกะหล่ำคือหน้าหนาว แต่ลูกค้าอยากสั่งเมนูนี้ เราก็ต้องคุยกับเขา เราก็เสนอทางเลือกอื่นไป ช่วงนี้มีบวบนะ บวบผัดใส่ไข่มั้ย พูดจริงๆ เงินเราก็อยากได้ ลูกค้าก็ไม่อยากทิ้ง คอนเซ็ปต์ก็ไม่อยากเสีย แต่เอายังไงล่ะ เราต้องหากึ่งกลาง”
ช่วงเวลาของการหากึ่งกลางระหว่างจุดยืนของแบรนด์กับความต้องการของลูกค้าทำให้ Love eaten เสียลูกค้าไปมากพอสมควร ในช่วงนั้นลูกค้าไม่เข้าใจวิธีคิดของ Love eaten ก็อีแค่กะหล่ำผัดน้ำปลา ทำไมทำไม่ได้ ฝั่งทางตุ๊กและโหย่ยก็คิดว่า เมื่อลูกค้าชอบคอนเซ็ปต์ของแบรนด์ แต่ทำไมต้องการให้พวกเขาเปลี่ยนตัวตน เธอจึงต้องหาวิธีโน้มน้าวให้ลูกค้าพอใจและจุดยืนไม่ชำรุดเสียหาย เพราะการยืนยันที่จะใช้วัตถุดิบที่มีในระบบผลิตตามฤดูกาลทำให้ลูกค้าหาย
วิธีการสื่อสารและความยืดหยุ่นเป็นสิ่งจำเป็นที่ Love eaten ต้องรักษาลูกค้าและรักษาจุดยืนของแบรนด์ “เราก็เปลี่ยนมาต่อรอง พยายามนำเสนอมุมมองอื่น เช่น ในไลน์อาหาร 4-5 เมนู เขาเลือกเมนูรสจืดหมดเลย แล้วเขาอยากได้เมนูกะหล่ำผัดน้ำปลา ซึ่งก็จืดอีก เราก็นำเสนอเมนูอื่นที่คงคอนเซ็ปต์ของเรา เช่น กะเพราทะเลออร์แกนิกมั้ยคะ เล่าที่มาว่ามันมาจากไหน มาแบบไหน เขาก็เริ่มฟังเรา เริ่มเห็นด้วย แนะนำเป็นเมนูกะเพราจะได้มีเมนูที่เผ็ดขึ้นมานิดนึง เขาก็จะเริ่มเห็นด้วย ตอนหลังก็เปลี่ยนวิธี คือเราพยายามจะออกแบบเมนูร่วมกับลูกค้า
ในห้องครัวของคู่รักคู่นี้ไม่มีผงชูรส ในอาหารของ Love eaten ก็เช่นกัน พวกเขาค่อยๆ สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าที่เลือกใช้บริการของ Love eaten ลูกค้าของ Love eaten จึงเป็นคนที่ “ซื้อ” คอนเซ็ปต์ของร้าน ซึ่งทั้งสองคนเชื่อมั่นว่า โลกเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยการอยู่การกินของเรา