ลงทุนฝ่าวิกฤตเงินเฟ้อ เพิ่มโอกาสรับผลตอบแทน ไม่ต้องจับจังหวะการลงทุน ไปกับหุ้นกู้อนุพันธ์ SCB KIKO

ปี 2565 ช่วงเวลาแห่ง “เงินเฟ้อพุ่งทะยาน”


ภาวะเงินเฟ้อ คือช่วงเวลาที่ราคาสินค้าและบริการมีราคาแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ปีที่แล้วเราเคยซื้อก๋วยเตี๋ยวชามละ 40 มาปีนี้ก๋วยเตี๋ยวชามละ 50-60 บาท นี่คือเงินเฟ้อเกิดขึ้นกับราคาอาหาร หรือ อีกตัวอย่างที่ใกล้ตัวคือราคาน้ำมัน ปีที่แล้วเติมน้ำมันเบนซินเต็มถังจ่ายเพียงพันกว่าบาท มาปีนี้จ่าย 2,000 ยังได้ไม่เต็มถัง นี่คือเงินเฟ้อเกิดขึ้นกับราคาพลังงาน เป็นต้น


ในปี 65 ภาวะเงินเฟ้อเร่งตัวกำลังเกิดขึ้นไปทั่วโลก ลามไปสู่ทุกภาคส่วนหลักที่เป็นกลจักรเศรษฐกิจสำคัญ โดยเฉพาะค่าแรงงาน ราคาพลังงาน และ ราคาอาหาร 


o  ค่าแรงงาน หลังวิกฤตโควิดในช่วงปี 63 ถึงกลางปี 64 ประเทศต่างๆใช้วิธิการปิดเมือง หยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นเวลานาน ทำให้แรงงานในระบบต่างก็ต้องปรับตัว เปลี่ยนอาชีพ ย้ายถิ่นฐานไปยังเมืองที่มีค่าครองชีพต่ำ แต่เมื่อโควิดคลี่คลาย เริ่มเปิดเมืองเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง ผู้คนที่อัดอั้น ต่างก็ออกมาซื้อสินค้าและบริการกันเป็นจำนวนมาก ภาคธุรกิจหลายแห่งเริ่มเกิดปัญหาซัพพลายแรงงานขาดแคลน ยิ่งเปิดเมืองมากขึ้นเท่าไหร่ แรงงานก็ยิ่งขาดแคลนไม่เพียงพอ จึงต้องมีการขึ้นค่าแรงเพื่อดึงคนกลับเข้าสู่การทำงานในระบบ และการขึ้นค่าแรงก็คือต้นทุนสำคัญ ที่ถูกส่งต่อไปยังราคาสินค้าและบริการที่ปรับตัวสูงขึ้น


o  ราคาพลังงาน นับจากการเปิดเมืองในกลางปี 64 ที่ก่อให้เกิด Pent-up demand หรือความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกินปกติ จากการที่ผู้บริโภคลดการบริโภคในช่วงเวลาก่อนหน้าด้วยเหตุการณ์ปิดเมือง ส่งผลกระทบมาถึงความต้องการบริโภคพลังงานที่มากขึ้นในหลายรูปแบบ ทั้งภาคท่องเที่ยว ภาคขนส่ง หรือแม้แต่สินค้าโภคภัณฑ์ ทำให้ราคาพลังงาน เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซ แพงขึ้นในอัตราเร่ง นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์สงคราม ที่คู่ขัดแย้งเป็นผู้ส่งออกพลังงานรายใหญ่ของโลก ซ้ำเติมราคาพลังงานทุกชนิด ให้แพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง


o   ราคาอาหาร การขนส่งที่ยากลำบากและค่าระวางเรือที่พุ่งสูง จากการเปิดๆปิดๆท่าเรือสำคัญในช่วงโควิดตั้งแต่ช่วงปี 63-64 รวมทั้งการปิดเมืองท่าสำคัญของประเทศจีนจากนโยบาย zero covid ทำให้ราคาอาหารทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น ซ้ำเติมด้วยภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กระทบต่อการส่งออกข้าวสาลี ปุ๋ยและอาหารสัตว์ ที่เป็นปัจจัยการผลิตอาหารสำคัญ


ด้วยเหตุนี้ ผู้กำหนดนโยบายการเงินจึงเริ่ม “ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย” เพื่อสกัดเงินเฟ้อ โดยธนาคารกลางสหรัฐได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 65 นี้ไปแล้ว 3 ครั้ง (0.25% | 0.5% | 0.75%) กระทั่งอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันอยู่ที่ 1.75% โดยมีเป้าหมายดอกเบี้ยนโยบาย ณ.สิ้นปี 65 ที่ 3.25-3.5% ซึ่งนั่นหมายความว่า หนทางของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหลายครั้งในปีนี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และจะส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจชลอตัว ราคาสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลกจึงปรับตัวลดลง จากต้นปีถึงปัจจุบัน ดัชนีตลาดหุ้นหลักทั่วโลกต่างก็ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญกระทั่งเข้าสู่ Bear Market (Year to Date ณ.วันที่ 22 มิ.ย. 65) เช่น ดัชนี MSCI World -20.9%, ดัชนี S&P500 -21%, ดัชนี NASDAQ -30.2%, ดัชนีตลาดหุ้นยุโรป EURO STOXX50 -20.1% และดัชนีตลาดหุ้นเวียดนาม VNI -21.7% เป็นต้น


การเร่งตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ รวมไปถึงผลกระทบจากการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย มาตรการป้องกันการระบาดของโควิดและสงครามความขัดแย้ง ส่งผลให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นและตราสารหนี้มีความผันผวนสูง ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อย่างในปีที่ผ่านมา 

scb-kiko-investment-01

เราควรทำอย่างไรในสถานการณ์แบบนี้?


การลงทุนในแต่ละยุคสมัยล้วนมีการปรับตัว ในยุคก่อนวิกฤตต้มยำกุ้ง อัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในประเทศไทยสูงมาก การลงทุนที่ดีคือ เงินฝากธนาคารและตราสารหนี้ แต่หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยกลับทยอยลดลงๆจนกระทั่งต่ำมาก การลงทุนที่ดีก็ปรับมาเป็น หุ้นและสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆมากยิ่งขึ้น


กระทั่งมาสู่ยุคเงินเฟ้อ 2565 และช่วงเวลาแห่งอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น นักลงทุนจึงควรปรับตัวสู่โลกใหม่ ทำความรู้จักกับสินทรัพย์การลงทุนทางเลือกใหม่ๆ ที่เหมาะกับสถานการณ์และสร้างความได้เปรียบต่อความมั่งคั่งของเราที่สุด


สินทรัพย์การลงทุนทางเลือก คือสินทรัพย์การลงทุนที่นอกเหนือจากการลงทุนพื้นฐานอย่างเช่น พันธบัตร หุ้นสามัญ กองทุนรวม ที่เราเคยรู้จัก เป็นสินทรัพย์การลงทุนที่นอกจากจะช่วยเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนแล้ว ยังช่วยกระจายความเสี่ยงของการจัดสรรสินทรัพย์ของเราอีกด้วย ซึ่งหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจ สามารถลงทุนเพื่อรับกระแสเงินสด สู้ภาวะเงินเฟ้อ ภายใต้ความเสี่ยงที่จำกัด คือ หุ้นกู้อนุพันธ์ KIKO


มาทำความรู้จักกับ “หุ้นกู้อนุพันธ์ KIKO” 


“KIKO” (Knock-In Knock-Out) คือ หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้น
เป็นสินทรัพย์การลงทุนที่อยู่ในรูปแบบของหุ้นกู้ ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่าและให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าหุ้นกู้แบบดั้งเดิม เป็นการจับคู่สนธิกำลังกันระหว่าง “หุ้นกู้ และ ตราสารอนุพันธ์”   
 

o   หุ้นกู้ คือตราสารหนี้ที่มีผลตอบแทนตามหน้าตั๋วชัดเจน 


o   ตราสารอนุพันธ์ เป็นประเภทวอแรนต์(Warrant) ซึ่งอ้างอิงกับหุ้นสามัญในตลาดหุ้นไทยที่คัดเลือกมาเป็นอย่างดี ซึ่งนักลงทุนสามารถเลือกหุ้นที่นำมาจับคู่ได้ ทั้งแบบที่ธนาคารแนะนำให้ หรือแบบที่ลูกค้าผู้ลงทุนเลือกคู่หุ้นเอง


KIKO ออกแบบมาเป็นหุ้นกู้ระยะสั้น มีระยะเวลาการถือครองอยู่ที่ 6 เดือน ออกแบบมาเพื่อสร้างโอกาสรับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าผลตอบแทนของหุ้นกู้ปกติแก่ผู้ลงทุนใน เช่น 8-10% ต่อปี โดยจ่ายทุกเดือนตลอดอายุการถือครอง โดยมีการบริหารจัดการความเสี่ยงให้เหมาะสม 


ทำไมนักลงทุนจึงควรสนใจ KIKO ?


