ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
หุ้นไว้ใจได้ ดูอย่างไร
การตัดสินใจซื้อหุ้นเพื่อลงทุนในระยะยาว โดยธรรมชาติแล้วนักลงทุนจะใช้เวลาการทำศึกษาข้อมูลนานพอสมควร โดยเฉพาะการวิเคราะห์ด้านปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งต้องพิจารณาข้อมูลอดีตย้อนหลังไปหลายปีเท่าที่จะหาข้อมูลได้ การประเมินมูลค่าหุ้น รวมถึงคำแนะนำจากนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
เหตุผลที่ทำเช่นนี้ เนื่องจากนักลงทุนกำลังตัดสินใจจะลงทุนหุ้นตัวนั้นไปอีกหลายปี หุ้นที่จะถูกคัดเข้ามาในพอร์ตลงทุนต้องมีการเติบโตสม่ำเสมอ และมีความสามารถจ่ายเงินปันผลทุกปี หากซื้อแล้วไม่อยากขายก็เป็นการสะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนไว้วางใจหุ้นตัวนั้น หรือมักพูดกันว่า “ต้องหาหุ้นที่ถือแล้วนอนตายตาหลับได้” เนื่องจากว่าหุ้นที่ดีจะทำให้ผลตอบแทนพอร์ตการลงทุนโดยรวมเติบโตสม่ำเสมอ หากอยู่ในช่วงตลาดหุ้นปรับลดลงหรือมีความผันผวนก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดทุนได้
สำหรับการพิจารณาว่าหุ้นตัวไหนไว้วางใจได้ นักลงทุนสามารถใช้วิธีที่เรียกว่า 5 Forces Model หรือปัจจัยกดดันทั้ง 5 มาวิเคราะห์ ซึ่งเป็นโมเดลการวิเคราะห์ธุรกิจ โครงสร้างอุตสาหกรรมและคู่แข่ง เพื่อนำไปใช้ในการวางกลยุทธ์การแข่งขัน
ผู้คิดค้นโมเดลนี้ คือ ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การแข่งขัน เขากล่าวเอาไว้ว่า ศักยภาพในการทำกำไรของแต่ละธุรกิจขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการแข่งขันภายในอุตสาหกรรมนั้นๆเป็นหลัก ดังนั้น หากต้องการลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพในการทำกำไรได้สูงต้องวิเคราะห์ถึงสภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่ธุรกิจนั้นอยู่
1.การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม
ถ้ามีธุรกิจจำนวนมากในอุตสาหกรรม แสดงว่ามีการแข่งขันสูงมาก ทำให้ธุรกิจมีความสามารถในการทำกำไรได้น้อย ซึ่งผู้ถือหุ้นก็มีโอกาสได้รับเงินปันผลน้อยตามไปด้วย
2.คู่แข่งขันรายใหม่
ถ้าคู่แข่งรายใหม่เข้าสู่อุตสาหกรรมได้ง่าย ส่งผลให้จำนวนคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเพิ่มจำนวนมากขึ้น อาจจะนำสู่การตัดราคาระหว่างกัน ทำให้ความสามารถในการทำกำไรลดลง
3.อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ
หากผู้ซื้อมีอำนาจในการต่อรองราคาได้สูง ทำให้ความสามารถในการทำกำไรลดลง
4.อำนาจต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบ
บริษัทใดมีอำนาจในการต่อรองกับผู้ขายวัตถุดิบมาก จะทำให้มีต้นทุนในการผลิตต่ำ ทำให้มีกำไรเพิ่มสูงขึ้น
5.สินค้าทดแทน
หากอุตสาหกรรมใดมีสินค้าที่สามารถใช้ทดแทนได้จำนวนมาก ทำให้การแข่งขันสูงขึ้น การแย่งส่วนแบ่งการตลาดและการแบ่งผลกำไรก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากผู้บริโภคหรือลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น
การวิเคราะห์ 5 Forces Model ช่วยให้เข้าใจถึงโครงสร้างและแนวโน้มการดำเนินธุรกิจ และปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไร ทำให้พบจุดแข็งและจุดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและคู่แข่ง และรู้ว่าบริษัทไหนมีความแข็งแกร่งขึ้น หรือกำลังถดถอย
เมื่อวิเคราะห์ 5 Forces Model จะพบว่าหุ้นที่แข็งแกร่งและมีศักยภาพเติบโตในระยะยาวจะมีผลการดำเนินงานตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันเติบโตต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเติบโตต่อไป ซึ่งนักลงทุนสามารถดูจากกำไรต่อหุ้น (EPS Growth) หากมีการเติบโตต่อเนื่องแสดงว่าธุรกิจนั้นมีความแข็งแกร่ง
นอกจากนี้ ยังสามารถพิจารณาจากการบริหารต้นทุนและรายได้ โดยบริษัทที่มีความแข็งแกร่งด้านการดำเนินธุรกิจ อัตรากำไรขั้นต้น (Profit Margin) จะเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอัตราดังกล่าวเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจซบเซาหรือเกิดวิกฤติ หากบริษัทมีอัตรากำไรขั้นต้นเติบโตดี แสดงว่าผู้บริหารมีศักยภาพในการบริหารค่าใช้จ่าย ซึ่งดูจากรายได้และกำไรสุทธิจะต้องเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ขณะเดียว สามารถพิจารณาจากอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถของผู้บริหารในการบริหารงาน จนมีผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน โดยบริษัทที่มีประสิทธิภาพสูง ค่า ROE จะอยู่ในระดับสูง เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน
อีกทั้ง หุ้นที่สามารถลงทุนแล้วนอนตายตาหลับได้ ทีมผู้บริหารต้องมีความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล ดำเนินงานอย่างเปิดเผย บริหารด้วยความซื่อตรง ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่มีประวัติการถูกดำเนินคดี ไม่เข้ามายุ่งกับการซื้อขายหุ้นตัวเองเพื่อเก็งกำไร
ปัจจัยเหล่านี้ คือ คุณสมบัติของหุ้นที่ดีและไว้วางใจได้ ดังนั้น หากนักลงทุนค้นหาหุ้นดังกล่าวเจอและตัดสินใจซื้อก็จะสามารถประสบความสำเร็จในระยะยาวได้
หมายเหตุ : ข้อมูลกำไรต่อหุ้น อัตรากำไรขั้นต้น และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ดูได้ที่เว็บไซต์ของแต่ละบริษัท ในส่วนนักลงทุนสัมพันธ์ โดยจะแสดงตัวเลขดังกล่าวย้อนหลัง 5 – 10 ปี