การลงทุน
ผลิตภัณฑ์การลงทุน
เริ่มต้นอย่างมั่นใจ เติมเต็มเป้าหมายการลงทุน ด้วยกองทุนหลากหลายจากธนาคารไทยพาณิชย์
ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
3 เทคนิคการบริหารเงินหลังเกษียณอย่างไร ให้มีพอใช้ตลอดชีวิต
คำถามสำคัญสำหรับผู้ใกล้เกษียณหรือเกษียณแล้วที่มักจะถามอยู่เสมอ คือ จะบริหารเงินหลังเกษียณอย่างไร ให้มีพอกิน พอใช้ไปตลอดชีวิต เพราะในการเตรียมเงินเพื่อการเกษียณอายุจะมีปัจจัยสำคัญที่เราไม่สามารถควบคุมได้ นั่นคือ อายุขัยของเรานั่นเอง เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าเราจะต้องใช้ชีวิตหลังเกษียณไปอีกกี่ปีกันแน่ หากไม่มีการบริหารเงินที่ดี ก็อาจทำให้เราพบเหตุการณ์ที่ ‘เงินหมดก่อนตาย’ ก็เป็นได้
เรื่องสำคัญในการบริหารเงินหลังเกษียณ คือ จำนวนเงินออมที่เพียงพอสำหรับใช้จ่ายยามเกษียณ และการบริหารเงินออมที่มีอยู่หลังเกษียณ แม้ว่าเราอาจจะคิดว่าเงินเกษียณเพียงพอสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณแล้วก็ตาม ทว่าหากบริหารเงินออมดังกล่าวไม่ดีพอ ก็มีสิทธิที่จะมีเงินไม่พอใช้ไปจนตลอดรอดฝั่ง นอกจากนี้การบริหารเงินออมยังเป็นการทำให้เงินออมที่มีอยู่ งอกเงยเพิ่มขึ้นอีกด้วย โดยบทความนี้จะนำเสนอเทคนิคการบริหารเงินหลังเกษียณ ดังนี้
3. การบริหารพอร์ตการลงทุน โดยจุดประสงค์ของการจัดสรรเงินก้อนสุดท้ายนี้ มีอยู่ 2 ประการคือ เพื่อให้มีเงินเกษียณเพียงพอกับค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน และเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในอนาคตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากเงินเฟ้อ ซึ่งพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสม ควรมีลักษณะดังนี้
3.1 คำแนะนำการจัดพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับวัยเกษียณ ควรมีการกระจายการลงทุนดังนี้
3.2 พอร์ตการลงทุนอีกรูปแบบหนึ่งที่น่าสนใจ คือ รูปแบบการลงทุนที่ช่วยสร้างรายได้ตลอดชีวิต (The Income for Life Model) ซึ่งเป็นแนวคิดของฟิลลิป ลูบินสกี นักวางแผนการเงินในเดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา (ที่มา คู่มือเงินทองต้องวางแผน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) โดยให้แบ่งเงินลงทุนที่มีอยู่ทั้งหมดออกเป็น 6 ส่วนและนำไปลงทุน ดังนี้
อย่างไรก็ตาม หากคิดว่าการจัดพอร์ตการลงทุนในรูปแบบดังกล่าวเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ก็อาจจะเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่ออกแบบมาเพื่อวัยเกษียณอายุ หรือกองทุนรวมที่สามารถสร้างรายได้ประจำแทนก็ได้ นอกจากนี้ต้องไม่ลืมกันเงินส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินสภาพคล่องเผื่อฉุกเฉิน อย่างน้อย 6 – 12 เท่าของค่าใช้จ่ายประจำ และเก็บไว้ในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น เงินฝากออมทรัพย์หรือกองทุนรวมตลาดเงิน เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้เบิกถอนออกมาใช้ได้อย่างทันท่วงที สุดท้ายต้องหมั่นตรวจสอบพอร์ตการลงทุนของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่ากลยุทธ์การลงทุนที่ได้วางไว้ จะทำให้เรามีเงินเกษียณพอใช้ไปตลอดชีวิต
บทความโดย: นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร