First Jobber วางแผนลดหย่อนภาษีอย่างไรให้คุ้ม

ทุกคนที่มีรายได้ต้องวางแผนภาษี เพราะเป็นหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดไว้ โดยวัตถุประสงค์ของการวางแผนภาษี คือ การเตรียมการเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วนในฐานะพลเมืองดี และใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้น้อยลง ไม่ต้องเสียภาษีมากจนเกินไป รวมถึงไม่ต้องชำระภาษีเพิ่มหรือเสียเบี้ยปรับโดยใช่เหตุ


ในการวางแผนภาษีนั้น เราไม่ได้จะเลี่ยงภาษี หรือหนีภาษีแต่อย่างใด แต่เราจะใช้สิทธิที่กฎหมายให้ประโยชน์เราอย่างเต็มที่ เช่น ดอกเบี้ยผ่อนบ้าน การเลี้ยงดูพ่อแม่และบุตร การซื้อประกันชีวิต การลงทุนในกองทุนรวม และการบริจาคต่างๆ


สิทธิประโยชน์เหล่านี้ ทางภาครัฐต้องการกระตุ้นให้เกิดการออม จูงใจให้ประชาชนได้ออมเงิน เมื่อเค้าจัดมาให้ เราก็ควรจะใช้สิทธิให้เต็มที่ ดังนั้นเรามาเรียนรู้เรื่องภาษีกันสักหน่อย

เงินได้พึงประเมิน คือ รายได้ทั้งหมดทั้งปีของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง

สมมติว่า นายหลักแหลม มีเงินเดือนเดือนละ 28,000 บาท และปีนั้นนายหลักแหลมได้โบนัส 50,000 บาท


เงินได้พึงประเมินของนายหลักแหลมในปีนั้นคือ

28,000 x 12 = 336,000 รวมกับโบนัส 50,000 กลายเป็น 386,000 บาท


ตามสิทธิทางกฎหมายแล้ว นายหลักแหลม มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ที่สามารถนำมาหักภาษีได้

  • สามารถหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวได้ 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท


นายหลักแหลม มีเงินได้พึงประเมิน 386,000 บาท 50% ของเงินจำนวนนี้คือ 193,000 บาท ซึ่งเกิน 100,000 บาท ดังนั้น สรุปว่า นายหลักแหลม สามารถหักค่าใช้จ่ายของตัวเองได้ 100,000 บาท
 

เรามาดูค่าลดหย่อนกันบ้าง

รายการค่าลดหย่อน

จำนวนที่หักได้

หมายเหตุ

1

ค่าลดหย่อนตัวเอง

60,000 บาท

2

ถ้ามีคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้

60,000 บาท

3

พ่อแม่ที่มีอายุ 60  ปีและมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท

30,000 บาทต่อคน

4

บุตร

บุตรคนที่ 2 ที่เกิดปี 2561 เป็นต้นไป

30,000 บาทต่อคน

60,000 บาทต่อคน

ลูกหักได้สูงสุดบ้านละ 3 คน

5

ดอกเบี้ยผ่อนบ้าน/คอนโด

หักได้สูงสุด 100,000 บาท

6

ประกันชีวิตที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป

หักได้สูงสุด 100,000 บาท

7

ประกันสังคม

หักได้สูงสุด 9,000 บาท

8

สินค้าการเงินเพื่อการเกษียณอายุ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

หักได้สูงสุด 15% ของรายได้ต่อปี และไม่เกิน 500,000 บาท

ทั้ง 4 รายการนี้ รวมกันสามารถหักได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

RMF

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

หักได้สูงสุด 30% ของรายได้ต่อปี และไม่เกิน 500,000 บาท

SSF

กองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว

หักได้สูงสุด 30% ของรายได้ต่อปี และไม่เกิน 200,000 บาท

ประกันชีวิตแบบบำนาญ

หักได้สูงสุด 15% ของรายได้ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

9

เงินบริจาค

สูตรการคำนวณภาษี

เงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษี = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนต่างๆ


สรุปแล้วภาษีที่บุคคลจะต้องเสียต่อปี คำนวณจาก เงินได้สุทธิ

ทีนี้เรามาลองคำนวณหาเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษี จากกรณีของ นายหลักแหลม กันดู


นายหลักแหลม มีเงินได้พึงประเมิน 386,000 บาท ไม่มีภาระใดๆ และทำประกันสังคมไว้ ถ้านายหลักแหลมไม่มีการวางแผนภาษีเอาไว้ จะต้องเสียภาษีอย่างไร?


เงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษี = 386,000 – 100,0000 – 60,000 – 9,000 = 217,000 บาท

0 – 150,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษี

ต่อมาที่ขั้น 5% ส่วนที่นายหลักแหลมต้องเสียภาษีคือ 217,000 – 150,000 = 67,000 บาท

5% ของ 67,000 บาท = 3,350 บาท

ถ้ามีการวางแผนภาษี

ถ้านายหลักแหลมไม่อยากเสียภาษีเลย ต้องหาค่าลดหย่อนมาอีก 67,000 บาท เพื่อลดเงินได้สุทธิของตัวเองลง มาดูกันว่า นายหลักแหลมมีสิทธิซื้อสินค้าการเงินอะไรได้บ้าง และเท่าไหร่ เพื่อหักลดหย่อนภาษี เช่น นายหลักแหลมสนใจลงทุนใน SSF รายได้ต่อปีของนายหลักแหลมอยู่ที่ 386,000 บาท มีสิทธิซื้อ SSF ได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมินเท่ากับว่าจะสามารถซื้อ SSF 30% ของ 386,000 บาท ซึ่งก็คือ 115,800 บาท ดังนั้นนายหลักแหลมสามรถซื้อ SSF ได้ทั้งสิ้น 67,000 บาท เราลองมาดูกันว่าหากนายหลักแหลมซื้อ SSF แล้ว ภาษีที่ต้องจ่ายเป็นอย่างไร?


เงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษี
= 386,000 – 100,0000 – 60,000 – 9,000 – 67,000 = 150,000 บาท


0 – 150,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษี


เท่ากับว่านายหลักแหลมไม่ต้องเสียภาษีเพิ่ม ทำให้ประหยัดภาษีไปได้ 3,350 บาท


เงินภาษีที่ประหยัดได้ ทำให้ นายหลักแหลม มีเงินออมในกระเป๋ามากขึ้น หรือจะนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนต่อก็ได้ และได้มีการกันเงินออม (67,000 บาท) ไปลงทุนในกองทุน SFF มาหนึ่งกอง ซึ่งนายหลักแหลมสามารถนำกองทุนนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนเกษียณอายุ หรือวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายอื่นๆ ต่อได้ด้วย เท่ากับว่าการวางแผนภาษีที่ดี เหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัวเลย ดังนั้นจะรอช้าอยู่ทำไม รีบมาวางแผนภาษีกันเถอะ


ยิ่งตอนนี้เปิดบัญชีกองทุนนั้นง่ายนิดเดียวเพียงมี SCB EASY App ก็สามารถ เปิดบัญชีกองทุนด้วยขั้นตอนง่ายๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ หลังจากเปิดบัญชีเรียบร้อยก็สามารถเลือก ซื้อกองทุน SSF ที่ต้องการได้เลย ง่ายและสะดวกแบบนี้ไม่ต้องลังเลหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาเปิดบัญชีและเลือกซื้อกองทุนรวม SSF กับ SCB เลยวันนี้ไม่ต้องรอ คลิกเลย

 

บทความโดย :  นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP®, ACC  นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร

 

บทความที่เกี่ยวข้อง เทคนิคยื่นภาษีและลดหย่อนภาษีแบบง่ายๆ

ขั้นตอนการเปิดบัญชีกองทุนบน SCB EASY App

1. เลือก “การลงทุน”

2. เลือก “กองทุนรวม”

3. เลือก “เปิดบัญชี”

4. ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวที่เคยให้ไว้กับธนาคารให้ครบถ้วน
- เลือก “เริ่มต้น”

5. ยืนยันเบอร์มือถือ เพื่อรับ OTP
- เลือก “ถัดไป”

6. รับผลการสมัครผ่าน Slip และ Email