10 เทคนิคป้องกันอัคคีภัยบ้าน

การจะมีบ้านได้สักหลังต้องใช้เงินจำนวนมาก คนส่วนใหญ่ต้องขอสินเชื่อแล้วก็ผ่อนบ้านนานนับสิบปีจึงจะมีกรรมสิทธิเป็นเจ้าของบ้าน แต่ถ้าหากบ้านที่คุณรักเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่นไฟฟ้าลัดวงจรแล้วไฟไหม้วอดไปทั้งหลังคุณจะทำอย่างไร? เรื่องแบบนี้คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นการป้องกันบ้านให้ปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งภัยจากอัคคีภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน หากประมาทพลาดพลั้งเพียงเสี้ยววินาทีความเสียหายอาจเกิดขึ้นกับบ้านของเราอย่างไม่ทันตั้งตัว ดังคำโบราณที่ว่า “โจรปล้น 10 ครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว” ดังนั้นเรื่องของฟืนไฟจึงไม่ควรประมาท ในวันนี้มี 10 เทคนิคป้องกันการเกิดอัคคีภัยหรือไฟไหม้บ้านมาฝากกัน


1. เก็บสิ่งของเครื่องใช้ที่อาจจะเป็นเชื้อเพลิงทำให้เกิดไฟไหม้ได้

เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เอกสาร เสื้อผ้าเก่าๆ เครื่องใช้ภายในบ้านที่มีส่วนผสมของสารเคมีที่ติดไฟง่าย  เช่น  น้ำยาทำความสะอาดบ้าน ทินเนอร์  สเปรย์ครีมโกนหนวดล้วนแล้วแต่ติดไฟได้ง่ายทั้งสิ้น เพราะหากวางวัตถุติดไฟง่ายเหล่านี้ไว้ในที่ที่โดนความร้อนหรือได้รับอุณหภูมิสูงเกินไป อาจทำให้เกิดการระเบิดขึ้นมาได้ จึงควรเก็บวัตถุที่ติดไฟได้ง่ายไว้ในที่ที่มิดชิดและในอุณหภูมิปกติเพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นเชื้อเพลิงได้


2. หมั่นตรวจตราเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟ และปิดสวิทซ์ไฟ  

ควรดึงปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งหลังใช้งานและสังเกตสภาพปลั๊ก เครื่องใช้ไฟฟ้า ก่อนใช้งานทุกครั้งว่าอยู่ในสภาพดีใช้งานได้ตามปกติ ไม่เปื่อยหรือหลุดลุ่ย หากพบความผิดปกติเช่น สายขาด สายชำรุด ควรรีบซ่อมให้เรียบร้อยทันที 

3. ปิดแก๊สหุงต้มเมื่อเลิกใช้งาน

ไฟไหม้จากห้องครัวหรือจากการทำอาหารถือเป็นสาเหตุต้นๆ ของปัญหาอัคคีภัยในบ้านกว่าร้อยละ 48 โดยเฉพาะความประมาทจากการทำอาหารแล้วลืมทำทิ้งไว้จนเกิดไฟไหม้ นอกจากนี้เศษอาหารที่ติดอยู่ตามเตาหรือไมโครเวฟเมื่อได้รับความร้อนจากการทำอาหารนานจนเกินไปทำให้เกิดการเผาไหม้และกลายเป็นไฟไหม้ได้ในที่สุดเพราะเศษอาหารตกค้างอยู่บนเตาหรือในไมโครเวฟ  ดังนั้นจึงควรทำความสะอาดเตาหรือไมโครเวฟเป็นประจำ รวมถึงบริเวณที่ทำอาหารและควรเก็บเศษอาหารหรือสิ่งของที่ติดไฟได้ง่ายเอาไปทิ้งทุกครั้งหลังจากที่ทำอาหารเสร็จ


4. ติดตั้งเครื่องตัดไฟป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

ปัญหาอัคคีภัยจากไฟฟ้าลัดวงจรจากสถิติมีเหตุเกิดขึ้นร้อยละ 10 จากการเกิดอัคคีภัยในบ้าน แม้จะมีอัตราที่น้อยแต่ก็สร้างความสูญเสียอย่างรุนแรงทั้งการเสียชีวิตได้รับบาดเจ็บและสูญเสียทรัพย์สิน เพราะไฟฟ้าลัดวงจรมักเกิดขึ้นในบ้านหรือสถานที่ปิดซึ่งทำให้ไฟลุกลามเป็นวงกว้างได้ง่าย รวมทั้งมักเกิดขึ้นช่วงเวลากลางคืนที่ทุกคนในบ้านกำลังนอนหลับ สำหรับวิธีการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรที่ดี คือ การติดตั้งเครื่องตัดไฟ เพราะถ้าหากแผงไฟเกิดติดประกายไฟขึ้นมาหรือทำงานหนักเกินไปก็จะช่วยลดไฟฟ้าลัดวงจรได้เป็นอย่างดี


5. ไม่จุดธูปเทียนบูชาพระหรือทิ้งก้นบุหรี่ไว้ ขณะไม่มีคนอยู่ในบ้าน

รวมถึงไฟแช็กหรือไม้ขีดไฟควรเก็บอุปกรณ์ให้มิดชิดห่างไกลจากความร้อนหรือประกายไฟเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดไฟไหม้ได้  ส่วนการจุดบุหรี่และทิ้งโดยไม่ดับนั้นก่อให้เกิดไฟไหม้ได้เช่นกันเพราะอาจติดไฟขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว ทำให้หากไม่ทันระวังอาจเกิดไฟไหม้ได้ในที่สุด

6. เครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิด

เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น ควรวางเว้นระยะจากผนังเพื่อระบายความร้อนป้องกันเกิดประกายไฟ


7. ติดตั้งเครื่องตรวจจับควันไฟภายในบ้าน

โดยหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ดักจับควันอย่างสม่ำเสมอ และลองกดปุ่มทดสอบดูว่าใช้งานได้ตามปกติหรือไม่ หากพบว่าไฟกะพริบอ่อนๆ อาจต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ทันที


8. เชฟเบอร์สถานีดับเพลิงใกล้บ้านหรือเบอร์แจ้งเหตุฉุกเฉิน 199

ไว้ในมือถือหรือติดไว้ในจุดที่ทุกคนในบ้านมองเห็นเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยขึ้นมาจะสามารถโทรแจ้งได้อย่างทันท่วงที

9. ติดตั้งถังดับเพลิงไว้ในบ้าน

และควรศึกษาวิธีการใช้งานให้ถูกต้อง รวมถึงหมั่นตรวจสอบสภาพถังดับเพลิงว่าชำรุดหรือใช้งานได้หรือไม่และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำยาดับเพลิงเมื่อครบกำหนดอายุการใช้งาน


10. หมั่นตรวจสอบและระมัดระวังภายในบ้านอย่างสม่ำเสมอ

 เช่น เวลาทำอาหารในครัวไม่ควรเปิดเตาทิ้งไว้แล้วเดินออกไปทำธุระอย่างอื่น ควรปิดเตาก่อนทุกครั้งเมื่อต้องออกนอกห้องครัวหรือนอกบ้าน หากจุดเทียนและธูปบูชาพระควรวางเทียนให้ห่างจากวัสดุที่ติดไฟง่ายและดับไฟทันทีเมื่อไม่ใช้งาน และควรระมัดระวังการใช้งานอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด หากเกิดการชำรุดหรือใช้การไม่ได้เหมือนเดิมควรซ้อมทันที

 

ที่กล่าวมานี้คือคือเทคนิคที่ช่วยป้องกันการเกิดอัคคีภัยหรือไฟไหม้บ้านได้ และเพื่อความไม่ประมาท ควรซื้อประกันบ้าน และประกันอัคคีภัยบ้านไว้ปลอดภัยอุ่นใจกว่า สนใจอ่านบทความ อย่าเสียน้อยเสียยาก ทำประกันอัคคีภัยไว้อุ่นใจกว่า เพิ่มเติม


ข้อมูลจาก

https://www.home.co.th/news/topic-12573

https://www.ddproperty.com