ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ลีนไลฟ์สไตล์ ใช้ชีวิตให้สมาร์ท ปราศจากส่วนเกิน
การมีชีวิตที่ดี ต้องประกอบด้วยการมีสุขภาพที่ดี ร่างกายที่แข็งแรง ไร้โรคภัย มีจิตใจที่สดใส การใช้ชีวิตในครอบครัวที่ลงตัว ควบคู่กับการมีอิสรภาพในการใช้ชีวิต การทำงานที่มีประสิทธิภาพ ให้ผลลัพธ์สูง ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ด้วยการบริหารทั้งชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานอย่างชาญฉลาด ให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด โดยใช้ทรัพยากรได้อย่างพอเหมาะ เป็นผลมาจากแนวคิดที่เรียกว่า “Lean” คำที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ในแวดวงคนออกกำลังกายและในแวดวงธุรกิจ
Lean แปลว่าเพรียวบาง ถ้าเปรียบเทียบกับคนก็หมายถึงคนที่มีร่างกายสมส่วน ปราศจากไขมันส่วนเกิน ว่องไว กระฉับกระเฉง ถ้ามองในมุมขององค์กรก็หมายถึงองค์กรที่ดำเนินการโดยปราศจากความสูญเปล่าในทุกกระบวนการ ในทางธุรกิจ Lean เป็นการจัดการแบบองค์รวมที่มุ่งเน้นให้เกิดความยั่งยืน จากการใช้ทุกสิ่งทุกอย่างให้น้อยลง แต่ได้ผลงานที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าหรือเป้าหมายขององค์กรมากที่สุด
แนวคิด Lean คือการเปลี่ยนจากความสูญเปล่า (waste) ไปสู่คุณค่า (Value) หมายถึงการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงอย่างไม่รู้จบ Lean ไม่ใช่เรื่องของการทำงานให้หนักขึ้นหรือเร็วขึ้น แต่เป็นการค้นหาความสูญเปล่าและเปลี่ยนให้เป็นคุณค่าที่ผู้รับผลงานของเราต้องการ
ดังนั้นคนเราจึงต้องพยายามรักษาสุขภาพร่างกายให้ Lean อยู่เสมอ ไม่ใช่การลดน้ำหนัก ฟิตหุ่นเพียงชั่วครั้งชั่วคราว แต่หมายถึงการกำหนดความคิดให้ถูกต้องในการใช้ชีวิต มีเป้าหมายอยู่ที่การรักษาสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่กำหนดเป้าหมายไว้ที่จุดใดจุดหนึ่งแล้วหยุด และเมื่อมีเป้าหมายที่ถูกต้องแล้วก็มาวางแผนการปฏิบัติในรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการทานอาหาร การออกกำลังกาย การทำงาน การใช้ชีวิตประจำวัน การพักผ่อน สันทนาการและความบันเทิงต่างๆ
สำหรับมุมมองการใช้ชีวิตแบบ Lean ต้องเริ่มจากการตั้งสติเพื่อหาคำตอบให้ได้ว่ามีกิจกรรมใดที่เราควรทำหรือไม่ควรทำ อาหารชนิดใดที่เราควรกินหรือไม่ควรกิน การบริโภคทั้งหมดมีสิ่งใดที่ควรใช้หรือไม่ควรใช้ เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือความจำเป็น ไร้ประโยชน์ สิ่งของบางอย่างที่เราเก็บไว้โดยคิดว่าเป็นทรัพย์สินที่มีประโยชน์ อาจเป็นภาระให้เราสูญเสียอิสรภาพ รวมทั้งยังมีต้นทุนในการดูแลรักษา
พฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างสูญเปล่าไปกับสิ่งต่างๆ ที่ไม่จำเป็น ที่ไม่ทำให้ชีวิตพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น เช่น พฤติกรรมการติดโซเชียลมีเดีย ติดเกมส์ ติดหนัง ทำให้หลายคนเสียเวลาไปมากมายโดยไม่มีความรู้หรือความสามารถเพิ่มขึ้น ไม่ได้พัฒนาความคิดหรือทัศนคติให้ดีขึ้น แถมยังอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตในระยะยาว เรื่อยไปจนถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายโดยปราศจากการควบคุม มีความฟุ่มเฟือย สูญเปล่า การบริโภคที่มากเกินพอดี การตรวจสอบตัวเองอย่างเคร่งครัดบนพื้นฐานความจริงจะทำให้เราแก้ปัญหาได้ตรงจุด
แม้ว่าการพัฒนารูปแบบการใช้ชีวิตจากแบบเดิมๆ มาสู่แบบ Lean จะไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย สำหรับบางคนอาจต้องใช้ตัวช่วยหรือมีอะไรมาบังคับ กระตุ้นให้เปลี่ยนพฤติกรรม และเมื่อถูกสถานการณ์กดดันให้ปรับพฤติกรรมบ่อยๆ ก็จะเกิดพฤติกรรมเคยชินขึ้นใหม่ ตัวอย่างเช่น ช่วงโรคคิด 19 ระบาด องค์กรมากมายต้องปรับระบบการทำงานที่เคยใช้คนจำนวนมากให้เหลือคนน้อยลง ลดต้นทุนในการทำธุรกิจอื่นๆ ให้เหลือน้อยที่สุด แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาระดับผลผลิตให้ได้เหมือนเดิมเพื่อความอยู่รอด สถานการณ์กดดันแบบนี้ทำให้องค์กรต้องตรวจสอบตัวเองว่ามีสิ่งใดจำเป็นหรือไม่จำเป็น โดยตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกทันที ทำให้พบว่ามีหลายอย่างในระบบงานที่ตัดทอนออกไปแล้วธุรกิจก็ยังดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น
เช่นเดียวกับวิถีชีวิตของผู้คนที่ยังอยู่สุขสบายปกติใน comfort zone ก็ไม่มีใครสนใจจะปรับเปลี่ยนตัวเอง แต่เมื่อพบกับวิกฤต เช่นกลัวตกงาน กลัวถูกลดเงินเดือน กลัวความเจ็บป่วย หรือกลัวความตาย สัญชาตญาณการเอาตัวให้รอดก็จะเริ่มทำงาน เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมโดยอัตโนมัติ เช่น ปรับนิสัยความฟุ่มเฟือยมาสู่การประหยัด ทำงานให้ดีขึ้นเพื่อรักษาตำแหน่งงานเอาไว้ หรือเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอยู่เพื่อรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย
นอกจากไลฟ์สไตล์แบบ Lean จะช่วยพัฒนาในทางกายภาพแล้ว ยังช่วยพัฒนาสติปัญญา ยกระดับความคิด เพราะธรรมชาติของสมองก็เหมือนกล้ามเนื้อ เมื่อต้องใช้ความคิดหรือศึกษาในเรื่องที่เป็นประโยชน์มีสาระบ่อยๆ ฝึกวางแผน แก้ปัญหา ไตร่ตรอง ฝึกความยับยั้งชั่งใจให้ทำในสิ่งที่พอเหมาะพอควร การฝึกสมองอย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้สมองเฉียบคมและปราดเปรียวขึ้นไม่ต่างกับร่างกายส่วนอื่นๆ
สำหรับการใช้ชีวิตในบ้านด้วยแนวความคิดแบบ Lean จะฝึกให้เราเป็นคนมีเหตุผลและรู้จักประเมินความพอเหมาะพอดีในการทำสิ่งต่างๆ และเลือกใช้ตัวช่วยต่างๆ มาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตได้มากขึ้น เช่น ครอบครัวที่มีเด็กหรือผู้สูงอายุ ที่ในอดีตอาจต้องจ้างคนมาดูแล ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ก็อาจปรับมาใช้เทคโนโลยีช่วย เช่นการติดตั้งกล้อง หรือเซ็นเซอร์ตรวจจับการ เคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หรือเทคโนโลยีอื่นๆ ที่อำนวยความสะดวกมาช่วย โดยลดการพึ่งพาผู้อื่นให้น้อยลงมากที่สุด
สำหรับใครที่คิดว่าอยากจะพัฒนาชีวิตตัวเองแบบองค์รวม จนไปถึงเรื่องหน้าที่การงาน สามารถนำแนวคิดแบบ Lean ไปประยุกต์ใช้กับตัวเองได้ โดยเริ่มจากการศึกษาให้เข้าใจ ปรับทัศนคติให้ถูกต้อง วางวิธีปฏิบัติที่ทำได้จริงและรักษาวินัยอย่างเคร่งครัด ก็จะประสบความสำเร็จได้อย่างแน่นอน เพราะแนวทางแบบ Lean ไม่ได้มีประโยชน์แค่กับคนตัวเล็กๆ แต่ยังสร้างความสำเร็จให้องค์กรระดับโลกมาแล้วมากมาย