ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
The DOTS: Hotel Game Changer: ติดอาวุธให้คุณเป็นผู้เล่นตัวจริงในธุรกิจโรงแรม
งาน The DOTS Hotel Game Changer Preview Day เป็นกิจกรรมที่ SCB SME เปิดห้องเรียนจำลอง พรีวิวให้ผู้ประกอบการได้ลองเรียนก่อนเปิดสอนจริง มีผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมให้ความสนใจอย่างมากกับหลักสูตรที่ออกแบบมาเพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการ SME ไทยเป็นผู้เล่นตัวจริงที่กำหนดอนาคตธุรกิจโรงแรม โดยรวบรวบความรู้ วิทยากร เมนเทอร์ แบ่งปันประสบการณ์ Coaching เข้มข้น ยกระดับมาตรฐานสู่ความสำเร็จในทุกมิติ
เพราะธุรกิจวันข้างหน้าเป็นเรื่องของ “ปลาเร็วกินปลาช้า”
ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัวให้ไว และ Networking เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจพัฒนาไปได้ไกล เพราะเทรนด์จะเป็นไปในรูปแบบปลาเร็วกินปลาช้า
คุณพิกุล ศรีมหันต์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ SME SCB
มองบทบาทของ SCB ในการสนับสนุนผู้ประกอบการ SME พร้อมเดินไปกับผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในทุกสถานการณ์ เพราะ SME และผู้ประกอบการรายย่อยเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งอุตสาหกรรมท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยมากเป็นอันดับต้นๆ มีความสำคัญโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การจ้างงาน รายได้ของคนระดับชุมชน และมีบทบาทมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หลักสูตรอบรม The DOTS: Hotel Game Changer สนับสนุนผู้ประกอบการคว้าโอกาสทางธุรกิจบนความท้าทายใหม่ๆ ให้ความรู้เจาะลึกธุรกิจโรงแรมโดยเฉพาะ โดยได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจโรงแรมอย่างครบวงจร ซึ่งความรู้จากหลักสูตรนี้ ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้ได้จริง เช่นเรื่องใบอนุญาตประกอบการที่พักโรงแรม การทำ Digital Marketing ให้ที่พักถูกเห็นไปทั่วโลก ฯลฯ เป็นกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็กในทุกมิติ
คุณอมรพรรณ สมสวัสดิ์ ผู้อำนวยการ Hotel Industry Expert SCB
ผู้คร่ำหวอดในธุรกิจโรงแรม เจ้าของผลงานหนังสือ “โรงแรมเล็ก สร้างแล้ว ทำอย่างไรให้อยู่รอด” กล่าวถึงหลักสูตรอบรม The DOTS: Hotel Game Changer ว่าท่ามกลางข้อมูลมากมายที่เกิดขึ้นทุกวัน สิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาคือแหล่งข้อมูล และวิธีใช้วิเคราะห์ข้อมูล
ซึ่งหลักสูตรอบรม The DOTS: Hotel Game Changer ได้รวบรวมข้อมูลสำคัญในธุรกิจโรงแรมจากทั้งพันธมิตรภาครัฐอย่าง สมาคมโรงแรมไทย สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) กรมโยธาธิการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่จะช่วยผู้ประกอบการขับเคลื่อนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญหลักสูตรนี้ยังผนึกกำลังผู้เชี่ยวชาญตัวจริงในด้าน Branding , Digital Marketing, การออกแบบธุรกิจบริการ และแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้ธุรกิจโรงแรม มาเป็น Mentor แชร์และส่งต่อประสบการณ์ให้ผู้ประกอบการอย่างเข้มข้น ซึ่งการอบรมนี้ไม่ได้มีแต่ภาคทฤษฎี แต่จัดเต็มภาคปฏิบัติทั้งเวิร์คช้อปและลงมือทำเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ประกอบการจะนำความรู้จากหลักสูตรไปปรับใช้ได้จริง รับรองว่า The DOTS: Hotel Game Changer จะทำให้คุณเป็นผู้เล่นตัวจริงผู้ควบคุมเกมอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เป็นผู้ตามอีกต่อไป
