ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เจาะลึก "Micro Lending" กับ New Ways of Working สไตล์ MONIX
จากผลสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีกลุ่มคนที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินขั้นพื้นฐาน เมื่อเจาะลึกลงไปด้านบริการกู้เงิน จะพบว่าคนไทยกว่าร้อยละ 25 หรือประมาณ 17 ล้านคนไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบที่ให้บริการโดยสถาบันการเงินได้ ทำให้เกิดคำถามว่า คนที่ถูกคัดออกไปเป็นกลุ่มคนที่ไม่มีคุณสมบัติจริงหรือไม่ และเป็นไปได้แค่ไหนที่คนเหล่านั้น จะสามารถได้รับโอกาสเข้าถึงบริการทางการเงินในระบบได้ คุณถิรนันท์ อรุณวัฒนกูล (หนึ่ง) COO MONIX Co.,Ltd บริษัทในกลุ่มธุรกิจของธนาคารไทยพาณิชย์ จะมาเล่าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยหรือคนหาเช้ากินค่ำให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบ รวมไปถึง New Ways of Working สไตล์ MONIX
ทำความรู้จัก MONIX
MONIX บริษัทร่วมทุนของธนาคารไทยพาณิชย์ และ Abakus บริษัท Holding Company ทางด้านเทคโนโลยีจากจีน เน้นการทำ Digital Lending ให้กลุ่มลูกค้าที่เข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน โดยใช้ความต้องการของลูกค้ามาออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ เนื่องจากธนาคารมีเป้าหมายที่จะสร้างการเติบโตในธุรกิจ Digital Lending ต่อไปในระยะยาว ทั้งนี้ธนาคารถือหุ้นในสัดส่วน 60% และ Abakus Ltd. ถือหุ้นสัดส่วน 40% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท
Micro Lending ผลิตภัณฑ์ช่วยคนรายได้น้อยเข้าถึงแหล่งเงินกู้
MONIX ต้องการแก้ไขปัญหาหลักสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย อาชีพอิสระ หรือหาเช้ากินค่ำ เวลาไปขอกู้เงินกับสถาบันการเงินมักจะได้รับการปฏิเสธเพราะไม่มีหลักฐานทางการเงินหรือสลิปเงินเดือน ทำให้ขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบจึงต้องหันไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบที่มีความเสี่ยงและอัตราดอกเบี้ยสูง ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่สามารถออกจากวงจรหนี้นอกระบบไปได้ จึงได้ออกผลิตภัณฑ์ Micro Lending เพื่อให้คนกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงวงเงินกู้มากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อขนาดเล็กที่มียอดวงเงินกู้สูงสุด 1 แสนบาท โดยออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถกู้เงินผ่านแอปพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า “ห้าให้มันนี่”
Micro Lending ผลิตภัณฑ์ช่วยคนรายได้น้อยเข้าถึงแหล่งเงินกู้
MONIX ต้องการแก้ไขปัญหาหลักสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย อาชีพอิสระ หรือหาเช้ากินค่ำ เวลาไปขอกู้เงินกับสถาบันการเงินมักจะได้รับการปฏิเสธเพราะไม่มีหลักฐานทางการเงินหรือสลิปเงินเดือน ทำให้ขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ในระบบจึงต้องหันไปพึ่งพาเงินกู้นอกระบบที่มีความเสี่ยงและอัตราดอกเบี้ยสูง ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่สามารถออกจากวงจรหนี้นอกระบบไปได้ จึงได้ออกผลิตภัณฑ์ Micro Lending เพื่อให้คนกลุ่มนี้สามารถเข้าถึงวงเงินกู้มากขึ้น ซึ่งเป็นสินเชื่อขนาดเล็กที่มียอดวงเงินกู้สูงสุด 1 แสนบาท โดยออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถกู้เงินผ่านแอปพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า “ห้าให้มันนี่”
