มือใหม่ลงทุนหุ้นกู้ต้องรู้อะไรบ้าง


“หุ้นกู้” คือ ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ประเภทหนึ่ง ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยไม่น้อยในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากโดยทั่วไปมักมีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้น และถึงแม้จะมีโอกาสให้ผลตอบแทนต่ำกว่าหุ้น แต่ก็สูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล (หุ้นกู้มีความเสี่ยงสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาล) อีกทั้ง ในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ขณะที่ตลาดหุ้นมีความผันผวน ก็ยิ่งเป็นแรงจูงใจให้คนสนใจหุ้นกู้มากขึ้น

ทั้งนี้ การลงทุนทุกประเภท ย่อมมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องเตรียมตัวศึกษารายละเอียดหุ้นกู้ในประเด็นสำคัญที่ต้องประเมิน อย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็น อันดับความน่าเชื่อถือ ประเภทและลักษณะของหุ้นกู้ ระดับความเสี่ยงของหุ้นกู้ ข้อมูลด้านบรรษัทภิบาล งบการเงิน รวมถึง การกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยง เพียงเท่านี้ก็สามารถเริ่มลงทุนในหุ้นกู้ได้ โดยติดต่อได้ที่ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ธนาคารพาณิชย์ หรือ บริษัทหลักทรัพย์ ต่างๆ นั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันนี้ ผู้จัดการการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ มีการเสนอขายหุ้นกู้ทั้งในช่องทางสาขาและช่องทาง Online



หุ้นกู้มีประเภทไหนบ้าง

การคัดเลือกประเภทของหุ้นกู้ที่จะลงทุนก็มีความสำคัญ เนื่องจากหุ้นกู้มีหลายประเภท บริษัทหนึ่งที่ออกหุ้นกู้หลายครั้ง อาจจะออกหุ้นกู้ประเภทที่ต่างกันได้ ซึ่งหุ้นกู้แต่ละประเภทมีความเสี่ยงแตกต่างกันเพราะมีลำดับการได้รับชำระหนี้คืนต่างกัน ดังนี้

  1. หุ้นกู้ที่มีหลักประกัน (Secured Bond) คือ หุ้นกู้ที่ผู้ออกหุ้นกู้ใช้สินทรัพย์เป็นหลักประกัน หรือได้รับการค้ำประกันโดยนิติบุคคลอื่น โดยเมื่อผู้ออกหุ้นกู้ล้มละลาย ผู้ถือหุ้นกู้ที่มีหลักประกันจะได้สิทธิบังคับหลักประกันเพื่อชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้สามัญรายอื่น หรือมีสิทธิเรียกร้องทางแพ่งให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ในกรณีที่มีผู้ค้ำประกัน
  2. หุ้นกู้ที่ไม่มีหลักประกัน (Unsecured Bond) หรือ หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (Senior Bond) ซึ่งมีระดับความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นกู้ประเภทแรกในแง่ที่ผู้ถือหุ้นกู้จะไม่มีสิทธิในสินทรัพย์เหนือเจ้าหนี้สามัญรายอื่น และมีลำดับการได้รับการชำระหนี้รองจากหุ้นกู้ที่มีหลักประกัน แต่ก่อนหุ้นกู้ด้อยสิทธิ
  3. หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Bond หรือ Junior Bond) เมื่อผู้ออกหุ้นกู้เลิกกิจการหรือล้มละลาย ผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิจะได้รับชำระหนี้คืนอันดับหลังจากผู้ถือหุ้นกู้ที่มีหลักประกัน และหุ้นกู้ที่ไม่มีหลักประกัน หรือ หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ รวมถึงเจ้าหนี้สามัญประเภทอื่น แต่ก็ยังได้รับสิทธิชำระคืนเงินก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ ทั้งนี้ ปัจจุบัน ตลาดมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์หุ้นกู้ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุน (Perpetual Bond) ที่จะมีความเสี่ยงสูงกว่าหุ้นกู้ทั่วๆ ไป เพราะไถ่ถอนคืนได้เมื่อเลิกกิจการเท่านั้น ทำให้หุ้นกู้ประเภทนี้มักจะนำเสนอผลตอบแทนที่สูงกว่าหุ้นกู้ทั่วไป และ หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible bond) ที่มีคุณสมบัติแปลงเป็นหุ้นสามัญได้ตามราคาที่กำหนด โดยบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ จะออกหุ้นสามัญจำนวนที่มีมูลค่าเท่ากับตราสารหนี้ที่ถืออยู่ ฉะนั้น ระหว่างที่ลงทุนจึงสามารถเปลี่ยนสถานะจากเจ้าหนี้เป็นเจ้าของได้ เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนสูงขึ้น จากกำไรส่วนต่างราคาซื้อขายหุ้น อย่างไรก็ตาม กรณีราคาหุ้นสามัญต่ำกว่าราคาที่กำหนดไว้ในการแปลงสภาพก็เก็บหุ้นกู้ไว้รับคืนเงินต้นได้

