เทคนิคยื่นภาษี และ ลดหย่อนภาษี แบบง่ายด้วยตัวเอง

สำหรับผู้ที่มีรายได้ประจำการวางแผนภาษีจากการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามที่กฎหมายกำหนดนั้น จะช่วยให้เสียภาษีน้อยลงได้ โดยจำนวนภาษีจะลดลงเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนเงินได้และอัตราภาษีเฉพาะบุคคล โดยปัจจุบันใช้อัตราก้าวหน้าในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


ในปี 2566
กรมสรรพากรได้กำหนดรายการหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนต่าง ๆ ไว้ เพื่อลดภาระของยอดภาษีที่ต้องนำส่ง โดยแบ่งค่าลดหย่อนออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ภาระส่วนตัวและครอบครัว

ภาระส่วนตัวและครอบครัว

อัตราค่าลดหย่อน

1

ค่าลดหย่อนส่วนตัว

60,000 บาท

2

ค่าลดหย่อนคู่สมรส กรณีไม่มีรายได้หรือยื่นแบบร่วมกัน

60,000 บาท

3

ค่าลดหย่อนบุตร

คนละ 30,000 บาท
(บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป
ที่เกิดในหรือหลังปี 2561 เป็นต้นไป ลดหย่อนได้
คนละ 60,000 บาท)

4

ค่าลดหย่อนบิดามารดาที่อายุ 60 ปีขึ้นไปและมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท

คนละ 30,000 บาท

5

ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูผู้พิการหรือคนทุพพลภาพ

คนละ 60,000 บาท

6

ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร

ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 60,000 บาท

กลุ่มที่ 2 กลุ่มประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และการลงทุน

กลุ่มประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และการลงทุน

อัตราค่าลดหย่อน

1

เงินสมทบประกันสังคม

ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9 ,000 บาท

*ขอให้ตรวจสอบอัตราดังกล่าวอีกครั้ง เนื่องจากอาจมีการปรับลดอัตราระหว่างปี

2

เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป / เงินฝากแบบมีประกันชีวิต

ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

3

เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง

ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท

*ข้อ 2 และ 3 รวมแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

4

เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา

ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

5

เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในปีนั้น สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

6

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
[KU2]

ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในปีนั้น สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

7

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน

ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

8

เงินสะสมจากกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

ไม่เกิน 13,200 บาท

9

กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)

ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในปีนั้น สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

*ข้อ 5 - 9 รวมแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บา

กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อนภาษีอสังหาริมทรัพย์

ค่าลดหย่อนอสังหาริมทรัพย์

อัตราค่าลดหย่อน

1

ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย

ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

กลุ่มที่ 4 กลุ่มเงินบริจาค

กลุ่มเงินบริจาค

อัตราค่าลดหย่อน

1

เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา สนับสนุนการกีฬา ผ่านระบบ e-Donation และเงินบริจาคให้แก่โรงพยาบาลรัฐ

ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

2

เงินบริจาคทั่วไป เช่น บริจาคเงินเพื่อสาธารณกุศล

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

3

เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง

สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

กลุ่มที่ 5 ค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

ค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ

อัตราค่าลดหย่อน

1

โครงการช้อปดีมีคืน สำหรับค่าซื้อสินค้าหรือบริการในช่วงเวลา 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2566

  • ซื้อสินค้า หรือ บริการ ไม่เกิน 30,000 บาทแรก ใช้ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปหรือใบรับได้ทั้งแบบกระดาษ / e-Tax Invoice / e-Receipt
  • ซื้อสินค้า หรือ บริการ จำนวนอีกไม่เกิน 10,000 บาท ใช้ได้เฉพาะ e-Tax Invoice / e-Receipt เท่านั้น

ค่าสินค้าหรือบริการจะต้องได้รับใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปหรือ e-Tax Invoice ยกเว้น กรณีซื้อหนังสือ / e-Book / สินค้า OTOP ที่ใช้ใบรับหรือ e-Receipt ได้

สินค้าและบริการที่ไม่สามารถใช้สิทธิได้

  • ค่าสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ
  • ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ
  • ค่าซื้อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร
  • ค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
  • ค่าบริการจัดนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
  • ค่าที่พักในโรงแรมที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการโรงแรม
  • ค่าสาธารณูปโภค น้ำประปา ไฟฟ้า บริการสัญญาณโทรศัพท์และบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
  • ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ (วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566) เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ
  • ค่าประกันวินาศภัย

หมายเหตุ :

  • มาตรการช้อปดีมีคืนครั้งนี้เป็นการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/91 ระหว่างเดือน ม.ค. - มี.ค. 2567
  • ค่าลดหย่อนข้างต้นเป็นเพียงค่าลดหย่อนบางรายการที่กฎหมายกำหนดสิทธิประโยชน์ไว้ จึงยังมีค่าลดหย่อนรายการอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้อีก นอกจากนี้ ขอให้ผู้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีศึกษาหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีตามที่กฎหมายกำหนดอีกครั้งก่อนใช้สิทธิ
  • ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