ไขข้อข้องใจใบอนุญาตโรงแรม
การทำธุรกิจโรงแรมเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ และหลายคนก็ยังมีข้อสงสัยเรื่องประกาศคสช.ปลดล็อคใบอนุญาตโรงแรม รวมถึงการขออนุญาตดัดแปลงอาคารมาใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม ซึ่ง
คุณอนวัช บูรพาชน วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญสำนักควบคุม/ตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการ/ผังเมือง
กล่าวว่าตามข้อกำหนดกฎหมายแล้ว การประกอบธุรกิจโรงแรมถูกควบคุมด้วยกฎหมาย 3 ฉบับได้แก่ พรบ.โรงแรมพ.ศ. 2547, พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และพรบ.การผังเมือง พ.ศ. 2518 จึงต้องมีการขอใบอนุญาตโรงแรมอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นใบเบิกทางเข้าถึงโอกาสต่างๆ ทางธุรกิจ
หลักสูตรอบรม The DOTS: Hotel Game Changer จะนำผู้ประกอบการเจาะลึกทุกแง่มุมของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจโรงแรม ที่สำคัญคือกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 และคำสั่งคสช. ที่ 6/2562 ที่รู้จักในชื่อประกาศคสช.ปลดล็อคใบอนุญาตโรงแรม ที่ผ่อนผันให้ผู้ประกอบการที่มีอาคารเก่าอยู่ก่อน 19 ส.ค. 2559 สามารถนำอาคารเดิมเปลี่ยนมาประกอบธุรกิจโรงแรมประเภทที่ 1 หรือประเภทที่ 2 อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์ข้อสงสัยและเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์กับผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดเล็กอย่างแท้จริง
ติวเข้มกลยุทธ์สร้างแบรนด์ และการตลาดยุคดิจิทัล
ในยุคดิจิทัล 4.0 ที่โรงแรม รีสอร์ท โฮสเทล เกสต์เฮาส์ เซอร์วิสอพาร์ทเมนต์มากมายถูกนำเสนอในโลกออนไลน์ให้ลูกค้าสามารถคลิกจองได้เพียงปลายนิ้ว อะไรที่ทำให้ลูกค้าเลือกจองที่พักของเรา? อะไรคือจุดแข็งที่ทำให้ที่พักของเราแตกต่าง?
คุณอุกฤษฎ์ ตั้งสืบกุล Founder และ CEO MintedImage Co. ,Ltd
หนึ่งใน Mentor หลักสูตรอบรม The DOTS: Hotel Game Changer ให้ความเห็นอย่างน่าสนใจว่า
ก่อนอื่นผู้ประกอบการต้องตอบคำถาม 3 ข้อให้ได้ก่อน คือ 1) เราขายอะไร? (Branding) ถ้าขายห้องพัก ก็นำเสนอฟังก์ชั่นห้องพัก เน้นเรื่องราคา ผลก็คือจะได้ลูกค้าขาจร แต่ถ้าเราขายประสบการณ์ ก็ต้องนำเสนอเรื่อง Emotion เน้นความคุ้มค่า ผลก็คือจะได้ใจลูกค้าและลูกค้าขายประจำ 2) เราขายใคร? (Targeting) ลูกค้าใหม่ หรือลูกค้าเดิม นักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือนักท่องเที่ยวไทย ซึ่งเราควรโฟกัสกลุ่มลูกค้าเพราะที่พักของเราควรเป็นซักอย่างสำหรับใครบางคน 3) จะขายยังไง? (Selling) จะขายห้องพักผ่าน OTA (Online Travel Agency) หรือขาย Direct Booking ซึ่งก็มีกลยุทธ์ต่างกัน โดยทั้งหมดนี้คือสมการ Branding + Target = Selling และสิ่งที่หลายคนเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Digital Marketing ว่าการยิง Ad ใน Facebook จะนำมาซึ่งรายได้
