ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ปัญหาดาดฟ้า ระเบียงรั่วซึมแก้ไขอย่างไรดี
เข้าหน้าฝนทีไร ปัญหาเกี่ยวกับบ้านที่ซ่อนอยู่มักเผยตัวออกมาให้เห็น และทำให้เจ้าของบ้านต้องปวดหัวเพราะต้องหาเงินและหาช่างที่ไว้ใจได้มาซ่อมแซม หนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยในช่วงหน้าฝนคือ ปัญหาดาดฟ้าหรือระเบียง (โดยเฉพาะที่ไม่มีหลังคา) รั่วซึม ซึ่งหลายบ้านปูกระเบื้องบริเวณนั้นด้วยยิ่งทำให้การซ่อมแซมซับซ้อนขึ้นไปอีก
ปัญหานี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งการออกแบบที่ไม่ดีตั้งแต่แรก
หรือเกิดจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐานตั้งแต่ต้น เช่นเทปูนไม่ได้ระดับ
ไม่ทำพื้นสโลปเพื่อให้น้ำลงที่ช่องระบายน้ำ
หรือเทปูนไม่เรียบทำให้บางจุดเป็นแอ่งน้ำขังพอนานๆ ไปจึงรั่วซึม
หรือไม่ได้มีการทาน้ำยากันซึมไว้ที่พื้นก่อนปูกระเบื้อง
นอกจากนั้นอาจเกิดบริเวณหัวน็อต รอยต่อระหว่างกระเบื้อง
รอยต่อระหว่างกระเบื้องกับอาคารเดิม รอยแตกร้าวของปีกนก ระเบียง
ดาดฟ้าปูนเปลือย
แนวระบายน้ำอุดตันเป็นสาเหตุทำให้น้ำท่วมขังแล้วเกิดการรั่วซึมของน้ำได้ เกิดความเสียหายคราบเชื้อรา
คราบรอยด่าง
ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เจ้าของบ้านสามารถคุยกับช่างหรือผู้รับเหมาได้โดยมีความรู้เบื้องต้นก่อนล่วงหน้า
เรามีคำแนะนำแนวทางในการแก้ไขดังต่อไปนี้
1.ใช้น้ำยากันซึมทา
ถ้ามีการปูกระเบื้องไว้ต้องรื้อกระเบื้องออกให้หมด ทำความสะอาดผิวปูน ปรับระดับพื้นที่เป็นแอ่งให้เรียบ แล้วทากันซึม แล้วจึงปูกระเบื้องทับ ซึ่งวิธีนี้มีขั้นตอนที่พึงระวังคือ
2. ทำหลังคาคลุมปิด
แต่หลังคาไม่สามารถกันฝนได้ทั้งหมด ถ้าฝนแรงแล้วเข้ามา น้ำก็อาจขังเหมือนเดิมตรงพื้นที่เป็นแอ่ง แล้วรั่วอีก การทำหลังคาต้องระวังไม่ให้น้ำกระเด็นไปฝั่งบ้านข้างๆ เวลาฝนตกด้วย นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงการรับน้ำหนักของหลังคาด้วยว่าโครงสร้างบ้านเดิมแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักได้หรือไม่
3. ยาแนวกระเบื้องใหม่
โดยการแซะยาแนวเก่าออกให้หมด และรื้อกระเบื้องตรงส่วนที่เป็นแอ่งออก ปรับระดับพื้น แล้วใช้ยาแนวประเภทกันรั่วซึม ยาลงไปใหม่ แต่ก็เสี่ยงที่จะไม่หาย เพราะสิ่งที่ช่วยจริงๆ คือ การทาน้ำยากันซึมเต็มพื้นที่ก่อนปูกระเบื้อง
จะเห็นว่าวิธีการแรกคือวิธีการรื้อ
ปรับระดับพื้นลงน้ำยากันซึมเป็นวิธีที่แก้ปัญหาในระยะยาวได้ดีที่สุด
แต่ก็เป็นวิธีที่ใช้เวลาและงบประมาณมากที่สุดเช่นกัน
รวมทั้งต้องหาช่างที่มีฝีมือไว้ใจได้
เพราะถ้าเทปูไม่ได้ระดับปัญหาก็อาจจะกลับมาอีก
ส่วนอีกสองวิธีใช้เวลาและงบประมาณน้อยกว่าแต่ก็อาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ 100%
หรือในระยะยาว
ซึ่งทั้งนี้จะเลือกวิธีการใดขึ้นอยู่กับเวลาและงบประมาณที่เจ้าของบ้านมีด้วย
ถ้าติดขัดในเรื่องงบประมาณในการซ่อมแซมบ้าน SCB มีบริการวงเงินฉุกเฉิน
กู้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง สมัครออนไลน์ หรือผ่าน SCB EASY App
ได้เลย ไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน