การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ทำอย่างไร เมื่อเราหลงกลให้ข้อมูลส่วนตัวกับมิจฉาชีพไป (Phishing)
การหลอกลวงเพื่อโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว หรือที่เรียกกันว่า ฟิชชิ่ง (Phishing) ในปัจจุบันมีเทคนิคและรูปแบบในการหลอกลวงที่แนบเนียนมากขึ้น ทั้งเว็บไซต์ปลอมหลอกให้ลงทะเบียนเพื่อกรอกข้อมูลส่วนตัว, SMS ปลอม โดยหลอกให้กลัว หลอกให้ดีใจ หลอกให้สงสัย หรือใช้กลเม็ดต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เหยื่อคลิกลิงก์อันตราย เป็นต้น ซึ่งหากไม่สังเกตให้ดี รู้ตัวอีกที เราก็อาจจะเผลอกรอกข้อมูล หรือรหัสเข้าใช้งานต่างๆ ให้กับมิจฉาชีพไปหมดแล้วก็เป็นได้ คำถามต่อไปที่จะผุดขึ้นในใจของเราก็คือ “แล้วเราจะมีความเสี่ยงอะไรบ้าง?” และ “แล้วเราต้องแก้ไขอย่างไร?” ไปดูกันเลย
ผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
1.
เงินหายไปจากบัญชี
เมื่อเราถูกหลอกให้เข้าใจผิดว่ากำลังล็อกอินเข้าใช้งานในบัญชีของธนาคาร หรือองค์กรที่เราคุ้นเคย หมายความว่า เราได้ให้รหัสผ่านกับมิจฉาชีพไปแล้ว และมิจฉาชีพก็จะไม่รีรอในการนำข้อมูลที่ได้ไปทำธุรกรรมต่าง ๆ แทนเรา เช่น โอนเงินออกจากบัญชีของเราไปยังบัญชีม้า หรือบัญชีที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นเพื่อไม่ให้ถูกตรวจสอบไปถึงผู้กระทำผิดที่แท้จริง
2.
ถูกนำข้อมูลบัตรไปลงทะเบียนซื้อของออนไลน์
เมื่อเราถูกฟิชชิ่งข้อมูลบัตรเครดิต/เดบิต ทั้งหมายเลขหน้าบัตร วันที่บัตรหมดอายุ (Exp.) และเลข CVV หลังบัตร มิจฉาชีพจะนำบัตรเราไปลงทะเบียนซื้อของออนไลน์ หรืออาจซื้อของผิดกฎหมาย ทำให้เหยื่อเป็นหนี้หรือมีความผิดโดยไม่รู้ตัว
3.
สร้างบัญชีปลอม ไปทำธุรกรรมอื่น ๆ
เมื่อเราถูกฟิชชิ่งข้อมูลส่วนบุคคลไป มิจฉาชีพอาจนำข้อมูลเราไปสร้างบัญชีปลอม ทำธุรกรรมหรือสมัครสินเชื่อต่าง ๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว
ข้อควรปฏิบัติเมื่อรู้ตัวว่าให้ข้อมูลกับมิจฉาชีพไปแล้ว
1.
เปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ ทั้งหมด
หากมีการใช้ชื่อผู้ใช้ (User) หรือ รหัสผ่าน (Password) เดียวกันในระบบอื่น ๆ ก็ควรเปลี่ยน รหัสผ่าน (Password) ให้ครบทุกระบบ เพื่อป้องกันความเสี่ยง โดยมีเทคนิคการตั้งรหัสผ่านใหม่ง่ายๆ 2 ข้อดังนี้
2. ระงับการใช้บัตรเดบิต/บัตรเครดิต (กรณีให้ข้อมูลบัตรไป)
กรณีลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ สามารถอายัดบัตรชั่วคราวได้ด้วยตัวเองผ่านแอป SCB EASY หรือผ่านทาง SCB Call Center โทร. 02-777-7777
3. ติดต่อศูนย์ดูแลลูกค้าจากภัยออนไลน์
ลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ที่ต้องการแจ้งเหตุภัยทางการเงินจากมิจฉาชีพ สามารถติดต่อ SCB Hotline ได้ที่ โทร. 02 -777-7575 ตลอด 24 ชั่วโมง
4. รวบรวมหลักฐานเพื่อแจ้งความ
นอกเหนือจากการแจ้งอายัดบัญชีชั่วคราวแล้ว ให้รวบรวมหลักฐานแจ้งความที่สถานีตำรวจ ตามคำแนะนำของ Call Center ธนาคารให้เร็วที่สุด โดยมีเทคนิคการแจ้งความดังต่อไปนี้
5.
ส่งเอกสารหมายเรียกพยานเอกสารให้ธนาคาร
เมื่อได้รับหมายเรียกพยานเอกสารเรียบร้อยแล้ว ขอให้รีบส่งเอกสารโดยเร็วที่สุด