ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
แบงก์ชาติคุมเกณฑ์ใหม่ ‘สินเชื่อบ้าน’
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศเกณฑ์กำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดยกำหนดเพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (Loan To Value Ratio, LTV) ให้เข้มงวดขึ้น สำหรับการซื้อบ้านหลังที่สองและสาม หรือบ้านที่มีมูลค่าเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 เม.ย. 62 ที่ผ่านมา โดยมีรายละเอียดดังนี้
ราคาอสังหาริมทรัพย์ |
สัญญาที่ (บ้านหลังที่) |
% การให้สินเชื่อ |
เงินดาวน์ |
ต่ำกว่า 10 ล้านบาท |
1 (บ้านหลังแรก) 2 โดยผ่อนบ้านหลังแรกแล้ว 3 ปีขึ้นไป 2 โดยผ่อนบ้านหลังแรกไม่ถึง 3 ปี ตั้งแต่บ้านหลังที่ 3 เป็นต้นไป |
90 – 95% 90% 80% 70% |
5 – 10% 10% 20% 30% |
ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป |
1 – 2 ตั้งแต่บ้านหลังที่ 3 เป็นต้นไป |
80% 70% |
20% 30% |
ตัวอย่างเช่น หาก นาย ก. ต้องการกู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 ที่มีมูลค่า 5 ล้านบาทโดยที่ผ่อนบ้านหลังแรกอยู่ยังไม่ถึง 3 ปี จากกฎเกณฑ์ใหม่นี้ทำให้ นาย ก. จะต้องเตรียมเงินดาวน์ 20% ของมูลค่าบ้าน คือ 1 ล้านบาท และธนาคารจะสามารถให้สินเชื่อได้ไม่เกิน 80% ของมูลค่าบ้าน คือ ไม่เกิน 4 ล้านบาท หากนาย ก. ต้องการสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อซื้อเฟอร์นิเจอร์ หรือเพื่อตกแต่งบ้าน โดยใช้บ้านหลังนี้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ธนาคารจะปล่อยกู้สินเชื่อเพิ่มเติมนี้ได้สูงสุดเมื่อรวมกับสินเชื่อบ้านแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท ซึ่งในกรณีนี้หากธนาคารให้สินเชื่อบ้านที่ 4 ล้านบาทแล้ว ธนาคารจะให้สินเชื่อเพิ่มเติมได้อีกไม่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่งวงเงินนี้จะไม่รวมสินเชื่อเพื่อจ่ายเบี้ยประกันชีวิต ประกันวินาศภัย และสินเชื่อที่ให้กับธุรกิจ SMEs แปลว่าหากต้องการกู้เงินเพิ่มเพื่อมาซื้อประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ก็สามารถทำได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของธนาคารด้วย
ทําไมแบงก์ชาติต้องออกมาตรการกํากับดูแลในครั้งนี้ ?
มาตรการนี้ส่งผลด้านใดกับใครบ้าง?
กล่าวโดยสรุป จุดประสงค์ของการปรับปรุงเกณฑ์ในครั้งนี้คือ เพื่อดูแลประชาชนที่ต้องการกู้ซื้อบ้านให้ซื้อบ้านในราคาที่เหมาะสม ในขณะเดียวกันยกระดับมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน และป้องกันความเสี่ยงเชิงระบบเพื่อไม่ให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้
บทความโดย : นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร