การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ภัยมืดช้อปออนไลน์ ได้ของไม่ตรงปกทำยังไง?
ในปัจจุบันการช้อปปิ้งออนไลน์นั้นเกิดขึ้นได้บ่อยจนถือว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับใครหลายๆ คน เราสามารถพบเห็นโฆษณาขายสินค้าต่างๆ บนโซเชียลมีเดียแทบจะทุกแพลตฟอร์ม โดยพฤติกรรมที่คนในวัยทำงานมักจะทำก่อนนอน หลังจากที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานมาตลอดทั้งวัน คือ การไถมือถือไปเรื่อยๆ และอาจจะเผลอกดคอนเฟิร์มสั่งซื้อสินค้าไปโดยไม่รู้ตัว ประกอบกับในช่วงที่โควิด-19 ระบาดนั้น หลายคนไม่ได้ออกไปไหน จึงสนุกกับการดูสินค้าออนไลน์ และยืนยันคำสั่งซื้อโดยไม่ได้เอะใจอะไร ซึ่งถ้าของที่ได้รับนั้นตรงกับความคาดหวังก็คงไม่ต้องหงุดหงิดใจ เรียกว่าเสียเงินแล้วได้ของดีมาก็คุ้มค่าเงิน แต่ถ้ามันไม่เป็นไปตามที่คิดล่ะ จะทำเช่นไร
ทุกวันนี้มิจฉาชีพมักแฝงตัวมาในช่องทางต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่ร้านค้าออนไลน์ก็ยังมีให้เห็น หลายร้านมักใช้ภาพ หรือคลิปของสินค้าต้นแบบที่ดูน่าสนใจมาก และตั้งราคาไม่สูงมาก ประมาณหลักร้อย หรือพันต้นๆ มาล่อลวงให้ผู้บริโภคอย่างเราตกเป็นเหยื่อ เพราะเรามักจะคิดว่าราคาไม่แพง ไม่ต้องใช้เวลาในการตัดสินใจเยอะ แถมตัวสินค้าที่เห็นก็ดูน่าใช้เสียเหลือเกิน สินค้าเหล่านี้มักเป็นสินค้าทำเลียนแบบ หรือสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน แต่ประเด็นสำคัญคือ เมื่อมีปัญหาของไม่ตรงปก ไม่เป็นดังโฆษณาที่เห็น ผู้เสียหายมักจะไม่ฟ้องร้อง เพราะรู้สึกว่าเป็นการเสียเวลา ไม่คุ้มค่าเหนื่อย ร้านค้าพวกนี้จึงได้ใจและทำแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ
วิธีสังเกตว่าร้านค้าเชื่อถือได้หรือไม่
ผู้ซื้อควรพิจารณาเรื่องต่อไปนี้ประกอบกัน (ไม่ยึดเกณฑ์เพียงข้อใดข้อหนึ่งในการพิจารณา)
1. มีเพจ หรือหน้าร้านชัดเจน ตรวจสอบได้ - ร้านค้าที่ได้มาตรฐาน
ขายสินค้าที่มีคุณภาพ มักมีลูกค้าเข้ามาสั่งซื้อสินค้าอยู่เป็นประจำ
และมีจำนวนผู้ติดตามเพจค่อนข้างมาก มีการโพสต์และตอบคอมเมนต์ของลูกค้าสม่ำเสมอ
ร้านที่เป็นของจริงจะไม่ปิดเพจหนีเหมือนที่มิจฉาชีพนิยมทำ
บางร้านอาจอยู่ในแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถืออย่าง Shopee, Lazada
ซึ่งมีระบบการขอคืนสินค้าในกรณีที่มีปัญหา
บางแห่งก็อาจมีที่ตั้งหน้าร้านเป็นหลักแหล่ง ให้เราสามารถเข้าไปดูสินค้าจริงๆ