หลักสูตร The DOTS: Hotel Game Changer เหล่า Mentors และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญแห่ง Branding และ Digital Marketing จะมาเปิดเผยเคล็ดลับความรู้ ติวเข้มกลยุทธ์ Branding และ Digital Marketing สร้างจุดแข็งให้คุณแตกต่างเพื่อทะยานสู่ความสำเร็จ ที่นี่ที่เดียวเท่านั้น
ในเรื่องการสร้างแบรนด์นี้
คุณวีระชัย ปรานวีระไพบูลย์ สถาปนิกที่ผันตัวมาทำธุรกิจโรงแรม CEO บริษัท The Attitude Club จำกัด
ที่กล่าวถึงธรรมชาติของธุรกิจโรงแรมว่าเป็นธุรกิจที่ไม่มีวันจบสิ้น ต้องทำตลอด 24 ชั่วโมง และ Branding ไม่ใช่แค่โลโก้ Font ตัวหนังสือ แต่เป็นสิ่งที่เกิดจาก Service Design ที่เป็นการออกแบบบริการให้ลูกค้าพึงพอใจ เป็นเรื่องของ Customer Journey ที่ต้องมีมาตรฐานทำได้สม่ำเสมอ และต้องมีความ “Wow” ทำให้ได้เหนือความคาดหมายก่อนที่ลูกค้าจะร้องขอ และกลายเป็น Service Blueprint ในการให้บริการ ซึ่งสิ่งที่ยากตรงนี้คือกระบวนการคิดที่จะหาและแก้ไข Pain Point มาออกแบบบริการที่ประทับใจลูกค้า และสิ่งนี้กลายมาเป็น Brand ของคุณที่อยู่ในใจลูกค้า
เปิดประสบการณ์ Health & Wellness โอกาสทองการท่องเที่ยวไทย
การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้ให้ประเทศ
ซึ่งคุณกรวิทย์ วงศ์ประเสริฐ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
ให้ความเห็นว่าตัวชี้วัดถึงการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการให้ประเทศไทยจึงเป็นหนึ่งในจุดหมายท่องเที่ยวที่อยู่ในใจของนักท่องเที่ยวทั่วโลก คือ รายได้จากนักท่องเที่ยว และอัตราการขยายตัวของนักท่องเที่ยว ซึ่งที่ผ่านมาการตอบรับก็น่าพอใจ สิ่งที่ททท.จะทำต่อไปคือเพิ่มการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว จึงต้องมีการพัฒนาโปรดักส์ทางการท่องเที่ยวตามพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป จากแต่ก่อนเที่ยวแบบกรุ๊ปทัวร์มาเที่ยวแบบอิสระมากขึ้น เทคโนโลยีไอทีก็ทำให้การมองหาที่พัก การค้นหา (Search) ที่พักก็เปลี่ยนไป
นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องตัวตนของนักท่องเที่ยว เช่นกลุ่มนักท่องเที่ยวมองหาประสบการณ์ใหม่ๆ และกลุ่มนักท่องเที่ยวอายุมาก หรือที่เรียกว่า Senior Market ก็มีลักษณะแตกต่างกัน ดังนั้น ธุรกิจที่พักก็ต้องโฟกัสกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนและที่สำคัญยังมีกลุ่มนักท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่น่าทำตลาด เช่นคนที่นิยมท่องเที่ยวเพื่อหาประสบการณ์ก่อนการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยหรือเริ่มต้นทำงาน เรียกว่า Gap Travel ตลอดจนธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ (Health & Wellness) ซึ่งในปีที่ผ่านมา ทำรายได้กว่า 2.3 หมื่นล้านบาท และในปี 2019 นี้เพิ่มขึ้นถึง 2.6 หมื่นล้านบาท นักท่องเที่ยวกลุ่มที่มาเสริมความงามและกลุ่มที่มาชะลอวัยใช้จ่ายเฉลี่ย 2-7 แสนบาทต่อคนและ 2-4 แสนบาทต่อคนตามลำดับ ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขที่น่าสนใจมาก ซึ่งททท. เชื่อมั่นว่าการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน และให้การสนับสนุน โครงการ The DOTS: Hotel Game Changer อย่างเต็มที่ทั้งด้านวิทยากร รวมถึงผู้บริหารของททท.จะมาร่วมการอบรมสร้าง Networking แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ต่างๆ อีกด้วย
หลักสูตร The DOTS: Hotel Game Changer ให้ความสำคัญกับหัวข้อ Health & Wellness ที่เป็นคำตอบในการเพิ่มมูลค่าและเพิ่มราคาให้กับธุรกิจโรงแรม โดยได้จับมือกับ
คุณพัฒนพงศ์ รานุรักษ์ และคุณธเนศ จิระเสวกดิลก กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง ดีวานา สปา จำกัด
ผู้นำด้านธุรกิจสุขภาพ มาเป็น Mentor แบ่งปันประสบการณ์ในสายงานบริการระดับโลกครั้งทำงานสายการบิน Swiss Air ที่ได้เดินทางไปทั่วโลก สัมผัสกับนักท่องเที่ยวทุกชาติทุกภาษาที่มีบุคลิกลักษณะความต้องการแตกต่างกันไปและการได้เข้าพักโรงแรมรูปแบบต่างๆ ทั่วโลกที่ให้ประสบการณ์ทั้งด้านบวกและด้านลบ
แล้วทำไมต้องเป็น Wellness? คุณพัฒนพงศ์ และคุณธเนศ มองว่าในการเป็น Game Changer หรือผู้กำหนดเกม จำเป็นต้องรู้เทรนด์ทิศทางของเกมว่าจะเป็นอย่างไร โดยเทรนด์ที่กำหนดเกมธุรกิจโรงแรม คือการเดินทางท่องเที่ยวใน 10-20 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร จึงจะสามารถคาดการณ์ทิศทางธุรกิจโรงแรมได้ โดยเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลง จากเดิมเมื่อ 30 ปีก่อน การท่องเที่ยวเป็นเรื่องของความ Luxury ต้องวางแผนล่วงหน้าเป็นปี ส่วนใหญ่จึงเป็นนักท่องเที่ยวยุโรปที่มีกำลังซื้อสูงมาพักโรงแรมนานเป็นเดือน ต่อมาเทคโนโลยีเครื่องบินลำใหญ่ขึ้น การเดินทางจึงมาแบบกรุ๊ปทัวร์ โรงแรมก็ต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อมาถึงยุคที่มีสายการบินโลวคอสต์ที่ใครๆ ก็บินได้ และสามารถเดินทางเมื่อไรก็ได้ สำหรับเทรนด์ในวันข้างหน้าที่ใกล้ตัวเราอย่างเช่น Hi-Speed Train ที่จะทำให้เกิดโอกาสท่องเที่ยวในเมืองใหม่ๆ แต่ละสถานีที่เส้นทางรถไฟผ่าน
นอกจากเรื่องของเทรนด์การท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาแล้ว สิ่งสำคัญในธุรกิจโรงแรมก็คือ Customer Experience และ CRM (Customer Relationship Management) เพราะหัวใจของธุรกิจโรงแรม คือการเป็นที่พักของนักเดินทาง ที่ต้องปลอดภัย อำนวยความสะดวก สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้เข้าพัก ว่าทำไมเขาต้องมาพักกับเรา ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันคนสามารถ Search ข้อมูลได้ตลอดเวลา การตัดสินใจจองขึ้นอยู่กับคอมเมนท์ รีวิว มากกว่าข้อมูลประชาสัมพันธ์จากโรงแรม ดังนั้นการสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าจึงเป็นหัวใจที่สำคัญ และ Wellness ก็เป็นคำตอบของการสร้างประสบการณ์น่าประทับใจให้ลูกค้า เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสุขและสุขภาพ
จากนี้และต่อไปในอนาคต Wellness จะเป็นเทรนด์ความต้องการของคนทั่วโลกที่ต้องการความสุข สุขภาพดี อยู่อย่างมีชีวิตที่ยืนยาว เทรนด์การท่องเที่ยว Wellness จึงเติบโตสูงกว่าการท่องเที่ยวแบบอื่นถึงสองเท่า และประเทศไทยก็เหมาะกับการท่องเที่ยวแบบ Wellness เพราะเรามีทรัพยากรต่างๆ มากมายในการเติมเต็มประสบการณ์ความเป็น Wellness ทั้งธรรมชาติ อาหาร สมุนไพรไทย รวมถึงศาสนา ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญ แล้วยังรวมถึงงานบริการที่อยู่หัวใจของคนไทย ที่จะสร้างให้การท่องเที่ยว Wellness ของไทยเติบโตอย่างเข้มแข็ง Wellness จึงตอบโจทย์การสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) .ให้ลูกค้า ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มราคาค่าห้องได้ โดยลูกค้าก็พร้อมจ่ายเงินเพิ่มและรู้สึกคุ้มค่า เป็นการสร้างประสบการณ์ความประทับใจให้ลูกค้าอย่างสมบูรณ์
อัพเดทข้อมูลสำคัญ ประกอบทุกการตัดสินใจ
การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้เข้าประเทศ ซึ่งศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC เปิดเผยตัวเลขนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยในปี 2019 อยู่ที่ 40.1 ล้านคน สูงขึ้น 4.8%จากจำนวน 38.3 ล้านคนในปี 2018 โดย
คุณปุลวัชร ปิติไกรศร นักวิเคราะห์ SCB EIC
สรุปเทรนด์สถานการณ์ธุรกิจท่องเที่ยวไทย 3 ประเด็นสำคัญดังนี้
ในช่วงครึ่งปีแรกของปีพ.ศ. 2562 นักท่องเที่ยวจีนลดลง 5% หรือประมาณ 3 แสนคน ซึ่งนักท่องเที่ยวจีนที่หายไปเป็นกลุ่มที่เที่ยวกับทัวร์เป็นส่วนใหญ่ โดยมีการแข่งขันจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นปัจจัยสำคัญ เช่นกัมพูชา ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฯลฯ ขณะที่นักท่องเที่ยวจีนที่เที่ยวแบบอิสระ (Free Independent Traveler - FIT) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ จากการทำการตลาดของททท. กลุ่มเอเชียตะวันออก อินเดีย และอาเซียนก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น
ในช่วง 5 ปีมานี้ นักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่ม Younger - Gen Y, Gen Z (อายุ 34 ปีลงปี) และ Baby Boomers (55 ปีขึ้นไป) เติบโตโดดเด่นมาก จึงน่าจะเป็นเทรนด์ใหม่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวไทยต่อไป โดยนักท่องเที่ยวกลุ่ม Younger ที่โตมาในยุคไอทีจะเลือกที่พักไม่ต้องดังก็ได้ แต่ต้องสวยสำหรับถ่ายรูปลง IG เน้นอ่านรีวิวก่อน เน้นราคาถูกที่สุดแต่คุ้มค่าที่สุด และอยากได้ประสบการณ์ระหว่างท่องเที่ยว มีกิจกรรมไลฟสไตล์ให้ทำ ขณะที่ กลุ่ม Baby Boomers จะชอบกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ เช่นสปา ตรวจสุขภาพ อยากทานอาหารท้องถิ่น ถ้าได้ทำเองจะยิ่งดี อยากใช้เวลากับครอบครัว ต้องการพักผ่อนจากชีวิตการทำงานประจำวัน และที่สำคัญคืออยากได้รับความสะดวกสบายจากที่พัก
ในส่วนนักท่องเที่ยวไทยแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มได้แก่ First Jobber (20-29 ปี), Worker (30-59 ปี) และ Retiree (60 ขึ้น) ซึ่งทั้งสามกลุ่มนิยมเที่ยวกับครอบครัวมากที่สุด รองมาคือเที่ยวกับเพื่อน และเที่ยวคนเดียว โดยกลุ่ม First Jobber กว่า 70% จะอ่านรีวิวใน Social Media อย่าง Facebook , Pantip และเว็บไซต์ OTA และส่วนใหญ่จะจองตรงกับโรงแรมเน้นราคาถูกและความคุ้มค่า
ที่หลักสูตร The DOTS: Hotel Game Changer ผู้ประกอบการจะได้รับข้อมูลสำคัญในธุรกิจโรงแรม โดย
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC
ให้คุณรู้รอบด้านพร้อมทุกการตัดสินใจ
สนใจเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้เล่นตัวจริงในธุรกิจโรงแรมกับหลักสูตรอบรม The DOTS: Hotel Game Changer ระยะเวลา 11 สัปดาห์ เปิดรับสมัครแล้ว วันนี้
ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด