ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การเดินทางของ “วัคซีน” กับความหวังของมนุษยชาติ
สิ่งที่คนทั่วโลกกำลังรอคอยเพื่อพิชิตโควิดก็คือ “วัคซีน” คำที่ทุกคนคุ้นหูเป็นอย่างดี และเกือบทุกคนก็เคยผ่านการฉีดวัคซีนกันมาแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้ววัคซีน (Vaccine) คืออะไร เป็นยาหรือไม่? วัคซีนผลิตมาอย่างไร? วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับวัคซีน ความหวังของชาวโลกที่จะพิชิตโควิดกัน
วัคซีนคืออะไร
วัคซีนไม่ใช่ยา แต่วัคซีนคือการให้เชื้อหรือส่วนหนึ่งของเชื้อที่ไม่นำโรคหรือมีการนำโรคแต่ไม่รุนแรง ฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันโรคหรือแอนติบอดี ซึ่งอาจให้เวลานานนับสัปดาห์หรือนับเดือนกว่าจะมีภูมิป้องกันโรคได้
ประวัติของวัคซีน
การนำเชื้อโรคมาป้องกันโรคเกิดขึ้นมาเป็นพันปีแล้วแต่มนุษย์เพิ่งจะมาเข้าใจหลักการทางชีววิทยาเมื่อไม่กี่ร้อยปีนี้เอง โดยผู้ที่เป็นบิดาของวัคซีนคือ Edward Anthony Jenner ซึ่งเป็นแพทย์ที่ทำงานในชนบทของประเทศอังกฤษ ผู้ป่วยของเขาส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ทำงานในฟาร์มเลี้ยงวัว ในปี 1788 มีการระบาดของโรคฝีดาษ ซึ่งในช่วงนั้นเป็นโรคร้ายแรงและคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก Jenner สังเกตเห็นว่าผู้ที่ทำงานเลี้ยงวัวเป็นโรคฝีดาษที่ติดจากวัวแต่มีความรุนแรงน้อยกว่าฝีดาษที่ติดจากคนมาก และยังสังเกตเห็นว่าผู้ที่ติดฝีดาษจากวัวจะไม่เป็นฝีดาษที่ติดจากคนอีกเลย เขาจึงสรุปว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคฝีดาษจากวัวจะมีภูมิคุ้มกันโรคฝีดาษจากคน จึงได้ทำการลดลองนำหนองจากฝีดาษจากวัวไปฉีดในแผลของเด็กที่เป็นฝีดาษ ซึ่งเด็กเป็นไข้ต่ำๆ แล้วก็หายไป หลังจากนั้นทดลองอีกครั้งโดยใช้ฝีดาษจริงจากคนปรากฏว่าเด็กคนนั้นไม่ติดฝีดาษแต่อย่างใด แปลว่าสมมติฐานของเขาถูกต้อง เขาเรียกชื่อขบวนการนี้ว่า Vaccination การทดลองของ Jenner อธิบายได้ว่าเมื่อร่างกายของคนที่ได้รับฝีดาษจากวัวที่ติดในคนได้แต่ไม่รุนแรงเท่าฝีดาษที่ติดจากคนสู่คนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายพร้อมที่จะต่อสู้และทำลายเชื้อโรคนั้นหรือเชื้อโรคที่ใกล้เคียงกันได้
ความเป็นมาของการใช้วัคซีนในประเทศไทย
การใช้วัคซีนป้องกันโรคในประเทศไทยเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เนื่องจากในสมัยนั้น มีโรคไข้ทรพิษระบาดเป็นจำนวนมาก เมื่อปี พ.ศ.2381 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชดำริให้หมอหลวงนำหนองจากผู้ที่กำลังออกฝีมาปลูกในคนปกติตามแบบของจีนและอินเดียแต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อมานายแพทย์บรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley) มิชชันนารีชาวอเมริกัน ซึ่งเข้ามาในพระนคร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2378 บุตรสาวของท่านได้เสียชีวิตลงด้วยไข้ทรพิษ จึงทำให้ท่านมีความคิดที่จะหาวิธีป้องกันไข้ทรพิษให้แก่คนไทยในสมัยนั้น ในปี พ.ศ.2382 ท่านได้ร่วมมือกับหมอหลวงโดยการนำหนองจากผู้ป่วยมาปลูกให้คนปกติ เพื่อป้องกันโรคจนเป็นผลสำเร็จ ต่อมาในปี พ.ศ.2383 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้สั่งหนองฝีป้องกันไข้ทรพิษเข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้บริการแก่ข้าราชการและประชาชน
ชนิดของวัคซีน
หากจำแนกประเภทของวัคซีนตามการผลิตสามารถแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. วัคซีนประเภทท็อกซอยด์ (Toxoid)
เป็นการนำพิษของเชื้อโรคมาทำให้หมดฤทธิ์แต่ยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ ได้แก่ วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก
2. วัคซีนชนิดเชื้อเป็น (Live Vaccine)
เป็นวัคซีนที่นำเชื้อมาทำให้อ่อนแรงจนไม่สามารถก่อโรคได้ แต่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ ได้แก่ วัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน อีสุกอีใส งูสวัด ไข้สมองอักเสบ เจอี (ชนิดเชื้อเป็น)
3. วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Killed Vaccine)
เป็นวัคซีนที่ผลิตขึ้นจากเชื้อโรคทั้งตัวหรือบางส่วนของเชื้อ ได้แก่ วัคซีนตับอักเสบ เอ บี ไอกรน ไข้หวัดใหญ่ โปลิโอชนิดฉีด
การผลิตวัคซีน
การผลิตวัคซีนประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆมากมาย เริ่มจากการที่เชื้อจะสร้างแอนติเจนขึ้น หลังจากนั้นนำเชื้อที่ได้มาเพาะเลี้ยงในเซลล์ปฐมภูมิ เช่น ไข่ไก่ (เช่น เชื้อโรคไข้หวัด) หรือการนำไปเพาะเลี้ยงอย่างต่อเนื่องในเซลล์มนุษย์ (เช่น เชื้อไวรัสตับอักเสบบี) หรือแบคทีเรียจะเจริญเติบโตภายในเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ (เช่นเชื้อ Haemophilus influenzae ชนิดบี) หลังจากแอนติเจนถูกสร้างขึ้นแล้ว ก็จะถูกแยกออกจากเซลล์ที่ใช้ในการสร้างซึ่งในบางกรณีอาจต้องการกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ต่อไป สุดท้ายวัคซีนจะถูกสร้างขึ้นโดยการเติมสารต่างๆ ได้แก่สารจำพวกสารเสริมฤทธิ์, สารเพิ่มความคงตัวและสารกันบูด สารเสริมฤทธิ์ช่วยเพิ่มระยะเวลาการตอบสนองต่อแอนติเจนของร่างกาย สารเพิ่มความคงตัวจะช่วยให้ยามีอายุการใช้ยาวนานขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับสารกันบูด การเพิ่มเติมสารดังกล่าวในตำรับวัคซีนจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐาน เนื่องจากอาจมีสารตกค้างจากกระบวนการผลิต เช่น ยาปฏิชีวนะ (antibiotic) โปรตีนไข่ (egg protein) โปรตีนจากยีสต์(yeast protein) ซึ่งในกระบวนการผลิตสารเหล่านี้ต้องถูกกำจัดออกจนหมด แต่อาจมีตกค้างได้แม้จะมีปริมาณน้อยแต่ก็สามารถทำให้เกิดการแพ้ได้ จะพบว่าการผลิตวัคซีนยังคงมีความยากในการผลิตและพัฒนา เนื่องจากฤทธิ์ที่เข้ากันไม่ได้และปฏิกิริยาระหว่างแอนติเจนและส่วนผสมที่เกี่ยวข้อง
จากข้อมูลข้างต้นจะพบว่าการผลิตวัคซีนไม่ใช่เรื่องง่ายกว่าจะได้วัคซีนที่สามารถใช้งานได้จริง ไม่ก่อให้เกิดการแพ้ต้องผ่านการวิจัยและพัฒนาหลายขั้นตอน แต่ก็หวังว่าด้วยวิทยาการที่ทันสมัยขึ้นมากในปัจจุบันจะสามารถทำให้สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ในเร็ววันนี้ ในระหว่างที่เรารอคอยอย่างมีความหวัง วิธีการที่ดีที่สุดที่ทำได้ในตอนนี้ก็คือการป้องกันตัวเองอย่างที่รณรงค์กันว่า “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” และรักษาร่างกายให้แข็งแรง แต่ขึ้นชื่อว่าโรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้ตลอดเวลา แม้ว่าเราจะยังปลอดภัยจากโควิดแต่ก็มีโรคอื่นๆ อีกมากมายที่อาจมาทักทายเราโดยไม่รู้ตัว เช่น โรคไข้เลือกออกที่ตอนนี้กำลังระบาดและนำไปสู่การเสียชีวิตได้เช่นกัน ดังนั้นเพื่อความอุ่นใจว่าเราจะมีเงินเพียงพอสำหรับค่ารักษาพยาบาลการมีประกันสุขภาพไว้เป็นทางเลือกที่ดีเพื่อรับมือกับอนาคตที่ไม่แน่นอน
อ้างอิง
http://www.khonkaenram.com/th/services/health-information/health-articles/vaccine
https://www.drkrok.com/vaccine-article-322016/