ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ส่องกลยุทธ์ขับเคลื่อน SME สู่เศรษฐกิจดิจิทัลกับ depa
ในโลกธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล การเข้าถึงลูกค้า ปรับเปลี่ยนกระบวนการภายใน สร้าง Infrastructure รองรับโลกวิถีใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการต้องผลักดันตัวเองโดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อความอยู่รอด คุณสุชาดา โคตรสินผู้อํานวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) มาให้รายละเอียดการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการทรานฟอร์มธุรกิจเข้าสู่โลกดิจิทัล
depa ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจดิจิทัล
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) จัดตั้งเข้าสู่ปีที่ 5 ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจไทยด้วยดิจิทัล ด้วยหลักดำเนินงานทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ 1) กำลังคนดิจิทัล สร้างความพร้อมกำลังคนมีทักษะความรู้สู่ยุคดิจิทัล 2) เศรษฐกิจดิจิทัล สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์เข้าไปในภาคการผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการ SME 3) สังคมดิจิทัล ส่งเสริมภาคเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน ทำให้ใช้ชีวิตมีคุณภาพอย่างยั่งยืน 4) โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล พร้อมรองรับการใช้นวัตกรรมดิจิทัลทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ
3 ปัจจัยช่วยให้ธุรกิจอยู่รอด
รูปแบบธุรกิจปัจจุบันรูปแบบไปอย่างสิ้นเชิง จาก Product ที่เป็นสินค้าแบบเดิม ย้ายเข้าสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ สินค้าบริการที่เคยจับต้องได้ (Physical) กลายเป็น Non-Physical ทำให้ผู้บริโภครับทราบสินค้าบริการผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเปลี่ยนอุตสาหกรรมดั้งเดิม (Indigenous Industries) เป็นอุตสาหกรรมที่มีดิจิทัลเป็นองค์ประกอบ (Digitized Industries) เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าและอยู่ในโลกปัจจุบันได้
สิ่งที่จะทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่
1) Speed : ความเร็วในการปรับตัว ออกสินค้าบริการใหม่ตอบสนองความต้องการลูกค้าได้
2) Cost Leadership : การใช้เทคโนโลยีลดต้นทุนต่างๆ เช่น แก้ปัญหา Overstock ลดความผิดพลาดในการผลิต ลดระยะเวลาส่งสินค้าให้ลูกค้า
3) Differentiate : สร้างความแตกต่างในสินค้าบริการด้วยการนำเทคโนโลยีปรับใช้ในธุรกิจ
กลไกลขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล
ในการส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ให้ปรับตัวในธุรกิจดิจิทัล คุณสุชาดา กล่าวถึงกลไกที่ใช้ผลักดัน ประกอบด้วย กลุ่ม Digital Startup ของไทยที่มีทั้ง FinTech, EdTech, AgriTech, TravelTech, HealthTech, IndustryTech ฯลฯ โดยส่งเสริมให้ Digital Startup เป็นผู้บริการด้านเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ให้กับธุรกิจ SME รวมไปถึงการทำ Digital Transformation ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรองรับรูปแบบเศรษฐกิจใหม่ ๆ ทั้งในภาคเกษตร SME อุตสาหกรรม ชุมชน ทั้งหมดนี้มาผนวกรวมกันสร้าง Ecosystem เพื่อให้เกิดเป็น Smart City
เปิดโผการทุนสนับสนุน SME เข้าสู่ธุรกิจดิจิทัล
ทาง depa ก็มีแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการนำธุรกิจเข้าสู่ดิจิทัล ดังนี้
· depa Digital Transformation Fund ที่ depa ช่วยสนับสนุน 60% ของเงินลงทุนในการใช้ซอฟต์แวร์เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการดิจิทัลที่ขึ้นทะเบียนเป็น depa Digital Provider ทั้งในส่วน Front end, Back และ Infrastructure โดยมี 2 กลุ่มเป้าหมายได้แก่
o ผู้ประกอบการ SME ภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจการค้าและบริการ ผู้ประกอบการ SME ภาคการเกษตร และอุตสาหกรรมเกษตรท่องเที่ยว และเกษตรอุตสาหกรรม
· depa Mini Transformation Voucher : โครงการสนับสนุน SMEs ไทยรายเล็กให้สามารถปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อช่วยสร้างข้อมูลและสร้างประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ยกระดับธุรกิจ รวมถึงสนับสนุนเกษตรกรสู่ Smart Farmer โดยการสนับสนุนเงินทุนให้เปล่าสูงสุด 100% ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงก่อนภาษีมูลค่าเพิ่มในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมและติดตามข่าวสารล่าสุดที่เว็บไซต์ depa, LINE Official @depa Thailand หรือเบอร์ติดต่อ 081-833-4915 (ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ) 089-203-0183 (ภาคการเกษตร)