ได้ เราอาจนำชื่อร้านไปค้นหาบน Google เพื่อดูว่ามีข่าวอะไรเสียหาย
เคยถูกร้องเรียนจากลูกค้าคนอื่นหรือไม่ เพื่อสร้างความมั่นใจมากยิ่งขึ้น
2. สินค้ามีราคาสมเหตุสมผล - ของที่ราคาถูกมากๆ จนผิดปกติ
อาจบ่งบอกได้ถึงความไม่มีคุณภาพได้ด้วย ไม่มีของถูกและดีอยู่บนโลกนี้จริง
แนะนำให้เปรียบเทียบราคาของสินค้าในลักษณะเดียวกันกับร้านอื่นๆ ด้วย
ราคาไม่ควรต่างกันมากเกินไป เช่น ร้านอื่นๆ ตั้งราคาอยู่ที่หลักพัน
ในขณะที่ร้านนี้ขายสินค้าเหมือนกัน แต่ตั้งราคาไว้ที่หลักร้อยต้นๆ
ก็อาจคิดได้ว่าเป็นของปลอม หรือของทำเลียนแบบ ก็เป็นได้
3. มีการรีวิวที่น่าเชื่อถือจากลูกค้าอื่นๆ - อย่าหลงเชื่อภาพสวยๆ
หรือวีดีโอแนะนำการใช้งานที่ดูดีที่เห็นในโฆษณาที่ทางร้านใช้
เพราะมิจฉาชีพอาจไปเอามาจากแบรนด์ของแท้ที่ขายสินค้าดังกล่าวจริงๆ
ก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า ลองมองหารีวิวจากลูกค้าคนอื่นๆ ด้วย
ว่ามีการพูดถึงสินค้าอย่างไร รีวิวที่ดีควรมีภาพประกอบ
และอธิบายความรู้สึกที่มีต่อสินค้านั้นๆ หรือถ้าเป็นวีดีโอให้เห็นเลยก็จะดีมาก
อย่าเพิ่งหลงเชื่อรีวิวจากลูกค้าที่ทางร้านลงโปรโมทซ้ำๆ
ถ้าสินค้ามีคุณภาพดีจริง มักจะมีลูกค้าหลายคนเข้ามาเขียนรีวิว
บอกต่อความพึงพอใจเสมอๆ รีวิวที่ใช้ซ้ำบ่อยๆ หรือใช้ภาษาแปลกๆ
เหมือนผ่านการใช้เว็บแปลภาษาต่างชาติให้เป็นภาษาไทย
อาจเป็นของที่ทางร้านทำขึ้นมาเองก็ได้
4. มีช่องทางการชำระเงินหลากหลาย พร้อมมีนโยบายคืนเงิน คืนสินค้า -
ร้านค้าที่น่าเชื่อถือมักเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้เลือกวิธีชำระเงินตามที่ลูกค้าสะดวก
ทั้งโอนเงินเข้าบัญชี อนุญาตให้ชำระเงินปลายทางเมื่อสินค้าถูกส่งมาถึงลูกค้า
รวมถึงการจ่ายผ่านบัตรเครดิต เพราะเราจะสามารถทำเรื่องขอเงินคืนได้
เมื่อพบว่าร้านค้าที่ส่งของมาเป็นมิจฉาชีพตั้งใจจะโกงเรา
สำหรับร้านที่มีนโยบายคืนเงิน คืนสินค้า ผู้ซื้อควรอ่านรายละเอียดให้เข้าใจ
เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง
5. มีเจ้าหน้าที่คอยตอบข้อซักถาม - เมื่อมีการสอบถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ควรมีเจ้าหน้าที่แอดมินของทางร้านเข้ามาดูแลให้คำตอบโดยเร็ว โดยสามารถให้ข้อมูลอย่างละเอียดกับลูกค้าได้ หากถามไปแล้วนิ่ง ไม่มีการติดต่อกลับ หรือตอบกลับด้วยภาษาแปลกๆ เหมือนไม่ใช่มนุษย์ตอบ ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจมีอะไรผิดปกติ ให้ตัดใจแล้วไปดูสินค้าร้านอื่น
ในกรณีที่เผลอกดสั่งซื้อสินค้าจากร้านที่ไม่น่าเชื่อถือไปแล้ว
เมื่อสินค้ามาส่ง ก่อนเปิดกล่องพัสดุ แนะนำให้ถ่ายคลิปวิดีโอไว้ตั้งแต่ตอนรับสินค้าจนถึงการหยิบสินค้าออกมาจากกล่อง โดยอาจให้พนักงานส่งของร่วมเป็นสักขีพยานด้วย หากพบว่าของที่มาส่งนั้นแตกต่างจากที่เห็นบนโฆษณา หรือไม่ใช่สินค้าที่สั่งซื้อ แนะนำให้ปฏิบัติดังนี้
1. ติดต่อร้านค้าทันที - ทักแชทผ่านช่องทางที่เคยติดต่อร้าน
หรือโทรหาร้านค้าทันทีที่พบว่าของที่ได้รับมานั้น ไม่ตรงตามที่สั่ง
เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นความผิดพลาดของร้านค้าที่ส่งของผิดมาให้หรือไม่
หรือมีเจตนาจะหลอกลวง หากเกิดจากความผิดพลาดของทางร้าน
ผู้ซื้ออาจแสดงความประสงค์ขอเงินคืน โดยส่งของกลับไปให้ทางร้าน
หรือทางร้านอาจจะเสนอขอส่งของให้ใหม่เอง แต่ถ้าหากติดต่อไม่ได้
ในกรณีที่เป็นสินค้าเรียกเก็บเงินปลายทางให้ขอปฏิเสธการรับสินค้า
และส่งคืนทันที
ทางบริษัทขนส่งจะไปดำเนินการต่อกับร้านค้าต้นทางที่ส่งของมาเอง
2. เก็บหลักฐานที่ติดต่อร้านค้าเพื่อใช้ดำเนินคดี -
ทุกครั้งที่มีการติดต่อร้านค้า ให้เก็บหลักฐานการสนทนาทั้งหมดไว้ก่อน
อย่าเพิ่งลบข้อความเหล่านั้นทิ้ง เพราะในกรณีที่มีการโอนเงินค่าสินค้าไปแล้ว
แต่ไม่ได้รับสินค้า หรือได้สินค้าที่ผิดเพี้ยนไปจากที่ตกลงกัน
เราจำเป็นต้องพิมพ์หลักฐานเหล่านี้ออกมาใช้ประกอบการแจ้งความดำเนินคดีกับทางร้านค้า
นอกจากนี้ยังรวมถึงรูปถ่ายหรือตัวสินค้าที่มีปัญหา ข้อมูลต่างๆ ของร้านค้า
สลิปที่เราโอนเงินชำระค่าสินค้า
ใบสั่งซื้อและใบยืนยันคำสั่งซื้อที่ทางร้านค้าออกให้
หากตกลงกันไม่ได้ ก็ต้องพึ่งพาหน่วยงานที่มีอำนาจใช้กฎหมายบังคับขอคืนเงิน ดังนี้
รวบรวมหลักฐานการสั่งซื้อ
แจ้งความดำเนินคดี
การช้อปปิ้งออนไลน์แม้จะมีข้อดีมากมาย โดยเฉพาะเรื่องความสะดวกสบาย แต่ก็มีความเสี่ยงอยู่ไม่น้อย ผู้ซื้อควรตั้งสติให้ดี พิจารณาข้อมูลประกอบการตัดสินใจในส่วนต่างๆ จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพที่แฝงตัวเข้ามาในรูปแบบร้านค้าออนไลน์ การเลือกชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ถือเป็นทางออกที่ดีในการช่วยลดความเสี่ยงของการสูญเสียเงินจากการสั่งซื้อสินค้า เนื่องจากในกรณีที่มีปัญหา พบว่าถูกโกง ลูกค้าสามารถติดต่อไปยังธนาคารเจ้าของบัตรเพื่อขอเรียกเงินกลับคืนได้ นอกจากนี้หากเป็นการสั่งซื้อผ่านแพลตฟอร์มใหญ่ๆ บัตรเครดิตยังมีโปรโมชันส่วนลดเพิ่มเติมให้อีกด้วย