ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
5 เรื่องน่ารู้ เมื่อไปเที่ยวญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเป็นประเทศในดวงใจของใครหลายๆ คน คนที่ไม่เคยไป ก็อยากจะไปสักครั้ง คนที่เคยไปแล้ว ก็อยากกลับไปเที่ยวอีก เพราะเป็นประเทศที่เที่ยวได้ตลอดปีแบบไม่ซ้ำบรรยากาศ อาหารหลากหลาย มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สามารถชมดอกซากุระบานทั่วเมืองได้ในฤดูใบไม้ผลิ ตื่นตาตื่นใจกับท้องฟ้ายามค่ำคืนของเทศกาลดอกไม้ไฟในฤดูร้อน หรือชมความงามของใบไม้เปลี่ยนสีจากเขียวขจีเป็น เหลือง ส้ม แดง ในฤดูใบไม้ร่วง และเล่นสกี ต่อด้วยการชมความอลังการของประติมากรรมน้ำแข็งในฤดูหนาว แต่ไม่ว่าจะมาญี่ปุ่นในฤดูไหน หรือช่วงใดก็ตาม สิ่งที่คุณจะได้สัมผัสนั้นมีอะไรบ้าง มาดูกัน
1.คนขี่จักรยานกันทั่วเมืองตั้งแต่เด็ก คนทำงาน ผู้บริหาร และคนสูงวัย
นอกจากการใช้รถไฟฟ้าใต้ดินในการสัญจรแล้ว จักรยานก็เป็นอีกพาหนะที่ชาวญี่ปุ่นหลายๆ บ้านต้องมี ไม่ว่าจะใช้ปั่นไปทำงาน หรือออกไปทำธุระประจำวันนอกบ้าน แถมยังมีกฎหมายควบคุมการขี่จักรยานแบบเคร่งครัดด้วย เช่น ห้ามฝ่าไฟแดง ห้ามขี่ขณะเมาสุรา จำกัดความเร็วในการปั่น และขี่ได้เฉพาะพื้นที่กำหนดไว้เท่านั้น แต่บางครั้งในช่วงเวลาที่เร่งด่วน เราก็อาจจะได้เห็นชาวญี่ปุ่นบางคนปั่นจักรยานบนเขตฟุตบาทคนเดินเท้าด้วย แม้ประเทศนี้จะขึ้นชื่อเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน แต่สำหรับนักท่องเที่ยวอย่างเรา ระวังเอาไว้ก็ไม่เสียหาย เพราะความเร็วของจักรยานก็สามารถทำให้เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นเลือดตกยางออกได้เหมือนกัน และถ้าใครอยากปั่นจักรยานชมเมือง ก็ต้องรู้กฎเกณฑ์ไว้ด้วย จะได้ไม่โดนปรับเพราะไปขี่ผิดที่ผิดทาง หรือไปกีดขวางทางเดินรถยนต์เข้า
2. มีการแบ่งแยกประเภทขยะอย่างละเอียดยิบ
ญี่ปุ่นถือเป็นประเทศชั้นนำในเรื่องการบริหารจัดการขยะ ที่นี่มีกระบวนการคัดแยกขยะชัดเจนและครบวงจร โดยจะมีการแบ่งประเภทของขยะ เช่น ขยะพลาสติก ขวดแก้ว กระดาษ เศษอาหาร หรือภาชนะปนเปื้อนเศษอาหาร เพื่อความสะดวกในการนำไปรีไซเคิล หรือทำลาย นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังมีจุดทิ้งขยะน้อยมาก (ยิ่งถังขยะน้อยก็ยิ่งมีคนทิ้งน้อย) เช่น จะมีถังขยะอยู่ตามตู้ขายเครื่องดื่มแบบหยอดเหรียญ ซึ่งก็จะเป็นถังขยะสำหรับขวดน้ำพลาสติกเพียงอย่างเดียว หรือตามร้านสะดวกซื้อก็สามารถมองหาจุดทิ้งขยะใกล้ๆ ได้ ส่วนจุดที่มีถังขยะมากหน่อย จะอยู่ตามห้างร้านขนาดใหญ่เสียมากกว่า ฉะนั้นหากเราซื้อขนมจากร้านสะดวกซื้อมารับประทานระหว่างทาง อาจจะหาที่ทิ้งยาก การมีถังขยะเพียงบางจุดเป็นการสร้างนิสัยในการทิ้งขยะให้ถูกที่ และกระตุ้นให้เกิดการคิดก่อนจะซื้อนั่นเอง
3.อาหารแบบญี่ปุ่นแท้ๆ รสชาติไม่เหมือนที่เราคุ้นเคย
อาหารญี่ปุ่นท้องถิ่นจะมีความแตกต่างไปจากเมนูที่เราเคยรับประทานอยู่บ้าง เนื่องมาจากหลายปัจจัย เช่น วัตถุดิบ เครื่องปรุงรส หรือวัฒนธรรมการกินของคนท้องถิ่นในแต่ละเมือง รวมถึงการใช้ตะเกียบก็ต่างออกไปจากที่คนไทยคุ้นเคย คนญี่ปุ่นเวลาทานอาหารเสร็จจะไม่วางตะเกียบไว้บนชาม แต่จะวางไว้บนที่วางตะเกียบ และวางขนานกับตัวเรา หากไม่มีที่วางตะเกียบก็สามารถวางไว้บนซองตะเกียบแทนได้ ส่วนรสชาติอาหารแบบญี่ปุ่นแท้ๆ ในเมนูยอดนิยมของคนไทยจะเป็นอย่างไรบ้าง มาดูกัน
