ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
มีอะไรอยู่ในกรมธรรม์ประกันชีวิต
เมื่อเราซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ สิ่งที่เราจะได้รับคือ ‘ กรมธรรม์ ’ ไว้เป็นหลักฐาน และเพื่อให้เราได้ศึกษารายละเอียดความคุ้มครองต่างๆ กรมธรรม์จึงเป็นเอกสารที่ทางบริษัทประกันมอบให้แก่ผู้เอาประกัน เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าผู้เอาประกันจะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกัน หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน บริษัทประกันจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกัน ตามความคุ้มครองและจำนวนเงินที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์นั่นเอง ดังนั้นกรมธรรม์จึงเป็นเอกสารสำคัญที่เราต้องทำความเข้าใจถึงความคุ้มครองต่างๆ ให้ดี
มีข้อมูลอะไรอยู่ในกรมธรรม์ประกันชีวิต?
ข้อมูลสำคัญในกรมธรรม์ประกันชีวิต แบ่งออกเป็น 5 ส่วนดังนี้
1. ส่วนสรุปกรมธรรม์ประกันชีวิต
จะอยู่ในช่วงหน้าแรกๆ ของกรมธรรม์ โดยสรุปข้อมูลสำคัญ ดังนี้
2. รายละเอียดผลประโยชน์ของแบบประกัน
ในส่วนนี้จะบอกถึงผลประโยชน์อย่างละเอียด ที่เราจะได้รับจากแบบประกันที่เราซื้อ ทั้งในกรณีที่ “ยังมีชีวิตอยู่” หรือแม้กระทั่ง “เสียชีวิต” เช่น เงินคืนรายงวด เงินคืนเมื่อสิ้นปีกรมธรรม์ และเงินปันผล หากอยู่ครบสัญญาได้เพิ่มอีกเท่าไหร่ กรณีเสียชีวิตได้เท่าไหร่ ซึ่งผลประโยชน์ดังกล่าว จะกำหนดเป็นร้อยละของทุนประกัน
หากเรามีกรมธรรม์หลายเล่ม ควรทำสรุปกรมธรรม์เก็บไว้ เพื่อที่เราจะได้ทราบว่า กรมธรรม์แต่ละฉบับ จะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ ในปีไหน เมื่ออายุเท่าไหร่บ้าง และหากมีประกันสุขภาพที่พ่วงอยู่กับประกันชีวิต การสรุปกรมธรรม์จะทำให้เราทราบว่ามีความคุ้มครองในแต่ละรายการอยู่ที่เท่าไหร่
3.ตารางมูลค่ากรมธรรม์
เป็นตารางที่แสดงมูลค่าการใช้สิทธิในกรมธรรม์ คือ สิทธิเวนคืนมูลค่าเงินสด สิทธิแปลงกรมธรรม์เป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ และสิทธิขยายเวลาความคุ้มครอง หากเราต้องการหยุดจ่ายเบี้ย โดยในตารางจะเป็นตัวเลขสำหรับทุนประกันทุกๆ 1,000 บาท ดังตัวอย่าง
จากตารางข้างต้น ผู้เอาประกันเพศหญิง อายุ 45 ปี ได้ซื้อประกันภัยแบบสะสมทรัพย์ 25 ปี ชำระเบี้ย 15 ปี ทุนประกัน 200,000 บาท หากผู้เอาประกันชำระเบี้ยประกันมาถึงสิ้นปีกรมธรรม์ที่ 12 (โดยสิ้นปีกรมธรรม์จะนับจากวันที่ครบรอบการทำประกันภัย ไม่ได้หมายถึงสิ้นปีตามปฏิทิน) และต้องการหยุดจ่ายเบี้ยประกัน ผู้เอาประกันมีทางเลือกดังต่อไปนี้
4. สัญญาเพิ่มเติม
ในส่วนนี้จะมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
จะเห็นว่าในส่วนของสัญญาเพิ่มเติม มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ผู้เอาประกันจึงควรอ่านและทำความเข้าใจให้ดี เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในการเคลมเวลาเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมา
5.ใบคำขอเอาประกันชีวิต
ในส่วนท้ายสุดของกรมธรรม์จะเป็นใบคำขอเอาประกันชีวิต หรือใบสมัครประกันชีวิตที่เราทำกับตัวแทนนั่นเอง ซึ่งจะแสดงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เอาประกันภัย รายละเอียดของแบบประกันและความคุ้มครอง ผู้รับผลประโยชน์ และการแถลงสุขภาพของผู้เอาประกันภัย
ข้อมูลในส่วนนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญมาก และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาประกันชีวิต เมื่อผู้เอาประกันได้รับกรมธรรม์ สิ่งแรกที่ควรทำ คือ พลิกดูที่ท้ายเล่ม เพื่อตรวจสอบข้อมูลในใบคำขอเอาประกันชีวิตอีกครั้งว่าข้อมูลที่กรอกไปนั้นถูกต้องหรือไม่ เช่น ชื่อ สกุล ของทั้งผู้เอาประกันและผู้รับผลประโยชน์สะกดถูกต้องหรือไม่ ข้อมูลการติดต่อต่างๆ เป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่ เป็นต้น หากพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องให้รีบแจ้งตัวแทนเพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทันที
กล่าวโดยสรุป กรมธรรม์ประกันชีวิต เป็นเอกสารสำคัญที่เราควรอ่านและศึกษาให้เข้าใจ โดยอาจจะศึกษาด้วยตัวเองหรือขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากตัวแทนประกัน เพื่อให้เราได้ประโยชน์จากการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพนี้อย่างเต็มที่ คุ้มค่ากับเบี้ยประกันที่จ่ายไป
บทความโดย :
นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP®, ACC
นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร