สินเชื่อ
สินเชื่อรถยนต์
ให้รถที่ใช่ ไม่ไกลเกินเอื้อม กับสินเชื่อรถ SCB
ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
“เบรก” สิ่งสำคัญอย่ามองข้าม
เมื่อพูดถึงรถยนต์ มักจะมีเรื่องให้สนทนากันมากมาย และส่วนใหญ่จะคุยกันเกี่ยวกับ ความสวยงาม การตกแต่ง เทคโนโลยี และที่ขาดไม่ได้ก็คือ เรื่องความแรง ความเร็วแต่น้อยคนนักที่จะพูดถึงเรื่องระบบ “เบรก” ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญระดับต้นๆ และสำคัญกว่าเครื่องยนต์ด้วยซ้ำไป เพราะหากเครื่องยนต์ไม่ดีนักก็แค่เดินทางได้ช้าหรือเครื่องยนต์เสียก็แค่เดินทางไม่ได้ แต่ถ้าเบรกมีปัญหา นั่นหมายถึงมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ นำมาซึ่งความสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต ดังนั้น เบรกเป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถจะต้องให้ความสำคัญ และหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ และหากพบว่ามีความผิดปกติ จะต้องรีบแก้ไข ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนใหม่ทันที
อาการเบรกผิดปกติ
การดูว่าระบบเบรกยังดีอยู่หรือไม่ นอกจากให้ช่างในศูนย์บริการหรืออู่ตรวจสอบเมื่อนำรถเข้าบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมแล้ว ผู้ขับขี่เอง ก็สามารถตรวจสอบหรือรับรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งอาการหลักๆ ที่ระบุว่าเบรกมีปัญหามีหลายอย่าง เช่น เบรกแล้วมีเสียงดัง, เบรกจมหรือการต้องเหยียบแป้นเบรกลึกกว่าปกติ, เบรกแล้วรถมีอาการสั่น หรือรถปัดเสียการทรงตัว, เบรกแข็งหรือต้องใช้แรงเหยียบมากกว่าปกติ, เบรกเฟดหรือเหยียบเบรกแล้วรถไม่หยุด ที่มักเรียกกันว่าเบรกแตก หรือว่าเบรกติด เป็นต้น
อาการต่างๆ เหล่านี้ บางอาการเรียกกว่าหนักหน่วง ตัวอย่างเช่น ระยะเบรกไกลขึ้นกว่าปกติอย่างชัดเจน บางอาการก็แค่เริ่มต้น เช่น เริ่มรู้สึกว่ามีระยะเหยียบแป้นเบรกมากขึ้น หรือออกแรงมากขึ้น แต่รถยังหยุดในระยะที่ปลอดภัย และบางอาการเกิดจากการใช้งานผิดวิธี เช่น เบรกเฟดเกิดจากการใช้เบรกมากเกินไป โดยเฉพาะการขับลงเขาทำให้เบรกทำงานหนักจนน้ำมันเบรกเดือดกลายเป็นไอทำให้เบรกไม่อยู่
ส่วนการใช้งานบนพื้นราบทั่วไป การใช้เบรกบ่อยๆ ไม่ส่งผลให้เกิดอาการเบรกเสียหายเฉียบพลัน จนเกิดอันตรายเหมือนการขับรถลงทางชัน แต่จะทำให้เบรกค่อยๆ สึกหรอ แต่ข้อควรระวังของการใช้เบรกในการขับขี่ทั่วไป คือ อย่าเบรกแรงๆ บ่อยครั้ง เพราะไม่เฉพาะผ้าเบรก จานเบรก เท่านั้นที่สึกหรอ แต่จะทำให้ยางสึกหรอตามไปด้วย แถมทำให้อายุการใช้งานลดลง และยังมีความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุถูกชนท้ายได้เช่นกัน ทางแก้ก็ง่ายๆ คือ ขับรถด้วยการมองไปข้างหน้าไกลๆ ทำให้เห็นสถานการณ์ เห็นอุปสรรคล่วงหน้า จึงเริ่มต้นเบรกได้เร็ว และนุ่มนวล แต่กรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน การเบรกหนักๆ เบรกรุนแรงก็จำเป็นต้องทำ และกรณีเป็นระบบเบรก ABS เมื่อเหยียบแรงๆ แป้นเบรกจะมีอาการสู้เท้าเป็นระยะๆ ห้ามตกใจถอนเบรกเด็ดขาด ต้องย้ำไว้เช่นเดิม แล้วใช้พวงมาลัยควบคุมรถไปในทิศทางที่ปลอดภัยแทน
ส่วนรถที่ไม่มี ABS ซึ่งเป็นรถรุ่นเก่าๆ เพราะรถปัจจุบันติดตั้งระบบนี้ทั้งสิ้น ต้องจำไว้ว่าเมื่อเบรกเต็มที่แล้วไม่สามารถบังคับทิศทางรถได้ไม่ว่าจะหมุนพวงมาลัยอย่างไรก็ตาม จึงต้องใช้ทักษะเพิ่มเติมในการถอนน้ำหนักเป็นระยะ เพื่อควบคุมทิศทางรถ
ส่วนกรณีป้องกันเบรกเฟด เบรกแตก เมื่อขับลงเนินลงเขา ทางแก้คือ อย่าเหยียบเบรกตลอดเวลาที่ลงเนิน แต่ให้ใช้เกียร์ต่ำเพื่อสร้างเอนจิ้นเบรก หรือการให้เครื่องยนต์ช่วยลดความเร็วของรถแทน แล้วผู้ขับใช้เบรกเป็นช่วงๆเมื่อรถมีความเร็วมากเกินไป ห้ามเหยียบแช่เด็ดขาด
กรณีรถเกียร์ออโต้ ก่อนจะถึงทางลงเนินให้แตะเบรกเพื่อชะลอความเร็ว แล้วดึงคันเกียร์มาเป็นเกียร์ต่ำ ซึ่งแต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน บางรุน ก็มีตำแหน่งเกียร์เป็นตัวเลขมาให้ เช่น 3 หรือ 2 ก็เลือกให้เหมาะสมกับความชันของเส้นทาง บางรุ่นไม่มีตัวเลข แต่มี L มาให้ ก็หมายถึงเป็นเกียร์ต่ำให้ใช้งาน และสำหรับเกียร์บางรุ่นที่มีระบบเปลี่ยนเกียร์ได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นที่คันเกียร์ หรือ แพดเดิลชิฟท์ที่ติดตั้งอยู่ที่พวงมาลัย ซึ่ง จะใช้สัญลักษณ์ + กับ – โดย + คือเพิ่มเกียร์ ครั้งละ 1 ตำแหน่ง – ก็เป็นการลดเกียร์ครั้งละ 1 ตำแหน่ง เมื่อต้องการใช้เกียร์ต่ำ ก็ดันหรือดึงคันเกียร์ หรือ แพดเดิลชิฟท์ มาทาง – จะกี่ครั้งก็ตามความเหมาะสมของความชัน
ส่วนอาการเบรกแข็ง อาจมีสาเหตุจากหม้อลมเบรกชำรุด ปั๊มเบรกบกพร่อง ต้องรีบจัดการซ่อมแซม การเบรกแล้วสั่นหรือรถเสียการทรงตัว เป็นเพราะผ้าเบรกหรือจานเบรกสึกไม่สม่ำเสมอ และผ้าเบรกจับกับจานเบรกไม่เสมอกัน หรือเบรกบางล้อมีอาการลื่นจากการมีสาบางอย่างที่ลื่นไปเคลือบ เช่น น้ำมันหล่อลื่นต่างๆที่รั่วไหล หรืออาการเบรกติด ก็มาจากหลายสาเหตุเช่นยางกันฝุ่นฉีกขาด
ตรวจระดับน้ำมันเบรก
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเบรกหลายๆ อย่าง ต้องพึ่งพาช่างผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นหากมีสิ่งผิดปกติให้รีบนำรถไปจัดการแก้ไขซ่อมแซมทันที แต่มีอาการผิดปกติบางอย่างที่ต้องเรียนรู้และจับความรู้สึกให้ได้ โดยเฉพาะปัญหาที่ค่อยๆ เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน เป็นอาการที่เกิดจากการสึกหรอตามการใช้งาน ซึ่งบางอย่างเป็นอาการเตือนให้เตรียมนำรถไปซ่อมแซม บางอาการก็ไม่ต้องทำอะไร เช่น เบรกมีเสียงดังเหมือนโลหะเสียดสีกัน เป็นไปได้ทั้งสาเหตุจากผ้าเบรกสึกจนถึงชั้นโลหะ ไปขูดจานเบรก ซึ่งอาจต้องเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ แต่บางกรณีเป็นไปได้ว่าผ้าเบรกยังมีความหนาเพียงพอต่อการใช้งาน แต่เป็นพราะผ้าเบรกสึกถึงส่วนที่มีโลหะเป็นส่วนผสมในเนื้อผ้าเบรก กรณีอย่างนี้ไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ ปล่อยไปสักพักเสียงก็จะหายไปเองเมื่อโลหะนั้นสึกจนหมดไป
แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่จะบ่งบอกได้ว่าผ้าเบรกสึกหรอเกินที่จะใช้งานหรือไม่ ก็คือ ให้เปิดฝากระโปรงหน้ารถ แล้วมองหาหม้อน้ำมันเบรก ที่มีตำแหน่งบอกระดับเอาไว้คือ Minกับ Max โดยปกติระดับน้ำมันเบรกต้องอยู่ระหว่างกลาง แต่หากพบว่ามันลดลงต่ำกว่าปกติ เมื่อรวมกับความรู้สึกตอนใช้งานเบรก เช่น เบรกจม เบรกมีเสียงดัง หรือเบรกไม่ค่อยอยู่ก็พอจะคาดการณ์ได้ว่าผ้าเบรกสึกเกินมาตรฐาน เพราะโดยปกติน้ำมันเบรกจะไม่หายไปไหน แต่จะลดลงตามการสึกของผ้าเบรก ถ้าสึกมากระดับก็ลดลงมาก และเมื่อเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ ระดับน้ำมันเบรกก็จะกลับมาปกติ
เจียร หรือไม่เจียรจานเบรก
ปัญหาอย่างหนึ่งที่ผู้ใช้รถเจอกันบ่อยคือ เมื่อนำรถไปซ่อมเบรก เปลี่ยนผ้าเบรก ช่างบางคนอาจแนะนำให้เจียรจานเบรก
การสึกหรอของจานเบรกนั้นเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าสึกไม่สม่ำเสมอกัน ถือเป็นเรื่องไม่ปกติ และจานเบรกที่สึกไม่สม่ำเสมอมีผลต่อการเบรกแล้วทำให้รถสั่นหรือเกิดอาการปัด ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในกรณีที่สึกมากๆ และสึกต่างกันมากๆ หากเป็นเช่นนั้นอาจจำเป็นจะต้องเจียรจานเบรก แต่ถ้าสึกไม่มากนัก หรือเป็นร่องลึกไม่มาก นั่นอาจจะเป็นเพราะถูกส่วนผสมที่เป็นโลหะในผ้าเบรกเสียดสี การสึกของผ้าเบรกเช่นนี้ อาจทำให้เบรกแล้วเกิดเสียงดัง หรืออาจจะมีอาการสั่นเล็กน้อย ช่วงสั้นๆ ในจังหวะที่ผ้าเบรกเริ่มจับกับจานเบรก แล้วก็หายไป ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดหลังจากเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ อาการเช่นนี้ยังไม่จำเป็นต้องเจียรจานเบรก เพราะเมื่อใช้งานไปสักระยะผ้าเบรกกับจานเบรกจะมีการสึกที่สมดุลกัน ทำให้เสียงหายไป และการสั่นจะหายไปด้วยเช่นกัน
แม้ว่าการเจียรจานเบรก อาจจะมีค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก แต่ข้อเสียคือ ทำให้จานเบรกบางลง และอายุการใช้งานสั้นลงนั่นเอง
การใช้เบรกที่ถูกต้อง
ปิดท้ายด้วยการใช้งานเบรกที่ถูกต้อง นอกจากการใช้เบรกในทางลงเนินลงเขาที่กล่าวไปแล้วนั้น การใช้เบรกบนท้องถนนทั่วไปอย่างถูกวิธีก็ช่วยเพิ่มความปลอดภัยอีกด้วย
สิ่งสำคัญคืออย่าพยายามเบรกกะทันหัน แม้จะมั่นใจในประสิทธิภาพมากแค่ไหนก็ตามว่ารถจะหยุดในระยะที่ปลอดภัย เพราะอย่าลืมว่ารถแต่ละคันการทำงานของเบรกแตกต่างกันไป ถ้าหากรถคันที่ตามหลังมาเบรกไม่ดี โอกาสที่จะถูกชนท้ายก็เกิดขึ้นได้
ดังนั้นการแนะนำให้ใช้เบรกแต่เนิ่นๆ ก็เพื่อเป็นการเตือนให้คันหลังชะลอความเร็วด้วยไฟเบรกจากรถเรานั่นเอง
และมีคำถามหนึ่งที่หลายคนสงสัยคือ ควรใช้เบรกในทางโค้งหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ควร เพราะมีโอกาสที่รถจะเสียการทรงตัวได้ วิธีที่ถูกต้องคือใช้เบรกเพื่อลดความเร็วก่อนถึงโค้ง
แต่กรณีที่จำเป็นจริงๆ เช่น เกิดเหตุไม่คาดคิดในโค้งก็สามารถใช้เบรกได้ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง คือ เหยียบแค่เพื่อชะลอความเร็ว เหยียบแค่พอรู้สึกว่าเริ่มมีแรงต้านที่เท้า ไม่เหยียบเบรกแบบรุนแรงแม้จะเป็นรถที่มีระบบเอบีเอส เพราะมีโอกาสที่รถจะเสียหลักได้เช่นกัน
ย้ำกันอีกครั้งว่า เบรกเป็นสิ่งสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัย ดังนั้นหลายคนจึงควรหันมาใส่ใจ และให้ความสำคัญกับระบบเบรกเป็นลำดับต้นๆ ที่ไม่ควรละเลยนอกจากนี้หากรถใช้งานมาได้สักระยะหนึ่งแล้วไม่อยากเข้าอู่ซ่อมบ่อยๆอยากซื้อรถคันใหม่ หาสินเชื่อรถยนต์ที่ถูกใจได้ที่นี่ https://www.scb.co.th/th/personal-banking/loans/car-loans.html