ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เมื่อกองทุนรวมตราสารหนี้โดนเก็บภาษี 15% ควรลงทุนอะไรต่อดี?
จากการที่รัฐบาลได้ประกาศนโยบายการจัดเก็บภาษีเงินได้จากการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมเมื่อพฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา ทำให้ภาระภาษีจากการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม มีความเท่าเทียมกับการลงทุนในตราสารหนี้โดยตรง ทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ลดลง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค. 2562 เป็นต้นไป นักลงทุนที่มีการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้อยู่ก่อน หรือผู้ที่กำลังสนใจจะลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้อาจเกิดคำถามว่า แล้วเราจะทำอย่างไรต่อ จะมีทางเลือกการลงทุนอะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
ก่อนอื่นเรามาดูกันว่ากองทุนใดบ้างที่จะได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีในครั้งนี้ ซึ่งกองทุนที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ กองทุนที่มีการลงทุนในตราสารหนี้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นกองทุนตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้ และกองทุนตราสารหนี้แบบกำหนดอายุโครงการ (Term Fund) นอกจากนี้หากกองทุนประเภทอื่นอย่างกองทุนผสม หรือกองทุนหุ้น ที่มีการลงทุนในตราสารหนี้ ดอกเบี้ยที่กองทุนได้รับก็จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเช่นกัน
กองทุนรวมตราสารหนี้แบบกำหนดอายุโครงการ (Term Fund) ที่ลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ จะถูกเรียกเก็บภาษี 15% ด้วยเช่นเดียวกัน โดยหากประเทศต้นทางเรียกเก็บภาษีไว้แล้วมากกว่าหรือเท่ากับ 15% ของดอกเบี้ยรับ กองทุนรวมจะไม่ต้องเสียภาษีต่อกรมสรรพากรเพิ่มเติมอีก แต่หากเรียกเก็บน้อยกว่า 15% ของดอกเบี้ยรับ หรือไม่เรียกเก็บเลย กองทุนรวมจะต้องเสียภาษีส่วนต่างต่อกรมสรรพากร จึงไม่เป็นการเรียกเก็บภาษีซ้ำซ้อน
ส่วนกองทุนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีของดอกเบี้ยตราสารหนี้มี 2 กลุ่ม ดังนี้
นอกจากนี้ กองทุนรวมตราสารหนี้แบบกำหนดอายุโครงการที่ได้เสนอขายก่อนวันที่ 20 ส.ค. 62 จะไม่ได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีตราสารหนี้ ผู้ลงทุนยังคงได้รับผลตอบแทนที่คาดหวังตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ส่วนผู้ที่ลงทุนในกองทุนตลาดเงิน กองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสม และกองทุนอื่นๆ ซึ่งมีการลงทุนในตราสารหนี้ ดอกเบี้ยของกองทุนเหล่านี้จะค่อยๆ ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามการเริ่มต้นลงทุนในตราสารหนี้ของกองทุนนั้นๆ ดังนั้น ในช่วงที่กฎหมายมีผลบังคับใช้จริง ผลตอบแทนของกองทุนจะไม่ปรับลดลงในทันที แต่จะค่อยๆ ปรับลดลงตามการลงทุนตราสารหนี้รอบใหม่หลังวันที่ 20 ส.ค. 62
แนวทางการลงทุนอื่นๆ สามารถพิจารณาจากความสามารถในการรับความเสี่ยง ดังนี้
ดังนั้น คำแนะนำการลงทุน คือ ให้นักลงทุนเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกัน เช่น เงินฝากธนาคาร หรือเงินฝากประจำและพันธบัตรรัฐบาล จะพบว่าการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ยังคงให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า แม้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว
นอกจากนี้ หากนักลงทุนมีการสร้างพอร์ตการลงทุนระยะยาวเพื่อการเกษียณอายุ แนะนำลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ RMF ที่ลงทุนในตราสารหนี้แทน แต่หากต้องการพักเงิน หรือเป็นการลงทุนระยะสั้นก็ยังสามารถลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ได้ แม้ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้จะลดลงก็ตาม และหากนักลงทุนสามารถรับความเสี่ยงได้สูงขึ้น อาจพิจารณากระจายการลงทุนไปยังสินทรัพย์อื่นๆ เพิ่มเติม อย่างไรก็ตามอย่าลืมพิจารณาถึงเป้าหมายการลงทุน ระยะเวลาการลงทุน และระดับความเสี่ยงที่รับได้ของตนเอง ประกอบการตัดสินใจลงทุนเสมอ
บทความโดย : นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร