ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
เทคโนโลยีป้องกันและรับมือโรคความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ
ความจำเสื่อมโรคที่ไม่มีใครอยากเป็นแต่จากสถิติโรคความจำเสื่อมในผู้สูงอายุนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สืบเนื่องจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุหรือ Aging Society ในญี่ปุ่น ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคความจำเสื่อมเพิ่มมากขึ้นในญี่ปุ่นเป็นเงาตามตัว 1 ใน 5 ของผู้สูงอายุในญี่ปุ่นป่วยด้วยโรคความจำเสื่อม ในปี 2020 ในญี่ปุ่นมีผู้ป่วยด้วยโรคความจำเสื่อม 6.3 ล้านคน และคาดการณ์ว่าในปี 2025 จะมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากถึง 7.3 ล้านคน ซึ่งหมายความว่าในปี 2025 20% ของผู้สูงอายุในญี่ปุ่นจะป่วยด้วยโรคนี้ จึงทำให้หลายๆ บริษัทคิดค้นผลิตสินค้าและบริการเพื่อผู้ป่วยความจำเสื่อมเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น บริษัทประกันภัยบริษัทหนึ่งมีประกันภัยทรัพย์สินที่เกิดความเสียหายจากจากผู้ป่วยความจำเสื่อม และตอนนี้มีมากกว่า 1 ล้านคนแล้วที่ซื้อประกันตัวนี้
จากการที่จำนวนผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความจำเสื่อมทีมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น ทั้งธนาคารและธุรกิจบริการอื่นๆ ต่างต้องรับมือกับผู้ป่วยด้วยโรคความจำเสื่อมมากขึ้นเรื่อยๆ VR training program เพื่อให้การอบรมพนักงานในการรับมือกับลูกค้าที่ป่วยด้วยโรคความจำเสื่อมจึงถูกพัฒนาขึ้นโดย Michibata Kensuse เนื่องจากมีลูกค้าหลายรายที่เป็นธุรกิจให้บริการบอกเขาว่า พนักงานมีปัญหาในการให้บริการกับผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมมากขึ้นและไม่รู้จะรับมืออย่างไรดี เขาจึงใช้วิธีการแสดงเหตุการณ์จำลองโดยใช้นักแสดงมืออาชีพบวกกับ VR Technology โดยเขามองว่า VR ช่วยให้พนักงานเรียนรู้เกี่ยวกับผู้ป่วยได้มากขึ้น VR based training activity program เป็นแว่นตาที่สวมใส่แล้วเข้าสู่บทเรียนเพื่อเรียนรู้และเข้าใจผู้ป่วยโรคความจำเสื่อม โดยออกแบบเพื่อสอนให้พนักงานธนาคารปฏิบัติต่อลูกค้าที่ป่วยด้วยโรคความจำเสื่อมได้อย่างเหมาะสม หลังจากดาวโหลดน์โปรแกรมลงบน smart phone ก็สามารถเชื่อมต่อกับ VR head set โปรแกรมมีหลากหลายเหตุการณ์จำลองให้เรียนรู้ โดยได้รับการช่วยพัฒนาเนื้อหาในการสอนโดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัย Kyoto Prefectural University of Medical ที่มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อมมากว่า 20 ปี ซึ่งอาจารย์กล่าวว่าผู้ป่วยส่วนมากจำไม่ได้ว่าพวกเขาทำอะไรมาบ้างเมื่อวาน ซึ่งถ้าพนักงานบอกว่าพวกเขาเคยมาที่นี่แล้วหลายครั้ง ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าโดนกล่าวหา โดนทำร้าย และจะอารมณ์เสีย เช่น ตัวอย่างในวิดิโอ
