ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ส่องอนาคตรถยนต์ EV และธีมลงทุนที่รับอานิสงส์
มื่อกว่า 5 ปี ก่อน Tony Seba อาจารย์ด้านธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ทำนายว่าภายในปี 2030 ความนิยมใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล (เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน) จะถึงกาลอวสาน เพราะโลกกำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการคมนาคมขนส่ง ซึ่งจะส่งผลกระทบไปสู่ทุกภาคส่วน โดยจุดสำคัญได้แก่ การเข้ามาสู่ตลาดหลักของรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ที่จะมาทดแทนรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine: ICE) เนื่องจาก 1. มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานมากกว่าถึง 5 เท่าตามหลักอุณหพลศาสตร์ (Thermodynamics) 2. ประหยัดพลังงานกว่าปกติถึง 10 เท่า 3. ค่าบำรุงรักษาถูกกว่า เพราะไม่ต้องมีเครื่องยนต์มากเท่ารถที่ใช้น้ำมัน และ 4. อัตราเร่ง (Torque) แรงกว่ารถธรรมดาถึง 6 เท่า
การปฏิวัติด้านคมนาคมจะมาพร้อมกับเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Li-ion) ที่เป็นแหล่งเก็บพลังงานไฟฟ้า มีราคาถูกลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจากการคำนวณของ Seba พบว่า ราคาลดลงโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 14% และแนวโน้มในอนาคตจะถูกลงยิ่งขึ้น ทำให้ Seba มองว่าในอีก 5 ปี (คือปัจจุบัน) ราคาแบตเตอรี่จะลดลงจนทำให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าเหลือเพียง 31,000 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นราคารถระดับกลางทั่วไป และทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเข้าสู่ตลาด Mass Market ได้
ปัจจุบัน ภาพที่อาจารย์ Seba พูดไว้ เป็นจริงแล้ว ยอดขาย EV ทั่วโลก ซึ่งรวมรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปที่สามารถอัดประจุไฟฟ้า (Plug-in EV: PHEV) และรถยนต์ที่ใช้พลังงานขับเคลื่อนจากแบตเตอรี่ล้วน (Battery EV: BEV) มียอดขายทะยานขึ้นถึงระดับ 3 ล้านคันทั่วโลกในปี 2020 ซึ่งถึงแม้จะเป็นสัดส่วนน้อย (ประมาณ 4%) เมื่อเทียบกับยอดขายรถยนต์ทั่วโลกที่เกือบ 80 ล้านคัน แต่อัตราการเติบโตก็นับได้ว่ารุนแรง เพราะเป็นการขยายตัวกว่า 40% สวนทางตลาดรถยนต์โดยรวมที่หดตัวต่อเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
ในส่วนของแนวโน้มในอนาคตนั้น หลายฝ่ายมองว่าปี 2025 จะเป็นหลักหิน (Milestone) ที่สำคัญในแง่ของเป้าหมายการผลิตและจำหน่าย โดยมุมมองของบางสำนักวิจัย เช่น Goldman Sachs มองว่าอยู่ที่ 11 ล้านคัน ขณะที่ ARK Invest มองว่าอาจเติบโตได้ถึง 40 ล้านคัน หรือกว่า 12 เท่าจากปัจจุบัน โดยปัจจัยหลักที่จะมีผลต่อการเติบโตของการผลิตและยอดขายรถ EV นั้นสามารถแบ่งได้โดยสรุปเป็น 2 ปัจจัยหลัก
ปัจจัยแรก ในเรื่องสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) โดยเฉพาะสถานีอัดประจุแบบรวดเร็ว หรือ Quick Charging Station (ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที) โดยการคาดการณ์จากสำนักวิจัย McKinsey มองว่า จะต้องมีสถานีดังกล่าว 1 หัวจ่ายต่อรถยนต์ไฟฟ้าประมาณ 25 คัน ปัจจุบันจีนซึ่งเป็นประเทศที่ตลาด EV ใหญ่ที่สุดในโลก (กว่า 40% ของยอดขายทั่วโลก) มีสถานีอัดประจุอยู่ที่ประมาณ 50,000 สถานี และเป็น Quick Charging Station ถึงกว่า 20,000 สถานี ขณะที่สหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่เป็นอันดับ 3 (กว่า 10% ของยอดขาย) มีสถานีอัดประจุกว่า 70,000 สถานี และเป็น Quick Charging Station กว่า 10,000 สถานี
ส่วนไทยที่มียอดขายในปี 2020 ที่ประมาณ 34,000 คัน และยอดรวม EV บนท้องถนนประมาณ 180,000 คัน (หรือ 2% ของจำนวนรถยนต์บนท้องถนนทั้งหมด) นั้น มีสถานีอัดประจุประมาณ 2,000 หัวจ่ายเท่านั้น ดังนั้น ในกรณีของไทย การเพิ่มสถานีอัดประจุไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งจำเป็น
ปัจจัยที่สอง ได้แก่ ราคาของรถยนต์ไฟฟ้า ในปัจจุบันราคาของรถ EV ในสหรัฐฯ ที่มีสมรรถนะใกล้เคียงกับรถ Toyota Camry นี้ (วิ่งประมาณ 350 ไมล์ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง) มีราคาอยู่ที่ประมาณ 39,000 ดอลลาร์ (ใกล้เคียงกับที่อาจารย์ Seba คาดไว้เมื่อ 5 ปีก่อน ว่าจะอยู่ที่ประมาณ 35,000 ดอลลาร์) ซึ่งสูงกว่า Toyota Camry ที่ 25,000 ดอลลาร์เล็กน้อย ขณะที่ในปี 2025 มีการคาดการณ์ว่าเป็นไปได้ที่ราคารถยนต์สมรรถนะดังกล่าวจะลดลงต่ำกว่า 20,000 ดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้รถ EV สามารถแข่งขันได้เมื่อเทียบกับรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป (ICE)
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนของรถ EV กับ รถ ICE จะพบว่าต้นทุนของรถ EV ในส่วนประกอบอื่นๆ ยกเว้นระบบส่งกำลัง (Powertrain) นั้น ต้นทุนของรถ EV ถูกกว่ารถ ICE เล็กน้อย แต่ระบบส่งกำลัง (ที่รวมถึงแบตเตอรี่ มอเตอร์ และอื่นๆ) นั้น สูงกว่ารถ ICE กว่าเท่าตัว ดังนั้น พัฒนาการของรถ EV ในยุคถัดไป จะเป็นการพัฒนาเพื่อลดต้นทุนในส่วนของแบตเตอรี่เป็นหลัก
ในปัจจุบัน แบตเตอรี่ที่มีการพัฒนาและใช้ในรถ EV มี 3 ลักษณะใหญ่ ได้แก่
จากการประเมินข้อดีและข้อเสียของแบตเตอรี่ของแต่ละประเภท ฝ่ายวิจัยการลงทุน SCBS มองว่าแบตเตอรี่แบบ NMC จะเป็นเทคโนโลยีกระแสหลักในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก เนื่องจากกระแสการผลิตในช่วงต่อไปน่าจะมีการลดการใช้โคบอลต์ซึ่งมีราคาแพงกว่าสารเคมีประเภทอื่น และเพิ่มสารเคมีที่ช่วยเพิ่มกำลังไฟฟ้าอย่างนิกเกิล อย่างไรก็ดี ต้องติดตามเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น หากว่ามีการใช้โคบอลต์น้อยลง
ในส่วน LFP ฝ่ายวิจัยการลงทุน SCBS คาดว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีนี้อยู่ต่อเนื่อง และผลิตในจีนเป็นสำคัญ แต่สัดส่วนจะลดลง ในขณะที่ภูมิภาคอื่นจะพัฒนาในเทคโนโลยี NMC มากกว่า เนื่องจากจีนและตลาด EM ยังต้องอาศัยแบตเตอรี่ราคาถูกแต่ประสิทธิภาพไม่สูง จึงไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่สูงมากนัก ทั้งนี้ สำนักวิจัย Goldman Sachs ก็มองในแบบเดียวกัน โดยมองว่าในปี 2030 นั้น สัดส่วนการใช้เทคโนโลยีแบบ NMC จะเพิ่มขึ้น (กล่าวคือ จะใช้นิกเกิลมากขึ้น) เป็น 60-70% ของการผลิตทั้งหมด จากประมาณ 40%-50% ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม SCBS คาดว่า ในช่วงปี 2021-2025 น่าจะมีนวัตกรรมที่ทำให้เปลี่ยนเทคโนโลยีของแบตเตอรี่ แต่ยังอยู่บนลิเธียมเหมือนเดิม สิ่งที่เราเห็นการพัฒนาคือ Solid State ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า ปลอดภัย เสถียร และน้ำหนักเบากว่าปัจจุบัน ส่วนอีกเทคโนโลยีคือ Lithium-air ที่กำลังศึกษา และมีการวิจัยเบื้องต้นประเมินว่าจะให้กำลังไฟฟ้าสูงมากถึง 700-800 Wh/kg จากเป้าหมาย 900 Wh/kg
SCBS มองว่า จากการเปรียบเทียบราคาวัตถุดิบสำคัญในการผลิตแบตเตอรี่ พบว่าโคบอลต์มีราคาสูงกว่านิกเกิลประมาณ 1.7x ประกอบกับเทคโนโลยีที่ต้องการกำลังไฟฟ้าที่สูงขึ้น ด้วยสองประเด็นนี้จึงทำให้นิกเกิลจะมีความต้องการสูงขึ้นและโคบอลต์จะลดต่ำลง อย่างไรก็ดี การที่นิกเกิลมีอุปทานที่สูงกว่าอุปสงค์ในช่วงปี 2025-2030 แต่โคบอลต์นั้นมีสภาวะอุปสงค์มากกว่าอุปทานทั้งในปัจจุบันและอนาคต SCBS จึงมองว่าราคาของนิกเกิลจะไม่เพิ่มอย่างก้าวกระโดด ซึ่งจะส่งผลดีกับผู้ผลิตแบตเตอรี่ ดังนั้น เราจึงชอบผู้ผลิตแบตเตอรี่มากกว่าราคาของนิกเกิลหรือเหมืองแร่นิกเกิลที่มีความผันผวนมากกว่า และมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่ไม่ใช่จากธีมรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า นอกจากนั้น ปริมาณสำรองนิกเกิลและโคบอลต์ทั่วโลกมีอยู่ในระดับสูง จึงทำให้ภาวะการขาดตลาดของวัตถุดิบมีโอกาสอยู่ในระดับต่ำ
นอกจากนั้น อีกธีมการลงทุนหนึ่งที่น่าสนใจได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรีไซเคิลและการนำกลับมาใช้ของแบตเตอรี่ ที่จะมีความน่าสนใจในระยะยาว โดยหากเราพิจารณาจากอายุการใช้งานราว 5-7 ปี หรือราว 1.6-2 แสนกิโลเมตร ทำให้เราประเมินว่าธุรกิจรีไซเคิลแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้านั้นจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ในปี 2025 และมีการเติบโตสูงมากในปี 2030 บนสมมติฐานว่า ในปี 2025 ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าจะเริ่มเป็นปริมาณที่สูงในเชิงพาณิชย์ จึงจะทำให้เกิดการประหยัดจากขนาดการรีไซเคิล ซึ่งอาจจะสูงกว่า 200 GWh โดยประมาณ 10% ของส่วนผสมสารเคมีในแบตเตอรี่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยเฉพาะวัตถุดิบที่สำคัญอย่างโคบอลต์ นิกเกิล และทองแดง ในช่วงต้นของการรีไซเคิลมีเพียงแค่ 50% ของแบตเตอรี่ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ดังนั้น เราจึงมองว่าธุรกิจรีไซเคิลนั้นน่าสนใจในระยะยาว แต่ยังมีเทคโนโลยีที่ต้องพัฒนา รวมถึงเทคโนโลยีของแบตเตอรี่ด้วย ที่อาจจะทำให้การีไซเคิลทำได้มากกว่า 50% การลงทุนในส่วนนี้อาจจะพิจารณาหลังจากเห็นภาพของการเติบโตของรถยนต์ EV อย่างชัดเจนก่อน
ดังนั้น ในการลงทุนในธีมรถ EV เราจึงแบ่งการแนะนำดังนี้
ทั้งหมดนี้คือแนวโน้มของรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต และแนวทางในการลงทุนในธีมดังกล่าว ที่แนะนำให้นักลงทุนเพื่อการตัดสินใจ
ธีมการลงทุนใหม่เกิดขึ้นแล้ว นักลงทุนโปรดใช้วิจารณญาณก่อนตัดสินใจ
บทความโดย ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ ฝ่ายวิจัยการลงทุน บ.หลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด และคุณสิทธิชัย ดวงรัตนฉายา ผู้อำนวยการอาวุโส นักวิเคราะห์การลงทุน ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์ บล. ไทยพาณิชย์
ที่มา :
The Standard Wealth