การคำนวณเงินภาษีที่ต้องจ่าย

รายได้ต่อปี - ค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีก้าวหน้า

ตัวอย่าง การคำนวณภาษี ของคนที่มีรายได้ต่อปี 360,000 บาท

360,000 – 100,000 (ค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท) – 60,000 (ค่าลดหย่อนส่วนตัว) – 9,000 (ประกันสังคม) = 191,000 (เงินได้สุทธิ) และจะต้องเสียภาษีจำนวน 2,050 บาท ตามวิธีการคำนวณภาษีแบบขั้นบันได

เงินได้สุทธิ

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ
ตามตัวอย่างนี้

การคำนวณภาษี

0 – 150,000

ได้รับการยกเว้นภาษี

จำนวน 150,000 แรก

ได้รับการยกเว้นภาษี

150,001 – 300,000

5%

150,001-191,000

41,000 x 5% = 2,050

ในกรณีเดียวกัน หากซื้อกองทุน SSF เป็นจำนวนเงิน 24,000 บาท จะมีเงินได้สุทธิเท่ากับ 167,000 บาท (360,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 – 24,000 = 167,000) และจะเสียภาษีจำนวน 850 บาท ตามวิธีคำนวณ ดังนี้

เงินได้สุทธิ

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ

ตามตัวอย่างนี้

การคำนวณภาษี

0 – 150,000

ได้รับการยกเว้นภาษี

จำนวน 150,000 แรก

ได้รับการยกเว้นภาษี

150,001 – 300,000

5%

150,001-167,000

17,000 x 5% = 850


ตัวอย่างดังกล่าว หากมีการใช้สิทธิประโยชน์จากค่าลดหย่อน จะสามารถเสียภาษีลดลง 1,200 บาท (2,050 - 850) ซึ่งถ้าหากยังต้องการเสียภาษีน้อยลงจากเดิมอีก อาจลองพิจารณาซื้อกองทุน SSF เพิ่มเติมจากเดิมเป็น 36,000 บาท ก็จะเสียภาษีลดลงเหลือเพียง 250 บาทเท่านั้น

การจ่ายภาษี และการยื่นภาษีประจำปี

โดยปกติแล้ว นายจ้างจะหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ของพนักงานในแต่ละเดือนและนำส่งกรมสรรพากรให้ เมื่อครบปี นายจ้างจะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือ 50 ทวิ คือ เอกสารแสดงยอดเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ได้หักไว้แล้วในปีภาษี และแสดงข้อมูลรายได้ว่าได้มาจากที่ใดและจำนวนเท่าไหร่บ้าง เป็นเอกสารที่ผู้มีเงินได้สามารถใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบภาษีเงินได้ หรือ ภงด 90/91 โดยการยื่นแบบกระดาษ จะต้องยื่นภายในสิ้นเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีภาษี แต่สำหรับการยื่นภาษีออนไลน์จะขยายระยะเวลาไปอีก 8 วัน โดยสามารถยื่นได้ที่ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/

เมื่อเข้าใจในเรื่องของภาษี หลักการคำนวณและการลดหย่อนภาษีมากขึ้น การวางแผนภาษีตั้งแต่ต้นปีเพื่อพิจารณารายการลดหย่อนที่เหมาะสมกับตัวเองและทยอยซื้อตามกำลังในแต่ละเดือน จะช่วยให้บริหารภาษีได้อย่างเป็นระบบ ขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างความมั่นคงเพิ่มเติมในรูปแบบการออมเพื่ออนาคต การคุ้มครองความเสี่ยงในด้านชีวิตและสุขภาพ และการช่วยเหลือสังคมในรูปแบบการบริจาคอีกด้วย


หากอยากซื้อกองทุน SSF / RMF เพื่อลดหย่อนภาษีปลายปี สามารถซื้อได้ง่าย ๆ ผ่าน SCB Easy App ได้ทุกที่ทุกเวลา โดย SCB มีกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษี ที่มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลายให้เลือกตามความต้องการและระดับความเสี่ยงที่รับได้ และสามารถเลือกลงทุนได้ทันที ศึกษาข้อมูลกองทุนและขั้นตอนการลงทุนง่ายๆ ผ่าน SCB Easy App  ฟังก์ชัน  WEALTH4U  ผู้ช่วยด้านการลงทุน แนะนำกองทุนแบบรู้ใจเฉพาะคุณ ได้ที่นี่ https://scbcw-preprod.scb.co.th/th/personal-banking/digital-banking/scb-easy/wealth-for-you-info.html

ขั้นตอนการเปิดบัญชีกองทุนบน SCB EASY App

1. เลือก “การลงทุน”

2. เลือก “กองทุนรวม”

3. เลือก “เปิดบัญชี”

4. ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวที่เคยให้ไว้กับธนาคารให้ครบถ้วน
- เลือก “เริ่มต้น”

5. ยืนยันเบอร์มือถือ เพื่อรับ OTP
- เลือก “ถัดไป”

6. รับผลการสมัครผ่าน Slip และ Email