เจ้าหน้าที่ : มีอะไรฉันช่วยได้บ้างค่ะ ฉันจำได้ว่าคุณมาที่ธนาคารเมื่อวานนี้
ผู้ป่วย: ไม่นะ ฉันมาที่นี่เป็นครั้งแรก
เจ้าหน้าที่: ไม่ค่ะ ฉันเคยเห็นคุณมาก่อน
ผู้ป่วย: ฉันบอกว่าฉันมาครั้งแรกไง อย่ามาทำว่าฉันเป็นตัวตลกเพราะชั้นแก่นะ
ผู้ป่วยโมโหและตวาดใส่พนักงาน
หลังจากนั้นวิดีโอจะแนะนำวิธีปฏิบัติและพูดคุยกับผู้ป่วยอย่างถูกต้อง เช่น
พนักงาน: โอ้ว วันนี้คุณใส่เสื้อสวยมากเลยค่ะ
ผู้ป่วย: สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากวันนี้เป็นวันที่อากาศดีมาก
พนักงาน: ฉันก็ดีใจที่ได้เจอคุณวันนี้ค่ะ
ผู้ป่วย: ขอบคุณค่ะ ฉันก็ดีใจที่ได้เจอคุณ
หลักสูตรจะให้คำแนะนำ เช่น สิ่งที่ต้องจดจำ เช่น
· ความปลอดภัยทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้ป่วย
· สื่อสารด้วยถ้อยคำที่ชัดเจนและใจเย็น
· พาผู้ป่วยไปคุยในพื้นที่ที่เงียบๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มความเครียดให้ผู้ป่วย
· ถ้าจำเป็นแจ้งให้ครอบครัวของผู้ป่วยทราบว่าผู้ป่วยกำลังอยู่ที่นี่
โดยเครื่อง VR training ขายยูนิตละ 1000 เครื่อง ซึ่งเน้นขายให้บริษัทขนาดใหญ่ โดยค่า software license และเครื่องฟัง ราคาประมาณ $30 ต่อพนักงานหนึ่งคน ปัจจุบันมีธนาคารขนาดใหญ่ 2 ธนาคารในญี่ปุ่นได้ซื้อไปใช้แล้วโดยใช้ในการอบรมพนักงานที่ต้องติดต่อกับลูกค้า รวมทั้งหน่วยงานของรัฐก็ใช้ระบบ VR นี้อบรมพนักงานเช่นเดียวกัน นอกจากใช้ในการอบรมนางพยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อมแล้วยังให้ความรู้ความเข้าใจด้วยว่าผู้ป่วยต้องเผชิญกับความยากลำบากในการใช้ชีวิตอย่างไร ซึ่งทำให้ผู้ที่ต้องดูแลให้บริการผู้ป่วยมีความเข้าใจและต้องการที่ช่วยเหลือพวกเขาเหล่านั้นจากใจจริง
นอกจากนั้นยังมีการคิดค้นอุปกรณ์เพื่อป้องกันโรคความจำเสื่อมในผู้สูงอายุหรือทำให้ผู้ที่เริ่มมีอาการทุเลาจากโรค เครื่องที่ว่านี้เป็นเครื่องปั่นจักรยานที่มีหน้าจอเป็นเครื่องเล่นเกมส์เพื่อฝึกสมอง ซึ่งทำให้ได้ทั้งการออกกำลังกายและฝึกสมองไปพร้อมๆ กัน ผู้ป่วยที่ทดลองใช้เครื่องนี้บอกว่ามันสนุกมาก และทำให้ปั่นจักรยานได้นานขึ้น เป็นจักรยานที่ออกแบบมาเพื่อการป้องกันโรคความจำเสื่อมโดยเฉพาะระหว่างปั่นจักรยาน ผู้ปั่นต้องตอบคำถามหลายรูปแบบจากหน้าจอ จากผลการวิจัยพบว่าการออกกำลังกายพร้อมกันกับการฝึกใช้สมองสามารถป้องกันโรคความจำเสื่อมได้ การทำกิจกรรมสองอย่างนี้พร้อมๆ กันไป เรียกว่า Cognicise ซึ่งมาจากคำว่า cognition + exercise เกมมีความยาก4 ระดับ และมีคำถาม 6 รูปแบบให้เลือกเช่น เรื่องการคำนวณตัวเลข การจับคู่ชื่อกับภาพ คำถามเกี่ยวกับสัตว์ต่างๆ คำถามยิ่งท้าทายและมีความยากสมองจะทำงานมากขึ้น