เป็นที่ทราบกันดีว่า หุ้นกู้ที่ออกโดยผู้ออกที่มีความน่าเชื่อถือสูง มีเครดิตเรตติ้งสูง จะให้อัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างต่ำ เช่น 2-4% อีกทั้งยังมีระยะเวลาถือครองที่ยาวนาน 2-10 ปี ซึ่งเป็นยาขมที่ทำให้นักลงทุนในยุคปัจจุบันหลายคน ไม่สนใจการลงทุนสายนี้เลย


จะดีแค่ไหนถ้ามีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยในลักษณะหุ้นกู้โดยที่มีระยะเวลาในการถือครองที่สั้นกว่า ที่แม้จะมีความเสี่ยงสูงกว่าแต่ให้อัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าอีกด้วย


หากเราตั้งคำถามใหม่ที่น่าสนใจว่า “อยากได้หุ้นกู้ อัตราผลตอบแทน 8-10% โดยที่มีระยะเวลาถือครองไม่นาน ต้องทำยังไง?”


วิธีการหนึ่ง(ที่ไม่แนะนำ) คือเราอาจจะต้องเปิดรับความเสี่ยงมากๆ ด้วยการยอมกัดฟันซื้อหุ้นกู้ของบริษัทเอกชนขนาดเล็ก เป็นตราสารหนี้ที่อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับน่าลงทุน จัดเป็นตราสารหนี้เก็งกำไรหรือตราสารหนี้ขยะ ที่เราเรียกกันว่า Junk Bond  หรือ Speculative Bond เพื่อแลกกับผลตอบแทนหุ้นกู้ที่เพิ่มขึ้นจาก 2-3% กลายเป็น 8-10%  ซึ่งผู้ออกหุ้นกู้อาจมีเครดิตเรตติ้งไม่ดี มักจะเป็นบริษัทขนาดเล็กที่มีความโปร่งใสไม่มากนัก การหาข้อมูลต่างๆทำได้ยาก ในเชิงการเงินแล้วเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับผู้แนะนำการลงทุน ที่จะแนะนำให้ลูกค้ารับผลตอบแทนสูงๆโดยแลกกับความเสี่ยงด้านเครดิต


อีกวิธีการหนึ่ง คือ KIKO ช่วยสร้างโอกาสเพิ่มผลตอบแทน พร้อมความเสี่ยงที่เปิดรับเพิ่มขึ้นมาส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นความเสี่ยงด้านความผันผวนของราคาหุ้นและความเสี่ยงอื่นๆ ของบริษัทขนาดใหญ่ในระดับ SET50 ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ที่สุด 50 บริษัทแรกที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คัดเลือกหุ้นพื้นฐานดีมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ ช่วยให้ลูกค้าได้รับผลตอบแทนที่สูงภายใต้ความเสี่ยงที่เหมาะสม


KIKO กลไกเป็นยังไง มีโอกาสจ่ายผลตอบแทนยังไงบ้าง?


KIKO มาจากชื่อเต็มๆว่า Knock-in Knock-out Equity Link Note คือ หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงระยะสั้น เรามาลองทำความเข้าใจกับคำว่า Knock-in Knock-out กันครับ


ผู้ลงทุนใน KIKO ลงทุนในหุ้นกู้ ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนคงที่ พร้อมกับอนุพันธ์หุ้น ที่จะต้องเลือกหุ้นอ้างอิง (หรือคู่หุ้น) ที่จะลงทุนด้วย ซึ่งมีข้อมูลที่จำเป็นต้องจดจำไว้อยู่ 3 ประการ คือ


1) Knock-In Price (KI) คือ ราคาหุ้นอ้างอิงขั้นต่ำที่ตกลงกันไว้ เป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด ณ.ปัจจุบัน เช่น -30% ของราคาตั้งต้น  

2) Knock-Out Price (KO) คือ ราคาหุ้นอ้างอิงที่กรอบขั้นสูงที่ตกลงกันไว้ เป็นราคาที่สูงกว่าราคาตลาด ณ.ปัจจุบัน

3) คู่หุ้น คือหุ้นที่อนุพันธ์แฝงอ้างอิง เช่น หุ้น PTT, หุ้น AOT เป็นต้น รวมทั้งราคาอ้างอิง Strike Price ของหุ้นอ้างอิงดังกล่าว 

เรามาดูกันว่า เหตุการณ์ต่างๆที่สามารถเกิดขึ้นได้ ในระหว่างที่ลูกค้าถือ KIKO อายุ 6 เดือนจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง
 

กรณีที่

เหตุการณ์

ผลลัพธ์ด้านดอกเบี้ย

ผลลัพธ์ด้านเงินต้น

1

ราคาหุ้นอ้างอิงปรับตัวสูงขึ้น กระทั่งเกิด Knock-Out ก่อนวันครบอายุสัญญา

ได้รับดอกเบี้ยทุกเดือนกระทั่งถึงเดือนที่เกิด Knock-Out

ได้รับเงินต้นคืนเต็มจำนวนทันที

2

ราคาหุ้นอ้างอิงเคลื่อนไหวในกรอบโดยไม่มีการ Knock-In และ Knock-Out กระทั่งถึงวันครบกำหนดอายุสัญญา (6 เดือน)

ได้รับดอกเบี้ยทุกเดือน ตลอดระยะเวลา 6 เดือน

ได้รับเงินต้นคืนเต็มจำนวนเมื่อครบกำหนดอายุสัญญา

3

ราคาหุ้นอ้างอิงปรับตัวลง กระทั่งเกิดเหตุการณ์ Knock-In ระหว่างทาง แต่ ณ.วันครบอายุสัญญา ราคาปิดของหุ้นอ้างอิงสูงกว่าหรือเท่ากับราคา strike price

ได้รับดอกเบี้ยทุกเดือน ตลอดระยะเวลา 6 เดือน

ได้รับเงินต้นคืนเต็มจำนวนเมื่อครบกำหนดอายุสัญญา

4

ราคาหุ้นอ้างอิงปรับตัวลง กระทั่งเกิดเหตุการณ์ Knock-In ระหว่างทาง แต่ ณ.วันครบอายุสัญญาราคาปิดของหุ้นอ้างอิงต่ำกว่าราคา strike price

ได้รับดอกเบี้ยทุกเดือน ตลอดระยะเวลา 6 เดือน

ได้รับหุ้นที่ได้เลือกไว้หรือหากเป็นกรณีตะกร้าหลักทรัพย์จะได้รับหุ้นที่มีผลการดำเนินงานน้อยที่สุด


จะเห็นได้ว่า ลูกค้าจะได้รับผลตอบแทนเป็นบวกในกรณีที่ 1-3  ส่วนกรณีที่ 4 แม้จะไม่ได้รับเงินต้นคืน แต่ได้รับเป็นหุ้นพื้นฐานดีที่เลือกไว้เป็นการทดแทน กรณีนี้ลูกค้ายังสามารถถือหุ้นนั้นต่อไปได้ รอราคาหุ้นฟื้นตัวก็ยังมีโอกาสได้รับเงินต้นและผลตอบแทนส่วนเพิ่มได้ในอนาคต


ความเสี่ยงของ KIKO


ความเสี่ยงของ KIKO ประกอบด้วยความเสี่ยง 3 ส่วน คือ


ความเสี่ยงส่วนที่ 1 … หุ้นกู้
มีความเสี่ยงของผู้ออกตราสารหุ้นกู้ ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะเมื่อถึงวันครบกำหนดอายุหุ้นกู้ ถ้าผู้ออกตราสารมีปัญหาทางด้านเครดิตหรือสภาพคล่อง ทำให้ไม่สามารถส่งมอบผลตอบแทนและเงินต้นแก่ลูกค้าได้ ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ ดังนั้นผู้ออกหุ้นกู้จึงควรมีเครดิตความน่าเชื่อถือสูงมาก กรณี SCB KIKO ผู้ออกหุ้นกู้คือบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ (SCBS) ซึ่งมีฐานะการเงินที่มั่นคง เป็นบริษัทในเครือธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของไทย 


ความเสี่ยงส่วนที่ 2 … อนุพันธ์
เป็นตัวที่เอาความเสี่ยงด้านราคาตลาดของหุ้นอ้างอิงมาให้ผลตอบแทนกับลูกค้า ดังนั้นทีมงานมืออาชีพที่จะเลือกสรรแนะนำคู่หุ้นอนุพันธ์ให้แก่นักลงทุน จึงมีความสำคัญมาก กรณี SCB KIKO  ใช้ทีมนักวิเคราะห์มืออาชีพจาก SCB CIO ในการคัดสรรเลือกหุ้นขนาดใหญ่ใน SET50 ที่จะใช้เป็นตัวอ้างอิงตราสารอนุพันธ์ เพื่อให้ความเสี่ยงที่ลูกค้าจะต้องเปิดรับ มีความคุ้มค่ากับอัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่มที่จะได้รับ


ความเสี่ยงส่วนที่ 3 … สภาพคล่อง
คือ ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของ KIKO เพราะการซื้อขายเปลี่ยนมือจะต้องทำระหว่างนักลงทุนที่เป็นลูกค้ารายใหญ่ HNW (High Net Worth) ด้วยกัน กรณีส่วนใหญ่ของผู้ถือ KIKO จึงมักจะถือจนครบกำหนดอายุสัญญา


ทำไม KIKO ต้องที่ SCB  ที่อื่นก็มีไม่ใช่หรือ ?