ทั้งนี้ ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชนไทย ส่วนใหญ่จะมีหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ที่ไม่มีหลักประกัน (Senior Unsecured Bond) เป็นหลัก นอกจากนี้ก็มีหุ้นกู้ Perpetual Bond ที่ด้อยสิทธิ และหุ้นกู้ที่มีหลักประกันสำหรับ บริษัทที่ไม่ได้จัดอันดับเครดิต อยู่บ้าง อย่างไรก็ตาม แม้จะมีหลักประกันแล้วก็ควรพิจารณาหลักทรัพย์ที่นำมาเป็นประกันเพิ่มเติมด้วย ดังนี้

  1. กรณีนำที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง กรรมสิทธิ์ห้องชุดมาเป็นประกัน ควรพิจารณาว่า มูลค่าหลักประกันครอบคลุมมูลค่าหุ้นกู้หรือไม่
  2. ให้บริษัทอื่นค้ำประกัน ต้องพิจารณา Rating ของกลุ่มบริษัทที่ค้ำประกันประกอบ
  3. นำหุ้นมาค้ำประกัน ควรพิจารณามูลค่าหุ้น หรือมูลค่าตามราคาตลาดของหุ้นนั้นว่าครอบคลุมมูลค่าหุ้นกู้หรือไม่
  4. ให้บุคคลค้ำประกัน ต้องประเมินความมั่งคั่งของผู้ค้ำประกัน
  5. ใช้ลูกหนี้การค้าค้ำประกัน ต้องพิจารณามูลค่าลูกหนี้การค้า โดยคัดเฉพาะลูกหนี้ที่ค้างชำระรวมไม่เกิน 90 วัน มาพิจารณาว่าครอบคลุมมูลค่าหุ้นกู้หรือไม่

ในส่วนความแตกต่างระหว่างหุ้นกู้ด้อยสิทธิ และหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (Senior Bond) ผู้ถือหุ้นกู้ มีสิทธิเรียกร้องสินทรัพย์จากผู้ออกตราสารสูงกว่าหุ้นกู้ด้อยสิทธิ กล่าวคือ จะมีลำดับได้รับชำระหนี้ก่อน หากบริษัทเกิดความเสียหายขึ้น แล้วต้องนำทรัพย์สินไปขายทอดตลาดนั่นเอง




เครดิตหุ้นกู้สำคัญอย่างไร

จุดเริ่มต้นที่นักลงทุนทั่วไปควรพิจารณาคือ การจัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ ซึ่งดำเนินการโดยสถาบันจัดอันดับความเชื่อถือที่ได้รับความเห็นชอบจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้แก่ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด และ บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งถือเป็นบุคคลที่สาม (third party) ที่มาช่วยวิเคราะห์และจัดอันดับความน่าเชื่อถือไว้ให้ โดยที่บริษัทเหล่านี้จะไปวิเคราะห์องค์ประกอบหลายด้านประกอบกัน เช่น บริษัทมีสภาพคล่องเป็นอย่างไร มีความสามารถในการทำกำไรอย่างไร และสัดส่วนหนี้สินของบริษัทมีมากเพียงใด เป็นต้น

สำหรับอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating) ที่ให้ ก็จะมีไล่ตั้งแต่สูงสุดระดับ AAA ลดหลั่นลงมา ก็จะเป็น AA ที่มี ประจุบวก ไม่มีประจุ และประจุลบ มากำกับเพิ่มเติมถึงระดับคุณภาพไล่เรียงกันไป จากนั้นก็ลดระดับลงมาจนกระทั่งถึง BBB- ซึ่งถือเป็นอันดับท้ายสุดของตารางที่จะจัดประเภทให้อยู่ในกลุ่มตราสารที่ลงทุนได้ หรือ Investment Grade หรือที่เรียกว่า ระดับที่ลงทุนได้ ส่วนระดับที่ต่ำกว่านี้ลงไป จะถือว่าเป็น High Yield หรือ Junk Bond ซึ่งก็คือหุ้นกู้ที่เริ่มมีความเสี่ยงสูงขึ้นมาจนถึงจัดให้อยู่ในกลุ่มต่ำกว่าระดับที่ลงทุนได้ ซึ่งกลุ่มนี้มักจะมาพร้อมผลตอบแทนที่สูงขึ้นเช่นกัน โดยลำดับล่างสุดของตารางการจัดอันดับ ก็คือ D หมายถึง หุ้นกู้ที่ผิดนัดชำระหนี้ (in default)

ทั้งนี้มีหลายคน เวลาลงทุนหุ้นกู้ มักจะพิจารณาเพียงดอกเบี้ยรับที่นำเสนอเพียงอย่างเดียว ซึ่งในความเป็นจริง แล้ว SCB CIO ขอย้ำว่า ดูดอกเบี้ยอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องดูระดับความเสี่ยงของหุ้นกู้ประกอบด้วย ซึ่งก็พิจารณาได้ตาม Credit Rating ที่ถูกระบุไว้ และอีกประเด็นสำคัญที่ต้องควรดูใน Credit Rating คือ โอกาสการผิดนัดชำระหนี้

 สำหรับ หุ้นกู้ SCBX ที่เสนอขายครั้งนี้ มีอันดับเครดิตที่ AA+/Stable Outlook ซึ่งเป็นอันดับเครดิตที่ถือว่ามีความมั่นคงอย่างมาก เมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลไทยที่มี อันดับเครดิต AAA (ห่างกันเพียง 1 ระดับ)



ทำไมหุ้นกู้ SCBX น่าลงทุน

บริษัท SCBX เป็นกลุ่มธุรกิจการเงินที่มี ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นผู้สร้างรายได้และผลกำไรที่สำคัญ นอกจากนี้ ยังขยายธุรกิจไปยังธุรกิจบริการทางการเงินดิจิทัลและสินเชื่อเพื่อรายย่อย (Consumer and Digital Finance Business) รวมถึง ธุรกิจแพลตฟอร์มและเทคโนโลยี (Platform and Technology Business) เพื่อการเติบโตและกระจายรายได้ให้กลุ่มในระยะยาว

ในปีที่แล้ว หุ้นกู้ SCBX ได้รับผลตอบรับอย่างดี จากนักลงทุนทั่วไป ยอดขายทะลุ 2.5 หมื่นล้านบาท ด้วยความน่าเชื่อถือของกลุ่ม SCBX และผลตอบแทนที่น่าดึงดูดใจ ครั้งนี้ SCBX ออกหุ้นกู้เสนอขายให้ลูกค้าบุคคลเป็นครั้งที่ 2 ผ่านช่องทาง SCB Easy Application เช่นเดิม โดยหุ้นกู้เป็นหุ้นกู้ชนิดไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน อายุ 4 ปี ผลตอบแทน 3.10% ต่อปี ซึ่ง Credit Rating ของบริษัทที่ระดับ AA+/Stable Outlook ซึ่งถือว่ามีความมั่นคงอย่างมาก เมื่อเทียบกับพันธบัตรรัฐบาลไทยที่มี อันดับเครดิต AAA (ห่างกันเพียง 1 ระดับ) และหุ้นกู้ SCBX ที่เสนอขายครั้งนี้ เป็นหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ซึ่งมีลำดับการได้รับชำระหนี้ก่อนหุ้นกู้ด้อยสิทธิ นั่นเอง

ทั้งนี้มีหลายคน เวลาลงทุนหุ้นกู้ มักจะพิจารณาเพียงดอกเบี้ยรับที่นำเสนอเพียงอย่างเดียว ซึ่งในความเป็นจริง แล้ว SCB CIO ขอย้ำว่า ดูดอกเบี้ยอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องดูระดับความเสี่ยงของหุ้นกู้ประกอบด้วย ซึ่งก็พิจารณาได้ตาม Credit Rating ที่ถูกระบุไว้ และอีกประเด็นสำคัญที่ต้องควรดูใน Credit Rating คือ โอกาสการผิดนัดชำระหนี้

สำหรับ หุ้นกู้ SCBX ที่เสนอขายครั้งนี้ เปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 14 – 20 มิถุนายน 2567 ผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ผ่านช่องทาง SCB Easy Application ซึ่งมีความสะดวก ประหยัดเวลา ไม่ต้องไปทำธุรกรรมที่สาขาของธนาคาร และสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือชี้ชวนของหุ้นกู้ ได้ที่ลิงค์ https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSDE01.aspx?TransID=614800

  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 02-777-6784
  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน