ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
ส่อง 4 วิธี Go Green ทำได้ง่ายๆ ในยุค New Normal
ในเวลาที่ผู้คนระแวดระวังต่อการระบาดของโรคโควิด-19 โลกได้รับรู้ความเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติหลายอย่าง ทั้งในแง่ดีและน่ากังวลปะปนกันไป
หากพูดถึงแง่มุมที่เกิดขึ้นในช่วงขวบปีแรกที่กิจกรรมในโลกหลายอย่างหยุดชะงัก โดยเฉพาะ “การเดินทาง” ของมนุษย์ พบว่าระดับการสร้างมลภาวะในอากาศลดลงอย่างมาก งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลายสถาบันเป็นเครื่องยืนยันว่า หลายประเทศปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลง มีความต้องการใช้น้ำมันที่ต่ำกว่าเดิม และธรรมชาติทั่วทุกมุมโลกที่ได้รับการเยียวยา
แต่ในทางกลับกัน พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปบางอย่างก็นำมาซึ่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในระดับทวีคูณ เช่น อัตราการใช้พลาสติกในการบริโภค เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน รวมถึงการบรรจุหีบห่อส่งสินค้าถึงบ้าน ที่เติบโตตามการสั่งซื้อออนไลน์ เมื่อผู้คนต้องเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน และที่สำคัญคือการใช้หน้ากากอนามัยที่กลายเป็นขยะที่ต้องจับตามอง นอกจากนั้นอุปกรณ์ป้องกันโรคระบาดอย่างหน้ากากอนามัย ถุงมือ ขวดสเปรย์และเจลแอลกอฮอล์ ก็เป็นอีกตัวการสะสมขยะและเสี่ยงต่อการสร้างมลพิษ
องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า มีความต้องการหน้ากากอนามัย 89 ล้านชิ้นทั่วโลกในแต่ละเดือน ถุงมืออีก 76 ล้านคู่ และแว่นตาป้องกันอีก 1.6 ล้านอัน เช่นเดียวกับการใช้ชุดป้องกัน PPE ที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องสวมเพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่เป็นอีกหนึ่งไอเท็มคู่โรงพยาบาลที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บนยานอวกาศนั้น มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Journal of the Royal Society of Medicine ระบุว่า ปริมาณสะสมของ PPE ในช่วง 6 เดือนเฉพาะที่ประเทศอังกฤษนั้น ปล่อยคาร์บอนเทียบเท่ากับการบินจากกรุงลอนดอนไปยังนิวยอร์ก 244 ครั้งต่อวันเลยทีเดียว
ทว่าแทนที่จะปล่อยให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น อังกฤษลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้เทคโนโลยีการรีไซเคิลให้เป็นประโยชน์ และเริ่มมองหาการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อรับมือกับภัยโรคระบาดได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่ทำลายธรรมชาติ
แล้วในฐานะคนธรรมดาจะช่วยยับยั้งผลกระทบเหล่านั้นอย่างไร?
1) หลายคนอาจจะรู้สึกผิดหวัง ที่พบว่าเวลาไปซื้อกาแฟแล้วไม่สามารถใช้แก้วส่วนตัวของตัวเองได้ และต้องกลับมาใช้แก้วแบบครั้งเดียวทิ้งแทน แต่ขอให้อดทนหน่อย เพราะในเวลาที่โรคระบาดยังไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด การรับผิดชอบต่อผู้อื่น ที่ต้องเป็นคนสัมผัสกับสิ่งของส่วนตัวของเราโดยตรง ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ แต่เราอาจหันมาสนับสนุนหรือให้คำแนะนำร้านประจำ ให้เปลี่ยนมาใช้ภาชนะที่ทำมาจากวัสดุที่ย่อยสลายได้แทนพลาสติก ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีการผลิตเพื่อการใช้งานในต้นทุนที่ถูกลง
2) เมื่อรับประทานอาหาร ก็ควรพกชุดช้อนส้อมหรือตะเกียบส่วนตัวไปด้วย เพื่อลดการใช้พลาสติกที่ทางร้านนำมาห่ออุปกรณ์การรับประทานอาหาร หรือลดการใช้ช้อนส้อมแบบพลาสติกที่หลายร้านนำมาใช้แทน
3) หากคุณเป็นแฟนตัวยงในการใช้แอปสั่งอาหาร สามารถเลือกไม่รับอุปกรณ์การรับประทานแบบใช้แล้วทิ้งด้วย เพื่อช่วยลดการสร้างขยะได้อีกนิด
4) ขณะที่อุปกรณ์ป้องกันส่วนตัวอย่างหน้ากากอนามัยนั้น พยายามหันมาใช้หน้ากากผ้าแทน และขยันทำความสะอาดซักฆ่าเชื้อบ่อยๆ ก็สามารถทดแทนกันได้ หรือหากเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ซ้ำได้อย่าง face shield ก็ไม่ควรซื้อบ่อยๆ แต่ให้ใช้วิธีดูแลความสะอาดให้ดีหลังการใช้งาน เพราะอย่าลืมว่า นอกจากจะปริมาณมหาศาลของสิ่งเหลือทิ้งเหล่านี้จะสร้างมลภาวะทางอากาศ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ยังเป็นภาระการจัดการขยะที่สาหัส และหากดูแลไม่ดีพอ ก็อาจเป็นปัญหาขยะพลาสติกล้นเมืองได้เช่นกัน
เมื่อเรามีแนวโน้มต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไปอีกนาน หากลองปรับพฤติกรรมให้กลายเป็นเรื่องปกติในระยะยาวได้ แม้ว่าวันหนึ่งโรคร้ายจากเราไปแล้ว โลกอาจกลับคืนมาสู่ความสดใสในแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนเลยก็ได้
ที่มา
https://www.eea.europa.eu/publications/covid-19-and-europe-s/covid-19-and-europes-environment
https://www.sciencedaily.com/releases/2020/12/201208162957.htm
https://www.news-medical.net/news/20210318/Personal-protective-equipment-distributed-during-COVID-19-has-biggest-environmental-impact.aspx