ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
รู้จัก Data Analytics กุญแจไขสู่ความสำเร็จในโลกเศรษฐกิจดิจิทัล
เมื่อข้อมูลเป็นกุญแจไขสู่ความสำเร็จในการทำธุรกิจยุคดิจิทัล ตั้งแต่สร้างข้อได้เปรียบทางการตลาดให้เหนือคู่แข่ง การใช้ข้อมูลพัฒนาความฉลาดให้ AI (Artificial Intelligence) จนถึงการตัดสินใจด้วยข้อมูลตามสไตล์องค์กรยุคใหม่ที่เรียกกันว่า data-driven organization แต่ใช่ว่าข้อมูลทั้งหมดจะใช้งานได้ทั้งหมดเพราะข้อมูลที่มีประโยชน์ต้องผ่านการประมวลผลวิเคราะห์ด้วยกระบวนการ ‘Data Analytics’ ก่อน ดังคำกล่าวที่ว่า garbage in, garbage out ที่เปรียบว่า เมื่อเอาข้อมูลขยะเข้าไป ก็จะได้ข้อมูลขยะออกมา
Data Analytics คืออะไร? ทำไมองค์กรยุคใหม่ถึงเลือกใช้กัน
Data Analytics คือ การวิเคราะห์ข้อมูลดิบขององค์กรตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวมถึงคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต ผ่านระบบการวิเคราะห์ข้อมูลอัตโนมัติและ algorithm เพื่อสรุปเป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์ต่อองค์กร ทั้งในแง่การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการดำเนินการโดยภาพรวม และสร้างแต้มต่อในการทำตลาดผ่านกระบวนการหา Customer Insights ได้อย่างแม่นยำ
ปัจจุบัน Data Analytics มีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ตั้งแต่อุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจเกมออนไลน์จนถึงกลุ่มอุตสาหกรรมรีเทล ด้วยจำนวนข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นทุกวันขององค์กรยิ่งเป็นเหตุผลสนับสนุนให้ Data Analytics เป็นกระบวนการสำคัญที่เข้ามาจัดการกลั่นกรองข้อมูลมหาศาลให้กลายเป็นข้อมูลที่มีมูลค่าและมีประโยชน์
Data Analytics แบ่งออกเป็น
4
ประเภทดังนี้
1.
Descriptive Analytics
- เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านมาในช่วงเวลาที่กำหนด
2. Diagnostic Analytics - เป็นการให้ความสำคัญว่าทำไมสถาณการณ์หรือบางสิ่งถึงเกิดขึ้น
3. Predictive Analytics - เป็นการวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
4. Prescriptive Analytics - เป็นการสรุปแนวทางการรับมือกับแนวโน้มและปัญหาที่เกิดจะขึ้น รวมถึงวางแผนการดำเนินงานล่วงหน้า
5 เหตุผลที่ทำให้ Data Analytics เป็นของต้องมีขององค์กร
1.
สร้างประสบการณ์เหนือความคาดหมายให้ลูกค้า
ภาคธุรกิจสามารถรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากแหล่งต่างๆ แล้วใช้ Data Analytics วิเคราะห์จัดทำโปรไฟล์ข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าเฉพาะราย เพื่อนำเสนอสินค้าและบริการเหนือความคาดหมายให้ลูกค้า รวมถึงสร้างสรรค์แคมเปญทางการตลาดให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
2.
ตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างแม่นยำ
องค์กรสามารถใช้ Data Analytics ช่วยกำหนดทิศทางการทำธุรกิจและลดความเสี่ยงด้านการเงิน ยกตัวอย่างเช่น การใช้ Predictive Analytics ทำให้องค์กรทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น และ Prescriptive Analytics จะแนะนำว่าควรรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างไร เป็นต้น
3.
ยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงาน
Data Analytics สามารถช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ผ่านการวิเคราะห์ภาพรวมกระบวนการทำงานขององค์กร เพื่อค้นหาปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ระบบงานล่าช้าหรือสะดุด เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
4. ลดความเสี่ยงและจัดการกับความเสียหาย
ความเสี่ยงสามารถเกิดขึ้นได้ทุกจุดของธุรกิจ เช่น การโจรกรรมข้อมูลลูกค้าหรือพนักงาน การผิดนัดชำระหนี้สิน การกระทำผิดกฎหมาย และการบริหารจัดการสต็อกสินค้าผิดพลาด เป็นต้น การใช้ Data Analytics จะช่วยให้องค์กรคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และหาแนวทางหลีกเลี่ยงและวางแผนการรับมือล่วงหน้าได้
5. เสริมแกร่งด้านความปลอดภัยให้ข้อมูล
ปัจจุบันปัญหาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลกลายเป็นประเด็นใหญ่ที่ภาคธุรกิจต้องใส่ใจอย่างจริงจัง องค์กรสามารถใช้ Diagnostic Analytics วินิจฉัยหาสาเหตุของอาชญากรรมไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในอดีตด้วยการประเมินผลและแสดงผลเป็นภาพที่เข้าใจง่าย หรือใช้ Statistical Models (แบบจำลองทางสถิติศาสตร์) เพื่อช่วยให้แผนกไอทีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถวางแผนรับมือล่วงหน้าหรือแก้ไขเมื่อปัญหาได้ทันท่วงที
องค์กรใดบ้างที่ใช้ “Data Analytics” ในธุรกิจ
Netflix
- ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Data Analytics เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของ Netflix โดยเฉพาะด้านบริการและการตลาด สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือ Data-Driven Recommendation Platform ที่ทำหน้าที่นำเสนอคอนเทนต์ที่ผ่านการคัดสรรสำหรับผู้ใช้บริการเฉพาะราย ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้ Netflix เชื่อมโยงกับลูกค้าได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น แต่ยังช่วยประหยัดต้นทุนทางการตลาดอีกด้วย
Airbnb
- หากจะพูดถึงเรื่องราวความสำเร็จจากการใช้ Data Analytics ของโลกคงต้องนึกถึง Airbnb ที่ใช้ Data Analytics เพื่อประโยชน์ทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการวิเคราะห์ว่าพื้นที่ไหนที่สามารถสร้างผลประกอบการได้ยอดเยี่ยมและยอดแย่ ผลตอบรับและโปรไฟล์ลูกค้า แล้วนำ Insight เหล่านี้มาใช้ตัดสินใจและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ
Amazon -
ใช้ Data Analytics วิเคราะห์ Big Data หา Customer Insights เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่มีอยู่ทั่วโลก จากจุดนี้เองทำให้ Amazon สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างมหาศาลในการสร้างยอดขายเพิ่มขึ้น และยังเชื่อมต่อ Machine Learning กับข้อมูลอย่างการรีวิวและการให้คะแนนจากลูกค้า เพื่อยกระดับการดำเนินงานและการให้บริการ
เมื่อโลกพึ่งพาและไว้ใจการใช้สถิติและข้อมูลมากขึ้น Data Analytics จึงกลายเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างมูลค่าและความน่าเชื่อถือของข้อมูลให้แก่องค์กรและบุคคลทั่วไป ด้วยการเลือกใช้เครื่องมือและเทคนิคที่หลากหลายในการแปลงข้อมูลดิบให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึก ช่วยให้การตัดสินใจและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจทำได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และนี่คงเป็นเหตุผลว่าทำไมองค์กรยุคใหม่จึงเลือกใช้ Data Analytics
แล้วคุณล่ะ พร้อมหรือยัง?
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
https://thewisdom.co/content/what-is-data-analytics/
https://www.investopedia.com/terms/d/data-analytics.asp
https://www.stitchdata.com/resources/benefits-of-data-analytics/
https://www.lytics.com/blog/8-real-life-big-data-marketing-examples/