สมัคร Micro Lending ง่ายๆ ด้วยแอป
เพื่อความสะดวกของลูกค้าสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น “ห้าให้มันนี่” แล้วสมัครใช้บริการผ่านมือถือได้ทันที ซึ่งรูปแบบการกู้เงินจะเหมือนกับการกู้ผ่านสถาบันการเงินทั่วไปแต่ไม่ต้องใช้เอกสารมาก เพียงแค่ลูกค้าจะต้องกรอกข้อมูล และยินยอมเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลประเภทรายรับ-รายจ่ายที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ เพื่อให้สามารถทำความรู้จักลูกค้าได้ แล้วนำมาประเมินความเสี่ยง หาความเหมาะสมของวงเงินกู้ ระยะเวลาในการผ่อนชำระ จากความสามารถชำระหนี้ของลูกค้า คุณหนึ่งกล่าวว่า “ลูกค้าจะมั่นใจได้ว่าวิธีการติดตามหนี้และดอกเบี้ยจะตรงตามกฎหมายไม่ต้องอยู่บนความหวาดกลัว ทำให้ผู้กู้มั่นใจว่าจะมีวินัยทางการเงินที่ดีขึ้นและไม่ต้องมีหนี้ที่ผูกพันตลอดไป”
New Ways of Working สไตล์ MONIX
การที่ MONIX ต้องทำงานแข่งกับเวลา เมื่อถามว่า New Ways of Working ที่ MONIX เป็นอย่างไร คุณหนึ่งบอกว่า ที่นี่เวลาทำงานจะคิดว่าทำอย่างไรให้ได้รับ Feedback จากลูกค้าให้เร็วที่สุด เพื่อจะได้รู้ว่าสิ่งที่ทำคือ สิ่งที่ลูกค้าต้องการอย่างแท้จริง ก็จะกลับมาที่ทีมงานว่า ทำอย่างไรที่จะออกผลิตภัณฑ์ได้เร็ว คำตอบ คือ คิดให้ดีแต่ไม่ต้องคิดนาน หาความเป็นไปได้แล้วออกไปเจอลูกค้า ออกไปเทสไอเดียกับลูกค้าทันที เวลาทำ Prototype ไม่ต้องทำสวยทำแบบง่ายๆ ก็ได้ เมื่อสามารถเทสไอเดียได้เร็วจากเดิมที่มีกว่า 50 ไอเดียก็จะเหลือประมาณ 10 ไอเดีย ทำให้ไม่ต้องมานั่งถกกันในห้องประชุม จากนั้นจะมาวิเคราะห์ว่า 10 ไอเดียนั้นทำให้เกิดได้อย่างไรแล้วนำไปสู่ Next Step ต่อไป
เมื่อแนวทางการทำงานในบริษัทต้องการความรวดเร็วและเผชิญกับสิ่งท้าทายใหม่อยู่เสมอ คุณหนึ่งบอกว่าทีมงานจะต้องมี Mindset สิ่งเหล่านี้ คือ 1. Speed รวดเร็ว ยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้เร็ว 2.มี Attitude ที่มองการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมชาติ สนุกไปกับการเปลี่ยนแปลง ชอบการเรียนรู้ใหม่ 3.มี Empathy ต้องเข้าไปอยู่ในใจลูกค้า คุณหนึ่งกล่าวว่า “เวลาออกไปพูดคุย ถ้าลูกค้าตอบคำถามหรือมีประเด็นอะไรใหม่ๆ ที่ไม่ได้ถาม ต้องเก็บมาเป็นไอเดียใหม่หรือเป็นการเรียนรู้ใหม่ ฟังลูกค้าว่าต้องการสื่อสารอะไร แล้วเอาสิ่งที่ลูกค้าสื่อสารมาวิเคราะห์ ไม่ใช่อยากฟังเฉพาะสิ่งที่เราอยากรู้เท่านั้น”
Data หัวใจสำคัญพัฒนาผลิตภัณฑ์
ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ใช้ Data วางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ วิเคราะห์ตลาด เจาะลึก Insight ลูกค้า สำหรับ MONIX ใช้ Data ใน 2 มิติด้วยกัน มิติแรกใช้ในการหาความสามารถในการชำระหนี้คืนของลูกค้า มิติที่สองเพื่อหาสัญญาณในเรื่องวินัยทางการเงินและวิถีการใช้ชีวิตประจำวันของลูกค้า เช่น ค่าใช้จ่ายบริการมอเตอร์ไซค์ ซื้ออาหาร ส่งของ ค่าโทรศัพท์ เป็นต้น ดังนั้นสังเกตได้ว่าในกลุ่ม Micro Lending จะไม่มี Transaction เหล่านี้กับธนาคาร การจะหาสัญญาณพวกนี้ในอนาคตจะต้องมีพาร์ทเนอร์ที่มี Ecosystem เพื่อช่วยในการใช้จับสัญญาณ เช่น การไปร่วมมือกับกลุ่มโทรคมนาคม ในการดูเรื่องการจ่ายเงินค่ามือ ลักษณะการใช้บริการแบบเติมเงินหรือรายเดือน ก็จะทำให้เรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้าได้ เป็นต้น
จากการที่ MONIX ต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าในการวิเคราะห์ให้สินเชื่อ เมื่อถามว่า หากมี พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act : PDPA) จะส่งผลกระทบหรือไม่ คุณหนึ่งตอบว่า PDPA ช่วยให้ระมัดระวังในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า เมื่อก่อนเวลาเก็บข้อมูลเก็บ 10 อย่าง พอมี PDPA ทำให้ต้องระวังในการใช้ข้อมูลเพิ่มขึ้น อยากจะใช้อะไรก็เก็บเท่าที่จะใช้ เวลาใช้ต้องมีวัตถุประสงค์ในการใช้ ถ้าถามว่าเอาไปใช้อะไรก็ต้องตอบคำถามให้ได้ เป็นต้น ถือว่าเป็นการเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ดังนั้นมองว่าเมื่อมี PDPA ก็ยังสามารถทำธุรกิจได้ เพราะลูกค้าย่อมต้องการผลิตภัณฑ์และบริการที่เหมาะกับวิถีชีวิตของตนเอง
มุมมองเรื่อง New Normal
สำหรับคุณหนึ่งแล้วมองว่าก่อนที่จะเกิดโควิด ทุกวันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดแต่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปทำให้ไม่ทันสังเกตเห็น พอมีโควิดเกิดขึ้นเหมือนกับการถอดปลั๊กทำให้เห็นการเปลี่ยนอย่างฉับพลัน New Normal คือ พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไป ในแง่การทำธุรกิจ New Normal ของแต่ละธุรกิจก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้น ต้องดูที่ลูกค้าว่าพฤติกรรมเปลี่ยนไปอย่างไร อยู่ที่ไหน จะคิดเหมือนเดิมอีกไม่ได้แล้ว เช่น ลูกค้าอยู่บนออนไลน์ก็ไม่จำเป็นจะต้องโฟกัสการเปิดหน้าร้านหรือสาขา เป็นต้น
ก่อนจากกันคุณหนึ่งได้ส่งกำลังใจให้ผู้ประกอบธุรกิจฝ่าวิกฤตโควิดว่า ทุกคนเจอปัญหานี้พร้อมกัน มีกำลังใจจากรอบด้าน คนไทยมีน้ำใจลองสังเกตดูว่าหลายธุรกิจเปลี่ยนตัวเองมาขายอาหาร คนก็ช่วยกันซื้อ ช่วยกันอุดหนุนสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงน้ำใจที่มีให้กัน ช่วยเหลือกัน และหลังจากโควิดยังต้องเตรียมรับมือกับ New Normal ขออย่าลืมว่าเพราะการมีวินัยช่วยให้ไทยสู้โควิดได้ อย่าลืมว่าต้องมีเงินเก็บเตรียมไว้ใช้ยามฉุกเฉิน ต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำธุรกิจเพื่อช่วยลดต้นทุนและค่าใช่จ่ายเหมือนช่วงโควิด สุดท้ายคนทำธุรกิจต้องเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้าอย่างใกล้ชิด ลูกค้าอยู่ที่ไหนไปอยู่นั่นก็จะทำให้สามารถทำธุรกิจให้เติบโตอยู่รอดได้.
ที่มา : เจาะลึก "Micro Lending" กับ New Ways of Working สไตล์ MONIX จาก Facebook พลเมืองดี – จิทัล วันที่ 22พฤษภาคม 2563