เมนูปลา เมนูเด่นของที่นี่ไม่ใช่แซลมอนอย่างที่คนไทยนึกถึง แต่จะเป็นปลาทูน่า หรือ ปลาไหล เพราะแซลมอนแท้จริงแล้วเพิ่งจะกลายเป็นเมนูอาหารญี่ปุ่นเมื่อประมาณปี 1995 จากการนำเข้าปลาจากนอร์เวย์ นอกจากนี้สมัยก่อนปลาแซลมอนที่จับได้แถวทะเลญี่ปุ่นจะเสี่ยงมีเชื้อปรสิต คนญี่ปุ่นจึงไม่นิยมรับประทาน แต่นิยมปลาทูน่าซึ่งเป็นปลาน้ำลึก และปลาไหลแทน
ราเมง บางร้านสามารถเลือกความนุ่มของเส้น หรือเลือกน้ำซุปที่มีหลายประเภทได้ แต่รสชาติญี่ปุ่นแท้ๆ ตัวน้ำซุปอาจจะเค็มไปสักนิดสำหรับคนไทย ก่อนจะปรุงก็ลองชิมรสชาติกันดูก่อน
ทาโกะยากิ หรือที่คนไทยเรียกว่าขนมครกญี่ปุ่น หน้าตาภายนอกไม่ต่างกับที่ทำขายในบ้านเรา แต่รสชาติดั้งเดิมของที่นี่ แป้งจะออกไปทางเละ และนิ่มกว่า
4. ศึกษาเรื่องห้องน้ำแบบดั้งเดิมไว้บ้างก็ดี
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีกระดาษชำระให้ใช้ฟรีในห้องน้ำ ไม่ต้องหยอดตู้ซื้อ และมักจะมีถังขยะใบเล็กๆ วางไว้ด้วย ซึ่งเจ้าถังขยะนี้ไม่ได้มีไว้ทิ้งกระดาษชำระอย่างบ้านเรา แต่มีไว้ทิ้งขยะเล็กๆ น้อยๆ รวมถึงผ้าอนามัยที่ห่อเรียบร้อยแล้ว ส่วนกระดาษชำระนั้น หลังจากเราทำธุระเสร็จก็สามารถกดลงชักโครกได้เลย เพราะกระดาษชำระที่ญี่ปุ่นจะยุ่ยง่ายเมื่อโดนน้ำ แถมยังมีระบบท่อน้ำทิ้งและระบบระบายน้ำที่มีการบริหารจัดการเป็นอย่างดี
แต่ถ้าใครไปตามจุดพักรถ ร้านอาหารหรือสถานที่ท่องเที่ยวในเขตนอกเมือง ก็จะได้พบเจอกับห้องน้ำญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ที่ทำเอาหลายคนสงสัยว่าต้องนั่งหันหน้าไปทางไหน ซึ่งหลักการก็คือ ให้เราหันหน้าไปทางส่วนที่โค้งขึ้นมาของส้วม แล้วนั่งยองๆ ทำธุระได้เลย แต่คนไทยเราอาจรู้สึกแปลกๆ เพราะห้องน้ำแบบดั้งเดิมนี้เวลานั่งมักจะเป็นการหันหลังให้ประตูนั่นเอง
5.ญี่ปุ่นยังเป็นสังคมเงินสด
การใช้จ่ายระหว่างท่องเที่ยวในญี่ปุ่นนั้นยังจำเป็นต้องพกเงินสด เพราะร้านอาหารต่างๆ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ยังนิยมรับเงินสดในการชำระค่าอาหารหรือบริการมากกว่า ซึ่งอาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ที่คุณต้องออกไปกดเงินสดมาจ่ายในกรณีที่ร้านอาหารบางร้านไม่รับบัตรเครดิต อย่างไรก็ตามนอกจากเงินสดแล้ว ที่ญี่ปุ่นยังนิยมใช้บัตรเติมเงินที่เป็นการเติมเงินเข้าไปในระบบเพื่อใช้ชำระค่าสินค้าและบริการด้วย เช่นตาม ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ร้านกาแฟ สำหรับคนไทยเราสามารถใช้บัตรเติมเงิน Planet SCB รูดใช้ที่ญี่ปุ่น หรือกดเงินสดออกมาจากตู้ ATM ญี่ปุ่นก็ได้เหมือนกัน ไม่เสียค่าธรรมเนียมแปลงสกุลเงิน 2.5% จึงทำให้ได้เรทดีกว่าใช้บัตรเครดิตทั่วไป
ใครที่มีแพลนจะไปญี่ปุ่น หรือชอบเที่ยวต่างประเทศ แนะนำให้สมัครบัตร Planet SCB ไว้เป็นอีกทางเลือก เพราะสามารถแลกเงินสกุลต่างประเทศได้ในเรทพิเศษเทียบเท่าร้านแลกเงินชั้นนำ เหมือนเป็นการล็อกเรทที่เราพอใจไว้ในบัตร จะเอาไปใช้เมื่อไหร่ก็ได้ นอกจากนี้ยังแลกเก็บไว้ได้ถึง 13 สกุลเงินยอดนิยมในบัตรเดียว ไม่ต้องพกเงินสด สามารถเติมเงินเข้าบัตรได้ทันทีผ่านทาง SCB EASY App หากบัตรหาย ก็สามารถอายัดบัตรได้ด้วยตัวเองผ่าน SCB EASY App อีกเช่นกัน สะดวกและดีแบบนี้ ไม่มีไม่ได้แล้ว