ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การตกเป็นบุคคลล้มละลายส่งผลอะไรต่อชีวิตบ้าง
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รายงานภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมาว่าอยู่ในภาวะการขยายตัวชะลอลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2560 ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2562 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มชะลอลงไปกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งในยุคที่เศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้ อะไร ๆ ก็มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ ทำให้หลายครั้งเราอาจจะได้ยินหรือพบเห็นคนที่มีฐานะทางการเงินทั้งในระดับร่ำรวยและปานกลาง อยู่ดี ๆ ก็กลายเป็น“คนล้มละลาย” ซึ่งเมื่อเกิดปัญหาแล้วต้องใช้เวลาในการ “ฟื้นฟู” เพื่อทำให้ตัวเองกลับมาเหมือนเดิม อย่างไรก็ดีหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เป็นสิ่งที่เราควรต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีหนี้สินมากมายจนถึงขนาด ที่เรียกว่า “หนี้สินล้นพ้นตัว” ซึ่งอาจจะทำให้เรากลายเป็นบุคคลล้มละลาย นอกจากนี้ จากการตรวจสอบ พบว่า สถิติการฟ้องคดีล้มละลายมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2560 มีคดีล้มละลายที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรม จำนวน 5,679 คดี เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2559 ซึ่งมีจำนวน 5,536 คดี เพื่อให้ทุกคนได้ระวังไม่ให้ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เพราะการล้มละลายไม่ใช่เรื่องไกลตัว ในที่นี้ ผู้เขียนจึงรวบรวมเอาประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมายล้มละลายมาเล่าให้ฟัง เพื่อผู้อ่านจะได้รู้เท่าทันและไม่อยู่ในสภาวะเสี่ยงที่จะเป็นบุคคลล้มละลาย
“คดีล้มละลาย” คือ คดีที่เกิดจากการที่บุคคลมีหนี้สินมากเสียจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ และเพื่อหาวิธีการที่ทำให้บุคคลดังกล่าวหลุดพ้นจากหนี้นั้น วัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายจึงมีอยู่สองประการ โดยประการแรก คือ การทำให้เจ้าหนี้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมในการจัดสรรแบ่งปันทรัพย์สินของลูกหนี้ และประการที่สอง คือ การทำให้ลูกหนี้ที่สุจริตได้รับโอกาสในการเริ่มต้นชีวิตใหม่
เมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องคดี ศาลจะทำการพิจารณาสืบพยานหลักฐานว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงตามคำฟ้องหรือไม่ หากว่าจริง ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ คำสั่งพิทักษ์เด็ดขาดคือการที่ศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ควบคุมกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ กล่าวคือ ลูกหนี้ไม่สิทธิกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตนได้เลย ยกเว้นแต่ทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาลหรือพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้แล้ว ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของคดีล้มละลาย แต่ศาลจะยังไม่มีคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายในทันที ศาลจะส่งหมายแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ เพื่อให้ดำเนินการจัดการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้และดำเนินการแบ่งทรัพย์สินที่รวบรวมได้เพื่อจัดสรรให้กับบรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายของลูกหนี้ต่อไป ในกรณีที่ลูกหนี้มีหนี้สินมากจนไม่เพียงพอจะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องติดตามทรัพย์อื่นมาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ส่วนที่เหลือต่อไป โดยในปี พ.ศ. 2562 มีสถิติการบังคับคดีล้มละลายตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ จำนวนรวม 5,123 สำนวน (หนังสือรายงานสถิติคดีศาลยุติธรรมทั่วราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. 2559 และ 2560)
สาเหตุของการเป็นบุคคลล้มละลาย
สาเหตุของการเป็นบุคคลล้มละลาย
ใครจะกลายเป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่นั้น กล่าวอย่างง่าย ๆ ว่า มีสาเหตุมาจากการที่เรามีหนี้สินมากจนไม่สามารถชำระเงินคืนเจ้าหนี้ได้ จึงถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย สาเหตุของการเป็นบุคคลล้มละลาย มีดังต่อไปนี้
การเป็นบุคคลล้มละลายมีผลกระทบต่อชีวิตอย่างไร
หลายท่านอาจเกิดความสงสัยว่าการตกเป็นบุคคลล้มละลายจะทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งอาจสรุปได้ ดังนี้
การพ้นจากสภาพการเป็นบุคคลล้มละลาย
การถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายนั้นจะมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี ซึ่งเมื่อครบกำหนดก็จะถูกปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย โดยให้บุคคลล้มละลายติดต่อกับเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ เพื่อขอปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย และภายหลังจากที่มีคำสั่งปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว ก็จะสามารถทำงานและทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้ตามปกติ อย่างไรก็ดีคำสั่งปลดจากการล้มละลายนี้ จะส่งผลให้บุคคลล้มละลายนั้นหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวงด้วย ยกเว้นแต่หนี้สินที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร หรือหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการทุจริต ฉ้อโกงของบุคคลล้มละลาย
สำหรับใครที่ผิดพลาด หรืออาจมีความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในเรื่องหนี้สินมาแล้ว ก็ควรหาวิธีในการเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการและมีหลายหน่วยงานที่พร้อมจะเข้ามาช่วยเหลือในการเจรจาประนอมหนี้ เช่น กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ที่มีช่องทางและวิธีการไกล่เกลี่ยหนี้สินก่อนที่จะมีการอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือก่อนที่ลูกหนี้จะถูกฟ้องให้เป็น “บุคคลล้มละลาย”
บทความโดย: อังค์วรา ไชยอนงค์