มีความแตกต่างกันครับ เพราะ   KIKO ของ SCB คือผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าไว้วางใจ (อ้างอิง /th/personal-banking/investment/fund/mutual-funds/structure-note-kiko-promotion.html)  ด้วยเหตุผลดังนี้


1. SCB มีวิธีคิดโดยการมองความมั่งคั่งของลูกค้าเป็นหลัก โดยพิจารณาตัวหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงนี้ เมื่อเข้าไปอยู่ในพอร์ตการลงทุนของลูกค้ามั่งคั่งสูงแล้ว ทำให้ผลตอบแทนและความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมใน Asset Allocation ของลูกค้าเป็นอย่างไร มีแล้วต้องตอบโจทย์และภาพรวมพอร์ตการลงทุนดีขึ้น


2. มีทีม SCB CIO ดูแลคัดสรรคู่หุ้นที่มีคุณภาพดีและมีโอกาสทำให้ผลตอบแทนแก่ลูกค้าดีที่สุด ออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างละเอียดรอบคอบ


3. หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง ควรมีผู้ออกหุ้นกู้ที่มีเครดิตน่าเชื่อถือ หากเป็นบริษัทในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่จะถือว่ามีความมั่นคง ช่วยลดความเสี่ยงของผู้ออกตราสาร เพราะถึงแม้คู่หุ้นที่เราเลือกมาจะ perform ดีแค่ไหนแต่หุ้นกู้ในส่วนของผู้ออกตราสารกลับออกโดยผู้ที่ไม่มีความมั่นคง ก็จะมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้เงินต้นคืน


 KIKO เหมาะกับนักลงทุนแบบไหน ?


หุ้นกู้แบบมีอนุพันธ์แฝงเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความซับซ้อน จึงไม่สามารถซื้อได้เองแบบหุ้นทั่วๆไปได้


ทางก.ล.ต.กำหนดให้ผู้ลงทุน ต้องมีคุณสมบัติของผู้ลงทุนรายใหญ่ High Net Worth ตามเกณฑ์กลต.  คือ 1. มีสินทรัพย์สุทธิ (ไม่รวมมูลค่าที่พักอาศัย) ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป หรือ 2. มีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป หรือ 3. มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ไม่รวมเงินฝาก) ตั้งแต่10 ล้านบาทขึ้นไป หรือ กรณีที่รวมเงินฝากแล้วมีเงินลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว ตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป


เหมาะกับนักลงทุนรายใหญ่ที่มองหาทางเลือกลงทุน ต้องการผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากหรือหุ้นกู้ทั่วไปและมีความเข้าใจในการลงทุนหุ้น สามารถยอมรับความเสี่ยงในการขาดทุนเงินต้นได้ หากราคาหุ้นอ้างอิงปรับตัวลดลงมากกว่ากรอบราคาที่ตกลงกันไว้ ณ วันสิ้นสุดสัญญา 

เป็นเจ้าของ KIKO วันนี้ เริ่มต้นยังไง ?


ผู้ที่สนใจลงทุนกับ SCB KIKO เงินลงทุนเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาทต่อสัญญา ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน หรือหากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่
 

·  ที่ปรึกษาทางการเงินและการลงทุนส่วนบุคคลของท่าน

·   ลูกค้า SCB Private Banking โทร. 02-777-7799

·   ลูกค้า SCB First โทร. 02-777-7788 


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : /th/personal-banking/investment/fund/mutual-funds/structure-note-kiko-promotion.html
 

คำเตือน

- การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

- การลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนที่มีความเสี่ยงสูงหรือมีความซับซ้อนซึ่งมีปัจจัยอ้างอิง มีความแตกต่างจากการลงทุนในปัจจัยอ้างอิงโดยตรง จึงอาจทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนดังกล่าวมีความผันผวนแตกต่างจากราคาของปัจจัยอ้างอิงได้ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจเงื่อนไขการจ่ายผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องและขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนทำการลงทุน


#SCB x  #นิ้วโป้งFundamentalVI   

#KIKO