สินเชื่อ
สินเชื่อซื้อบ้านใหม่
เพราะชีวิตเริ่มต้นที่บ้าน อยากซื้อบ้านใหม่ SCB พร้อมให้คำปรึกษา
ผลการค้นหา "{{keyword}}" ไม่ปรากฎแต่อย่างใด
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
การใช้และการจัดการคุกกี้
ธนาคารมีการใช้เทคโนโลยี เช่น คุกกี้ (cookies) และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันบนเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น โปรดอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ นโยบายการใช้คุกกี้ของธนาคาร
How to คัดแยกขยะและของเหลือใช้ภายในบ้าน
รักเรา รักษ์โลกต้องช่วยกันคัดแยกขยะให้ถูกวิธี รู้มั้ยว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหาขยะล้นเมือง เฟอร์นิเจอร์ ตู้เตียงเก่าๆ ไม่รู้จะเอาไปทิ้งที่ไหนก็โยนทิ้งแม่น้ำลำคลองกันเสียดื้อๆ อีกทั้งขยะพิษที่เป็นอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการจัดการขยะอย่างไม่เหมาะสม ไม่มีการคัดแยกเพื่อกำจัดจึงเป็นอันตรายต่อผู้ที่ไปสัมผัส รวมถึงสิ่งแวดล้อม ถ้าใครเคยไปเที่ยวในต่างประเทศที่เจริญแล้วจะพบว่าเขามีการแบ่งแยกประเภทขยะออกเป็น 4 ชนิด โดยใช้สีถังแตกต่างกัน มีภาพเครื่องหมายและชื่อขยะแต่ละประเภทแสดงอยู่อย่างชัดเจน ซึ่งปัจจุบันบ้านเราเองก็เริ่มมีถังขยะที่แยกประเภทขยะแบบนี้บ้างแล้ว แต่ด้วยความที่คนไทยเรายังไม่คุ้นชินกับการแยกขยะอย่างถูกต้องก็อาจมีการอาการงงว่าขยะที่ถืออยู่ในมือเป็นขยะประเภทไหนกันแน่
ประเภทของขยะที่แบ่งตามแนวทางสากลมี 4 ประเภท คัดแยกได้ตามสีและสัญลักษณ์ของถังขยะสาธารณะ ดังนี้
1. ถังขยะสีเขียว มีสัญลักษณ์สามเหลี่ยม มีรูปก้างปลาและเศษอาหารตรงกลาง ใช้สำหรับทิ้งขยะอินทรีย์หรือขยะย่อยสลาย เป็นขยะที่ย่อยสลายหรือเน่าเสียได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เช่น เศษอาหาร ผัก ผลไม้ ใบไม้ใบหญ้า และภาชนะบางประเภทที่ย่อยสลายได้เอง โดยสามารถนำขยะประเภทนี้ไปทำเป็นน้ำหมักจุลินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อใช้บำรุงดินหรือบำรุงต้นไม้ได้
2. ถังขยะสีเหลือง มีสัญลักษณ์ของลูกศรหมุนวนกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ใช้สำหรับขยะรีไซเคิล คือขยะที่สามารถนำมาแปลรูปแล้วนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ กระป๋อง กล่อง ลัง อลูมิเนี่ยม ยางรถยนต์ ถ้าเราไม่ทิ้งเป็นขยะโดยตรง ก็สามารถคัดแยกสิ่งเหล่านี้ไปขายเป็นของเก่า เพื่อนำไปประยุกต์ใช้เป็นของใช้ที่มีประโยชน์ หรือไม่ก็ส่งต่อให้โครงการรีไซเคิลต่างๆ ได้
3. ถังขยะสีส้ม มีสัญลักษณ์วงกลมพร้อมรูปลูกศรสีขาวชี้ลง และหัวกะโหลกกับกากบาทด้านใน ใช้สำหรับขยะอันตรายและมีพิษ เป็นขยะที่มีวัตถุอันตรายปนเปื้อนหรือประกอบอยู่ เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ กระป๋องสเปรย์ และภาชนะบรรจุสารเคมีอันตราย สังเกตได้จากสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเตือนที่มักติดอยู่บนฉลากว่า สารมีพิษ สารไวไฟ สารกัดกร่อน อันตราย คำเตือน ข้อควรระวัง ห้ามรับประทานและห้ามเผา
4. ถังขยะสีน้ำเงิน มีสัญลักษณ์รูปคนกำลังทิ้งขยะลงในถัง เป็นขยะที่ย่อยสลายได้ยาก ไม่เหมาะกับการนำไปรีไซเคิลแต่ก็ไม่เป็นอันตราย หมายถึงขยะทั้งหมดที่อยู่นอกเหนือขยะทั้งสามประเภทข้างต้น เช่น โฟม ฟอยล์ ถุงพลาสติกใส่อาหาร กระป๋องสี แผ่นซีดี ซึ่งจำเป็นต้องแยกก่อนทิ้ง เพื่อจะได้นำไปกำจัดอย่างถูกต้อง
ส่วนการแยกขยะภายในบ้าน สามารถแบ่งแยกรายละเอียดปลีกย่อยได้มากกว่าถังขยะสาธารณะเช่น
แต่ไม่ว่าจะมีถังขยะเตรียมไว้สักกี่ใบก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือวินัยในการคัดแยก ที่ต้องทำอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ โดยผู้ใหญ่ต้องสอนและแสดงเป็นตัวอย่างให้เด็กๆ ทำตาม ก็จะทำให้เด็กๆ มีวินัยและกลายเป็นนิสัยในการคัดแยกขยะในระยะยาว การสร้างจิตสำนึกในการใส่ใจและดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญ เริ่มจากการใส่ใจเรียนรู้ว่าขยะมีกี่ประเภท และคัดแยกอย่างถูกต้อง ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับสิ่งดีๆ กับโลกของเราในวันข้างหน้า และบ้านเรือน ไล่ไปจนถึงประเทศของเราเองก็จะน่าอยู่มากขึ้นด้วย รักษ์โลกรักเรา ร่วมใจและจริงจังในการคัดแยกขยะตั้งแต่วันนี้