เทคนิคเตรียมความพร้อมและเหตุผลที่ SME ไทยควรไปขายตลาดโลกกับ Amazon.com

ในยุคดิจิทัลที่โลกทั้งใบถูกเชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตส่งข้อมูลภาพสีเสียงไปยังอีกซีกโลกในชั่วพริบตา ธุรกิจการค้าก็แทบไร้พรมแดน โอกาสการเข้าถึงลูกค้าในตลาดต่างประเทศไม่ถูกจำกัดด้วยระยะทางอีกต่อไป เทรนด์ธุรกิจที่น่าจับตามองก็คือ Cross-Border E-Commerce หรือการขายของออนไลน์ข้ามประเทศผ่านช่องทาง Amazon Global Selling บนเว็บไซต์ Amazon.com ออนไลน์มาร์เก็ตเพลสที่ยิ่งใหญ่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจำหน่ายสินค้าเข้าถึงผู้บริโภคทั่วโลก

น้อยคนที่จะไม่รู้จัก www.amazon.com เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซระดับโลก โดยสัดส่วนยอดขายสินค้าที่ขายบน Amazon.com กว่า 60% มาจากธุรกิจผู้ประกอบการ SME ซึ่งมีผู้ประกอบการทั่วโลกมากกว่า 2 แสนรายที่สามารถทำรายได้มากกว่า 1  แสนเหรียญสหรัฐต่อปี (ประมาณ 3 ล้านบาท) และจำนวนหนึ่งในนั้นมียอดขายสูงถึงปีละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 30 ล้านบาท) ในปีที่ผ่านมาผู้ประกอบการกลุ่มนี้เติบโตขึ้นถึง 20% ตัวเลขเหล่านี้บ่งบอกว่า Amazon.com ให้การสนับสนุนผลักดันผู้ประกอบการ SME อย่างเต็มที่ในฐานะที่เป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจของ Amazon.com 

ทำไมควรขายของผ่าน Amazon Global Selling

  • ตลาดต่างประเทศ  เช่น สหรัฐอเมริกาทีมีดีมานด์ในตลาดออนไลน์สูงกว่าประเทศไทย 20 เท่า Amazon มีศักยภาพเต็มที่ในการช่วยผู้ประกอบการ SME เปิดตลาดขายสินค้าออนไลน์ในอเมริกา

  • Amazon.com เป็นออนไลน์มาร์เก็ตเพลสชั้นนำของโลก สามารถเข้าถึงลูกค้ามากกว่า 300 ล้านคนจาก 185 ประเทศทั่วโลก ตลอดเวลา 25 ปีตั้งแต่ก่อตั้ง Amazon.com ได้พัฒนาระบบงานต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับ seller ที่เป็น partner

  • ระบบ Fulfillment by Amazon (FBA) บริการโลจิสติกส์ โซลูชั่นของ Amazon.com เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้การค้าปลีกออนไลน์ ทั้งการจัดการออเดอร์ การจัดส่งสินค้าเป็นเรื่องง่าย และรวดเร็วมาก เพียงแค่ส่งสินค้าไปที่คลังสินค้าของ Amazon.com ที่อเมริกา เมื่อมีออเดอร์เข้ามา ทางเจ้าหน้าที่ Amazon.com จะทำการแพ็คของและจัดส่งไปให้ลูกค้า รวมถึงดูแลงานด้าน Customer Service เช่นการตอบคำถามลูกค้า และการเปลี่ยนหรือคืนสินค้าด้วย

  • ระบบ Fulfillment by Amazon (FBA) เปิดโอกาสให้ผู้ค้าทั่วโลกได้ใช้พัฒนาธุรกิจ โดยสิ่งที่พิเศษก็คือฐานลูกค้าที่เป็นสมาชิก Prime Member ของ Amazon.com จำนวน 100 ล้านคน เป็นลูกค้ากลุ่มที่จ่ายค่าสมาชิกเพื่อให้ได้สิทธิพิเศษยกเว้นค่าส่งตลอดปีและจัดเป็นกลุ่ม Heavy Buyer ที่ซื้อของเป็นประจำเฉลี่ยทุกอาทิตย์ และปริมาณการซื้อต่อครั้งมากกว่าลูกค้าธรรมดา 2 เท่า ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้ชอบซื้อของที่จัดส่งโดย Amazon.com (ที่หลังบ้านบริหารจัดการผ่านระบบ FBA)

  • การจำหน่ายสินค้าบนเว็บ Amazon.com ปลดล็อคข้อจำกัดต่างๆ ของการทำตลาดต่างประเทศในรูปแบบเดิม เช่น การออกบูธงานเทรดโชว์ในต่างประเทศ หาตัวแทนจำหน่ายท้องถิ่น ซึ่งต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง เพียงใช้ทุนค่าสินค้ารวมค่าขนส่งและค่าโฆษณาเริ่มต้นที่หลักหมื่น สินค้าของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยก็สามารถกระจายไปทั่วโลกเข้าถึงตลาดลูกค้ากว่า 300 ล้านคนผ่านทางเว็บ Amazon.com ซึ่งนับเป็นวิธีการเปิดตลาดในต่างประเทศที่มีค่าใช้จ่ายน้อยเมื่อเทียบกับการไปเปิดตลาดในต่างประเทศด้วยวิธีการแบบเดิม
เช็คลิสต์ความพร้อมก่อนบุกตลาดอเมริกา

  • ต้องเลือกสินค้าให้ถูกต้อง ลองพิจารณาถึงสินค้าอื่นๆ นอกเหนือจากสินค้าแนวเอกลักษณ์ไทย ไม่ต้องยึดติดกับความเป็นไทย อย่างพวกโอท็อป หรืออาหารไทย ให้คิดถึงความเป็นสากล แต่เป็นสินค้าที่เข้ากับไลฟ์สไตล์รสนิยมของชาวอเมริกัน เช่น ของใช้ในครัวเรือนที่ทำจากไม้ ซึ่งงานไม้เป็นจุดแข็งของผู้ประกอบไทย ซึ่งไม่ใช่งานไม้แกะสลัก แต่เป็นของที่มีฟังก์ชั่นที่ใช้งานได้ทั่วไป พวกสินค้าแฟชั่นก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนดีไซน์ ให้เหมาะกับรสนิยมความชอบของกลุ่มตลาดลูกค้า

  • สำรวจตลาด ตรวจวัดศักยภาพของสินค้า เริ่มแรกเข้าไปในเว็บไซต์ Amazon.com ความต้องการสินค้าแบบของเรา หรือแบบคล้ายๆ ของเรา ดูปริมาณการซื้อ รีวิว จำนวนคู่แข่ง ศึกษาราคาขายและต้นทุน

  • ศึกษากฎหมายข้อบังคับในตลาดประเทศปลายทาง สินค้าที่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตต่างๆ เช่น การจำหน่ายสินค้าบริโภคในสหรัฐต้องมีใบอนุญาต USFDA เป็นต้น  

  • คิดคำนวณต้นทุนการผลิต รวมกับค่าขนส่งไปยังอเมริกา แล้วสามารถแข่งขันในตลาดได้


ถ้าผ่าน 3 ข้อก็มีโอกาสประสบความสำเร็จในการสร้างธุรกิจบน Amazon.com

ใครที่เหมาะขายของบน Amazon.com

1) กลุ่ม Reseller ซื้อมาขายไป ที่ซื้อของล็อตใหญ่ในราคาขายส่ง แล้วมาขายปลีกบน Amazon

2) Brand-Owner/OEM ผู้ผลิตสินค้า เจ้าของแบรนด์สินค้า ที่ต้องการให้สินค้าเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในตลาดโลก
 

3) Private Label นักธุรกิจที่เล็งเห็นโอกาสว่าสินค้าอะไรเป็นที่นิยม ก็สั่งผลิตล็อตเล็กๆ เพื่อส่งจำหน่าย
 


สรุปภาพรวมขั้นตอนการทำ Cross-Border E-Commerce กับ Amazon Global Selling Thailand
 

o   เปิดบัญชีกับ Amazon.com
 

o   อัพโหลดข้อมูลสินค้า
 

o   จัดส่งสินค้าไปยังคลังสินค้า Amazon ที่อเมริกา
 

o   โปรโมทร้านและสินค้า
 

o   รับเงินจากการขายสินค้า
 

ขั้นตอนทั้งหมดนี้ Amazon Global Selling Thailand และพันธมิตร มีบริการต่างๆ ที่พร้อมจะช่วยผู้ประกอบการ SME ให้ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายสินค้าออนไลน์ในตลาดอเมริกา เช่น DHL บริการด้านขนส่ง, SCB ให้คำปรึกษาและผูกบัญชีวอลเล็ต Payoneer และรับโอนเงินเป็นสกุลเงินบาทเข้าบัญชี ซึ่งทาง Amazon Global Selling Thailand จะมีทีมงาน Account Manager ช่วยให้คำปรึกษาด้านต่างๆ ดูแลไปในทุกสเต็ป  การทำการตลาด โฆษณาโปรโมทร้าน การตั้งราคา มอนิเตอร์คู่แข่ง เป็นแนวทางที่นำผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จ

โปรแกรม Jumpstart ที่ Amazon ร่วมกับ SCB เปิดให้ผู้ประกอบการ SME เห็นโอกาสการขยายสู่ต่างประเทศในรูปแบบใหม่ และเข้าใจกระบวนการ Cross-Border E-Commerce ตั้งแต่ต้นจนจบ และมีทีมงานช่วยสนับสนุนตลอดทุกขั้นตอน SCB ให้คำแนะนำเรื่องการเงิน ตั้งแต่การโอนเงิน การเปิดบัญชี การทำ Bank Statement เพื่อยืนยันตัวตน การผูกบัญชีกับ E-Wallet ของ Payoneer ทำให้การโอนเงินยอดขายกลับมาเป็นเงินบาทเป็นเรื่องง่าย และยังมีทีม Academy ของ SCB ที่เป็นเทรนเนอร์ให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องธุรกิจอื่นๆ รวมถึงการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อหาสินค้าและการวิเคราะห์เทียบกับคู่แข่ง ฯลฯ และในอนาคตที่ยอดขายเติบโตขึ้น จำเป็นต้องเพิ่มการผลิตให้ทันกับความต้องการของตลาด SCB ก็จะช่วยดูแลเรื่องสินเชื่อเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจด้วย
 

สำหรับผู้ที่สนใจกิจกรรมดีๆ ที่ SCB มอบให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในครั้งต่อไป สามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมของธนาคารได้ผ่าน SCB SME Community จากช่องทาง Facebook Group และ ทางเว็บไซต์ของ SCB SME  -ที่นี่-