ผู้เล่นบางคนบอกว่าเครื่องนี้ทำให้เขาปั่นได้นานขึ้น ผู้ที่คิดค้นเครื่องปั่น Cognicise คือ Dr.Shimada Hiroyuki ซึ่งทำการศึกษาวิจัยและช่วยเหลือผู้สูงอายุให้ไม่ป่วยด้วยโรคความจำเสื่อมมากว่า 20 ปี ในการทดลองหนึ่งคุณหมอได้ทดลองกับผู้ป่วยจำนวน 300 คนที่เริ่มป่วยด้วยโรคความจำเสื่อมในระยะเบื้องต้น โดยมีระยะเวลาทดลอง 10 เดือน ซึ่งผลการวิจัยพบว่าผู้ที่เข้าร่วมในการทดลอง Cognicise มีการพัฒนาการด้านสมองที่ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ร่วมอย่างชัดเจน
DCognicise มีเป้าหมายให้ผู้ใช้งานต้องคิดในขณะที่ออกกำลังกายและมีความสนุกไปด้วย ถ้าทำอย่างสม่ำเสมอวิธีการนี้ได้รับการทดสอบแล้วว่าได้ผลจริง เครื่อง Cognicise จะเก็บข้อมูล ทำให้ผู้เล่นเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นของตัวเองตลอด ซึ่งการเห็นพัฒนาการของตัวเองทำให้ผู้เล่นมีกำลังใจและอยากจะเล่น Cognicise นี้ต่อไปเรื่อยๆ ผู้เล่นบางคนบอกว่าแม้ว่าผลคะแนนของเขาจะดีขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่เขาก็มองว่าวิธีการนี้คุ้มค่า นอกจากนั้นฟังก์ชั่นที่น่าสนใจคือ ความหนืดของเครื่องปั่นจะเพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนคำถามที่ตอบถูก ถ้าผู้เล่นตอบคำถามได้ถูกเป็นจำนวนมากแสดงว่าเขาให้ความสนใจกับการตอบคำถามมากกว่าการปั่น ทำให้เครื่องปั่นหนืดขึ้นทำให้ผู้เล่นต้องหันมาสนใจกับการปั่นมากขึ้นนั่นเอง เครื่องนี้มีราคา $10,000 แต่สามารถเช่าได้ในราคา $180 ต่อเดือน โดยปัจจุบันอุปกรณ์ตัวนี้ส่วนใหญ่จะใช้ที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งตอนนี้ Dr.Shimada Hiroyuki กำลังพัฒนาเครื่องรุ่นใหม่เพื่อให้ผู้สูงอายุใช้ได้ที่บ้าน เนื่องจากโควิดทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่แต่บ้านมากขึ้น ไม่ได้มีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่นซึ่งทำให้เพิ่มโอกาสการเป็นโรคความจำเสื่อม การมีเครื่องนี้ที่บ้านจึงสามารถช่วยได้มาก
สุขภาพของทุกคนในครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ ถ้ามีใครในครอบครัวต้องเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังไม่เพียงแต่ตัวผู้ป่วยเองที่ต้องทนทุกข์ทรมาน ทุกคนในครอบครัวก็หนีไม่พ้นที่จะได้รับผลกระทบไปด้วย การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไข แต่อย่างไรก็ตามการเจ็บไข้ได้ป่วยก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ การมีประกันสุขภาพที่เหมาะสมจะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลที่จะมีแต่แพงขึ้นทุกวัน สนใจทำประกันสุขภาพกับ SCB สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scb.co.th/th/personal-banking/insurance/health-insurance.html