ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
4 ขั้นตอนเป็นนักลงทุน DIY ยอดเยี่ยม
หากต้องการเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ ทำได้ไม่ยาก ขอเพียงเชื่อมั่น มีนิสัยการลงทุนที่ดี ทุ่มเท ศึกษาและค้นหา พัฒนาจนมีสไตล์การลงทุนเป็นของตัวเอง ก็จะมีโอกาสสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองได้ สำหรับขั้นตอนการเตรียมตัวเพื่อเป็นนักลงทุนที่ยอดเยี่ยม มีดังนี้
1.สร้างฐานทางการเงินให้แข็งแกร่ง
เมื่อนักลงทุนได้เข้าลงทุนและต่อมาได้ทำการขายสินทรัพย์การลงทุนนั้นในช่วงที่ตลาดการลงทุนปรับลดลงอย่างฉับพลันและรุนแรง (Market Crash) ทำให้เกิดการสูญเสียเงิน ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ ความกลัวและขาดการวางแผนทางการเงินที่ดี
ถึงแม้ว่าในช่วงตลาดหุ้นปรับลดลง นักลงทุนอาจไม่ต้องการขายหุ้นออกไปแต่ถ้าไม่มีทางเลือก เช่น ตกงานและไม่มีเงินกองทุนฉุกเฉินหรือเงินสำรองเพียงพอ ก็จำเป็นต้องขายหุ้นที่ตัวเองถือเพื่อนำเงินสดมาใช้ในการดำรงชีวิต
ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเป็นนักลงทุนและหลีกเลี่ยงปัญหาเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ควรวางแผนทางการเงินขั้นพื้นฐานก่อนเริ่มลงทุน ดังนี้
2.พิจารณาทางเลือกลงทุน
กรณีที่ต้องการลงทุนในหุ้นหรือกองทุนรวม ควรศึกษาหาความรู้ให้ละเอียด เช่น อบรมสัมมนา หรือปรึกษานักวางแผนการเงิน เพราะการได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ นอกจากได้ข้อมูลด้านทฤษฎีการลงทุนแล้วยังได้รับประสบการณ์ที่ผู้เชี่ยวชาญได้พบจากลูกค้าที่หลากหลาย นอกจากนี้ ควรจดบันทึกสถิติของสถานการณ์การลงทุนในแต่ละช่วงไว้ด้วย ซึ่งจะช่วยเพิ่มข้อมูล การบริหารความเสี่ยงและทางเลือกสำหรับการตัดสินใจลงทุน
นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีการใช้ Robo-Advisor ที่มีจุดเด่นในการนำเทคโนโลยีสมองกลอัจฉริยะหรือ AI มาผนึกกำลังกับผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนเพื่อช่วยออกแบบและบริหารพอร์ตกองทุนรวมอัตโนมัติให้กับนักลงทุน ซึ่งเหมาะกับนักลงทุนที่เน้นการจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ โดยใช้เป้าหมายและระยะเวลาที่ต้องการลงทุนเป็นตัวกำหนด เพื่อให้ได้ผลตอบแทนในระดับที่นักลงทุนต้องการ และเป็นไปตามความเสี่ยงที่นักลงทุนยอมรับได้
3.ตัดสินใจอย่างมีเหตุมีผล
เนื่องจากสินทรัพย์การลงทุนที่จะเข้าไปลงทุนมีหลายประเภท เช่น หุ้น กองทุนรวม ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ เป็นต้น ดังนั้น ก่อนลงทุนต้องแน่ใจว่าเลือกลงทุนอย่างถูกต้อง เป็นของดี ราคาเหมาะสม หรือตอนขายก็มีคนอื่นต้องการซื้อต่อและขายได้ไม่ขาดทุน หรือระหว่างการถือครองสินทรัพย์ก็ยังสามารถสร้างผลตอบแทนจากเงินปันผลได้อย่างสม่ำเสมอ
แม้ว่าสินทรัพย์ลงทุนแต่ละประเภทจะมีลักษณะเฉพาะต่างกัน แต่ก็มีหลักการพื้นฐาน 2 ประการที่ควรรู้ก่อนการลงทุน ได้แก่ 1.การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่จะมีผลต่อสินทรัพย์นั้นทั้งภายในและภายนอก ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในการเลือกลงทุนใน สินทรัพย์ที่มีปัจจัยพื้นฐานดีได้อย่างมั่นใจ และ 2.การวิเคราะห์ปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาวะเศรษฐกิจ นโยบายภาครัฐ อัตราดอกเบี้ย การว่างงาน เป็นต้น เพื่อใช้บอกถึงจังหวะเข้าออกเพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสมในการซื้อขายสินทรัพย์ลงทุนนั้น
4.เรียนรู้ที่จะรับมือกับความผันผวน
นักลงทุน DIY อาจตัดสินใจผิดพลาดจนส่งให้ผลตอบแทนการลงทุนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เพียงเพราะการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนมากเกินไป โดยผลการศึกษาจาก Morningstar พบว่า ผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุนรวมที่ลงทุนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะอยู่ประมาณ 7.05% ต่อปี แต่เมื่อศึกษาจากนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนเหล่านั้น พบว่าผลตอบแทนอยู่ที่ประมาณ 6.1% ต่อปี ซึ่งมีความต่างเกือบ 1% ต่อปี สาเหตุสำคัญมาจากนักลงทุนมีการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนระหว่างทาง เพราะกลัวว่าตลาดหุ้นจะปรับลดลงจึงทำการขายออกไป
สิ่งที่จะช่วยคลายความวิตกเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ คือ การศึกษาหาข้อมูลการลงทุนที่เชื่อถือได้ บางครั้งการวิ่งตามกระแสอาจทำให้พลาดจากผลตอบแทนที่คาดไว้ ดังนั้น ข้อมูลจึงเป็นขุมพลังที่สำคัญที่สุดในช่วงที่สภาวะตลาดมีความผันผวน
ขณะเดียวกันควรเรียนรู้การบริหารความเสี่ยง ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนแล้วทำให้ต้องตัดสินใจขายสินทรัพย์ออกจากพอร์ตลงทุน แสดงว่าพอร์ตมีสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเกินกว่าสัดส่วนและเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ วิธีแก้ปัญหา คือ การจัดระดับความเสี่ยงของสินทรัพย์ในพอร์ตลงทุน โดยต้องคำนึงถึงช่วงเวลาที่มีความผันผวนมากที่สุดไว้ด้วยตั้งแต่แรก
การลดความเสี่ยงอาจทำให้สูญเสียผลตอบแทนที่คาดหวังในอนาคต แต่จะมีความหมายอะไร หากเกิดความผันผวนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในตลาดหุ้นและจำเป็นต้องขายสินทรัพย์ในช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดและต้องขาดทุนแทนที่จะได้ผลตอบแทน ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องจำเป็นและต้องเริ่มตั้งแต่การจัดสรรสินทรัพย์การลงทุนเพื่อลดการขาดทุนกรณีเกิดความผันผวนในตลาด