ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การลงทุนแบบ DCA คืออะไร ทางเลือกที่น่าสนใจ ช่วยในการลงทุน
การลงทุนแบบ Dollar-Cost- Averaging (DCA) คือเป็นการลงทุนโดยถัวเฉลี่ยต้นทุนโดยลงทุนด้วยจำนวนเงินที่เท่าๆกัน ในระยะเวลาหนึ่งอย่างต่อเนื่อง เช่น ลงทุนทุกวันที่ 15 ของทุกเดือน หรือ ลงทุนในช่วงต้นเดือนหลังจากเงินเดือนออก ซึ่งจะช่วยสร้างวินัยในการออม และการลงทุน อีกทั้งยังมีข้อดีอื่นๆ อีกดังนี้
1. บริหารจัดการภาวะกลัวและโลภของนักลงทุน
ด้วยความที่ตลาดเคลื่อนไหวผันผวน จากข่าวสารและข้อมูลต่าง ๆ ทั้งเรื่องเศรษฐกิจโลก นโยบายการเงินของธนาคารกลางแต่ละประเทศ หรือผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน ส่งผลให้ในช่วงที่มีข่าวดีนั้น ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นไปอย่างมาก เช่น ปรับตัวสูงขึ้น 10% ภายในเดือนเดียว ก็อาจส่งผลให้นักลงทุนเกิดภาวะ “โลภ” ในเงินจำนวนมาก เพราะคาดว่าในอนาคตก็จะได้ผลตอบแทนประมาณ 8-10% เหมือนช่วงที่ผ่านมา แต่ความเป็นจริงแล้ว ตลาดอาจปรับตัวลดลง ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดทุนอย่างหนักได้
แต่ในทางกลับกัน หากตลาดปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง เช่น ปรับตัวร่วงลง -15% นักลงทุนก็จะเกิดภาวะ “กลัว” ส่งผลให้นักลงทุนจะไม่กล้าเข้าลงทุนในช่วงที่ตลาดปรับตัวลง ส่งผลให้ไม่ได้กำไรจากการฟื้นตัวของตลาดกำไรจากการฟื้นตัวของตลาด ซึ่งการใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบ DCA จะขจัดอารมณ์ของนักลงทุนออกไป ส่งผลให้การตัดสินใจของนักลงทุนจะอยู่ที่เพียงว่า ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใด หรือตลาดหุ้นประเทศไหนมากกว่าการที่จะต้องมากังวลกับการจับจังหวะตลาด
2. ลดความเสี่ยง และความผันผวนของพอร์ตการลงทุน
การลงทุนแบบ DCA จะช่วยลดความเสี่ยง และความผันผวนของการลงทุนได้ เนื่องจากการที่เราเฉลี่ยต้นทุนในการลงทุน ตัวอย่างเช่น หากลงทุนในช่วงที่ตลาดเกิดการปรับตัวรุนแรง เช่นช่วงปี 2020 ที่มีสถานการณ์โควิด-19 ถ้าหากลงทุนแบบครั้งเดียว (Lump-sum) ช่วงต้นปีในตลาดหุ้น S&P500 ก็จะมีเดือนที่ขาดทุนสูงสุดถึง -20% และเมื่อสิ้นปี จะได้ผลตอบแทน อยู่ที่ 16.26%
แต่หากเราลงทุนแบบ DCA ก็จะทำให้เดือนที่ขาดทุนมากที่สุดลดลงเหลือเพียง -17.46% และเมื่อตลาดฟื้นตัวกลับมา ก็ยังได้ผลตอบแทนสิ้นปี 2020 อยู่ที่ 19.26% มากกว่าการลงทุนแบบครั้งเดียวอีกด้วย ดังนั้นการลงทุนแบบ DCA จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่ไม่ต้องการให้เงินลงทุนผันผวนมาก แต่ต้องการลงทุนระยะยาวเพื่อสร้างผลตอบแทนต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ หรือนักลงทุนที่ยังไม่มีเวลาติดตามข่าวสาร สภาวะตลาดต่าง ๆ เพื่อที่จะจับจังหวะในการเข้าลงทุน
กลยุทธ์ของ DCA ดูแล้วไม่มีจุดอ่อนเลยจริงหรือ
ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่มีแต่ข้อดี 100% แน่นอนว่ากลยุทธ์ DCA ก็เช่นกัน แม้ว่าการลงทุนแบบ DCA จะมีข้อดีหลายข้อแต่ก็มีจุดอ่อนอยู่ ซึ่งก็คือ “หากตลาดเป็นขาขึ้น จะได้รับผลตอบแทนน้อยลง” เพราะการลงทุนแบบ DCA เมื่อเทียบกับการลงทุนแบบครั้งเดียว (Lump-sum) ในจำนวนเงินที่เท่ากัน จะทำให้พลาด “ผลตอบแทนทบต้น” หากผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่ลงทุนมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หรือตลาดหุ้นอยู่ในภาวะกระทิง (Bullish)
จากการจำลองตัวอย่างจากตารางข้างล่างนี้ จะเห็นได้ชัดว่า การลงทุนแบบครั้งเดียวได้ผลตอบแทน 15.87% สูงกว่าการลงทุนแบบ DCA ที่ได้เพียง 10.64%
อย่างไรก็ตาม ทุกกลยุทธ์นั้นมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้ว นักลงทุนมักจะมีการนำเงินเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมเป็นระยะ ๆ อยู่แล้ว เช่น นำเงินเดือนบางส่วน หรือกำไรจากกิจการบางส่วนมาลงทุน ซึ่งแตกต่างกับนักลงทุนสถาบัน หรือกองทุนปิดที่มีเงินลงทุน และระยะเวลาลงทุนที่ชัดเจน
การลงทุนแบบ DCA จึงเหมาะสมกับการลงทุนในกองทุนประเภท Super Saving Fund (SFF) และ Retirement Fund (RMF) ที่ต้องลงทุนทุกปี เพื่อลดหย่อนภาษี เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ผลตอบแทนจากตลาดซึ่งปกติมีทั้งช่วงที่กำไร และขาดทุนได้ ขณะที่โอกาสที่ตลาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวตามตัวอย่างด้านบน โดยไม่มีการปรับตัวลดลงเลย ก็ไม่ใช่สิ่งที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้มากนัก ในสภาวะการลงทุนในปัจจุบันครับ
กองทุนแนะนำจาก SCB
เขียนโดย SCBS Chief investment office
ผู้เขียน : นายภาณุวัฒน์ อิงคะสุวณิชย์ – ผู้จัดการ Chief Investment Office บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์
ผู้ตรวจทาน : น.ส.เกษรี อายุตตะกะ, CFP® - ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ Chief Investment Office บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์